search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6512077
การเปิดหน้าเว็บ:9355023
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  แนะ FTA ไทย-อียู ต้องโปร่งใส “ไม่รับเงื่อนไขผูกขาด-ขยายเวลาสิทธิบัตร”
  06 เมษายน 2556
 
 


วันที่: 6 เมษายน 2556
ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000041532    
    


       บอร์ดติดตามเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่กระทบต่อสุขภาพ แนะแนวทางเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู ต้องโปร่งใส ให้ข้อมูลภาคประชาชนทุกขั้นตอน เชื่อลดแรงต้านสังคมได้ ย้ำผลศึกษาทีดีอาร์ไอชี้ไม่ควรรับข้อเสนออียูเรื่องการคุ้มครองข้อมูลและขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรยา
       
       ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา กรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการว่า ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการเจรจาการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรป (อียู) โดยผู้แทนจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ให้ข้อมูลว่า การเจรจาการค้าไทย-อียู ได้เริ่มขึ้นแล้ว โดยมีการกำหนดกรอบระยะเวลาการเจรจาไว้ 2 ปี หรือวางแผนว่าการเจรจาจะสิ้นสุดในช่วงปลายปี 2557 เฉพาะในปีนี้ จะมีการเจรจาทั้งสิ้น 3 ครั้งด้วยกัน คือ ครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ที่ประเทศเบลเยียม ครั้งที่สองเดือนกันยายนที่ประเทศไทย และกลับไปที่เบลเยี่ยมอีกครั้งในเดือนธันวาคม
       
       ดร.ศิรินา กล่าวว่า คณะกรรมการได้รับทราบรายละเอียดของกรอบการเจรจากับอียู และต่างเห็นพ้องกันว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบควรต้องมีท่าทีและการเตรียมพร้อมในการทำข้อเสนอเชิงรุก หรือ THAI Text ไม่ควรรอรับแต่ข้อเสนอจากอียู เพื่อให้การเจรจาเกิดผลประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องการให้การเจรจามองเพียงประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ด้านการส่งออกและการลงทุนเพียงเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของผู้บริโภคและสวัสดิการสังคมที่คนไทยจะได้รับจากการเปิดเสรีครั้งนี้ด้วย พร้อมเน้นย้ำให้การเจรจามีความโปร่งใส เปิดเผยรายละเอียดของการเจรจาให้ประชาชนได้รับทราบในทุกขั้นตอน ซึ่งเชื่อว่าหากทำได้อย่างนี้จะลดแรงต้าน ทำให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมและช่วยให้ข้อตกลงมีความสมบูรณ์ในทุกมิติ ได้รับการยอมรับ
       
       ขณะเดียวกันที่ประชุมยังเห็นว่าการเจรจาการค้าต้องการการปรับตัวของภาคเอกชนไทยในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปอียู ต้องได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมและต้องใช้เทคโนโลยีที่สะอาด ปราศจากมลพิษที่เป็นมาตรฐานที่อียูให้ความสำคัญ ซึ่งจะเป็นจุดเปลี่่ยนสำคัญที่ทำให้ผู้ส่งออกไทยเร่งปรับปรุงตัวเอง เพื่อสร้างโอกาสในขยายตลาดส่งออกสินค้าไปยังอียู ซึ่งเป็นตลาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลกให้ได้ โดยจะส่งผลดีต่อประชาชนในประเทศด้วย หากภาคอุตสาหกรรมหันมาใส่ใจด้านสิงแวดล้อมมากขึ้น
       
       ดร.วิศาล บุปผเวส หนึ่งในกรรมการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ ได้รายงานผลการศึกษาเรื่องแนวทางการเจรจาและผลกระทบของการจัดทำความตกลงค้าเสรีไทย-อียู ซึ่งเป็นงานที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ว่าการเจรจาการค้าเสรีจะมีส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว สินค้าหลายรายการจะได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาดส่งออก อาทิ สินค้าอาหาร เกษตรแปรรูป กุ้งแช่แข็ง ฯลฯ โดยหากประเทศไทยไม่ทำข้อตกลงก็อาจจะถูกประเทศคู่แข่งแย่งตลาดส่งออกให้ลดลงทุกปี อย่างไรก็ตาม การเจรจาทั้งหมดจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่มุ่งสู่ทิศทางการสนับสนุนให้เกิดการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน โดยไม่มีการเอาเปรียบผู้บริโภคคนไทย และคนไทยจะต้องได้รับสวัสดิการทางสังคมที่ดีขึ้น ขณะที่ภาครัฐจะต้องมีมาตรการรองรับผลกระทบที่ดีพอ มีเครื่องมือในการเยียวยาชดเชยผู้เสียหายจาการเปิดเสรีเอฟทีเอเพื่อให้แรงต่อต้านการเปิดเสรีมีน้อยลง
       
       ทั้งนี้ ดร.วิศาล ย้ำในที่ประชุมว่า การศึกษาได้ระบุไว้ชัดเจนว่าข้อเรียกร้องที่ไทยไม่ควรยอมรับจากอียู ได้แก่ 1.การให้ความคุ้มครองข้อมูลทดลองยาโดยการให้อำนาจการผูกขาดทางการตลาดแก่เจ้าของข้อมูล (Data Exclusivity) 2.การขยายระยะเวลาคุ้มครองสิทธิบัตร เนื่องจากผลประโยชน์จะตกอยู่กับบริษัทยาข้ามชาติและจะกระทบต่อการเข้าถึงยาของคนไทย และ 3.การคุ้มครองพันธุ์พืชภายใต้อนุสัญญา UPOV 1991 เพราะจะมีผลให้เกษตรกรไทยเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ได้ยากขึ้น