search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6518450
การเปิดหน้าเว็บ:9361690
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  อย.ยกระดับ “ยาไซลาซีน” เป็นยาควบคุมพิเศษ
  18 พฤศจิกายน 2556
 
 


วันที่: 18 พฤศจิกายน 2556
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000143323         
    
       อย.ยกระดับยาสำหรับสัตว์ที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางยาระงับประสาท 4 กลุ่ม เป็น “ยาควบคุมพิเศษ” แล้ว พร้อมแสดงข้อความฉลากยาให้ขายตามใบสั่งผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์เท่านั้น

       วันนี้ (18 พ.ย.)ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยภายหลังจากการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ว่า จากกรณีการเสนอยกระดับยาไซลาซีน (Xylazine) เป็นยาควบคุมพิเศษ หลังจากมีมิจฉาชีพนำยาดังกล่าวไปใช้ในการก่ออาชญากรรมนั้น คณะอนุกรรมการ ได้มีมติเห็นชอบยกสถานะยาสำหรับสัตว์ที่เป็นยาสงบประสาท จาก “ยาอันตราย” เป็น “ยาควบคุมพิเศษ” จำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้ 1.กลุ่มอัลฟ่า-2-อะเดรเนอจิค อะโกนิสต์ (alpha-2-adrenergic agonist) อาทิเช่น ไซลาซีน (Xylazine), เดโทมิดีน (Detomidine), เมเดโทมิดีน (Medetomidine), เด็กซ์เมเดโทมิดีน (Dexmedetomidine), โรมิฟิดีน (Romifidine) 2.กลุ่มเบนโซไดอะซีปีน เดริเวทีฟ (Benzodiazepine derivative) อาทิเช่น โซลาซีแปม (Zolazepam) สูตรตำรับยาเดี่ยวและผสม 3.กลุ่มบิวทีโรฟีโนน เดริเวทีฟ (Butyrophenone derivative) อาทิเช่น อะซาเพอโรน (Azaperone), โดรเพริดอล (Droperidol) 4.กลุ่มฟีโนไทอะซีน เดริเวทีฟ (Phenothiazine derivative) อาทิเช่น อะเซโพรมาซีน (Acepromazine)    โดยกำหนดให้แสดงข้อความในฉลากและเอกสารกำกับยา ดังนี้ “ขายตามใบสั่งผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งเท่านั้น และใช้ภายใต้การกำกับดูแลโดยผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งเท่านั้น
       
       รองเลขาธิการ อย.กล่าวต่อไปว่า หลังจากยกระดับยาใน 4 กลุ่มดังกล่าวแล้ว ผู้รับอนุญาตผลิต นำเข้า และจำหน่าย จะต้องจัดทำบัญชีและเก็บรายงานไว้ที่สถานประกอบการผลิต นำเข้า และจำหน่าย โดยไม่น้อยกว่าวันหมดอายุของรุ่นการผลิตของยานั้น และร้านขายยาจะต้องขายยากลุ่มดังกล่าวให้แก่ผู้ที่มีใบสั่งยาของสัตวแพทย์เท่านั้น ทั้งนี้ หากผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนกฎระเบียบดังกล่าว จะได้รับโทษปรับตั้งแต่ 2,000-10,000 บาท และหากเป็นเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำร้านขายยา หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ประจำร้านขายยา จะได้รับโทษปรับตั้งแต่ 1,000-5,000 บาท