search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6514907
การเปิดหน้าเว็บ:9357889
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ระวัง! สเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ ลักลอบผสมเพียบ ใช้มากหน้ากลม-หัวใจวายตาย
  16 มกราคม 2557
 
 


วันที่: 16 มกราคม 2557
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000005945

          
    
       ระวัง! สเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ พบยังลักลอบใส่อื้อ เตือนอย่าหลงเชื่อคำโฆษณารักษาสารพัดโรค ชี้กินยามีสเตียรอยด์มากๆ ทำหน้ากลมบวมยิ่งกว่าพระจันทร์ กระเพาะอาหารทะลุ ไขมันสะสมผิดที่ กล้ามเนื้ออ่อนแรงหังวใจเต้นผิดจังหวะถึงขั้นตาย แนะซื้อจากร้านขายยาที่มีใบอนุญาต

       นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันยังมีการลักลอบใส่ยาสเตียรอยด์ ลงในยาแผนโบราณ เพื่อต้องการให้ผู้ที่ใช้ยาดังกล่าวรู้สึกว่าอาการป่วยดีขึ้นและหายเร็วทันใจ อีกทั้งยังมีการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงว่า สามารถรักษาได้สารพัดโรค เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง เอดส์ เบาหวาน เนื้องอกทุกชนิด ต่อมลูกหมากโต ฯลฯ ซึ่งมีประชาชนบางส่วนหลงเชื่อคำโฆษณาซื้อยาแผนโบราณดังกล่าวมาใช้จนได้รับอันตรายจากยาสเตียรอยด์ ทั้งนี้ อย.กำหนดให้ยาสเตียรอยด์เป็นยาควบคุมพิเศษ เนื่องจากเป็นยาที่มีความเป็นพิษสูง และมีผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ดังนั้น การใช้ยาสเตียรอยด์จึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ หรือให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น
       
       นพ.ปฐม กล่าวอีกว่า การรับประทานยาแผนโบราณที่มีการปนเปื้อนยาสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานานๆ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อระบบร่างกายได้ เช่น กระเพาะอาหารทะลุ หรือเลือดออกในกระเพาะอาหาร กระดูกพรุน กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดการสะสมไขมันผิดที่ ใบหน้ากลมบวมแบบพระจันทร์ (Moon Face) ไตวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้น ทำให้กลไกการทำงานต่างๆ ของร่างกายเสียไปและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
       
       “อย่าได้หลงเชื่อโฆษณายาแผนโบราณใดๆ ที่อวดอ้างสรรพคุณรักษาได้สารพัดโรค เพราะอาจได้รับอันตรายจากการปนเปื้อน หากต้องการซื้อยาแผนโบราณมาใช้ ขอให้ซื้อจากร้านขายยาที่มีใบอนุญาตขายยาเท่านั้น หรือหากจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนซื้อหรือใช้ยาทุกครั้ง และอ่านฉลากให้ถ้วนถี่ก่อน โดยฉลากต้องระบุ ชื่อยา เลขทะเบียนตำรับยา เช่น ทะเบียนยาเลขที่ G 888/50 ปริมาณของยาที่บรรจุ เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตยา และแสดงคำว่า “ยาแผนโบราณ” ให้เห็นได้ชัด หรือแสดงคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” กรณีเป็นยาสามัญประจำบ้าน เป็นต้น” รองเลขาธิการ อย.กล่าว