search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6512110
การเปิดหน้าเว็บ:9355057
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  กพย.จี้ตั้งระบบสอบบอร์ดสุขภาพ เหตุควบหลายที่อาจรับใต้โต๊ะบางบอร์ด ทั้งเอี่ยวธุรกิจเอกชน
  24 กุมภาพันธ์ 2557
 
 


วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2557
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000021181

     
    
        กพย.วอนมีระบบเฝ้าระวังกรรมการตามบอร์ดต่างๆ โดยเฉพาะกองทุนภาครัฐ เหตุนั่งควบหลายที่อาจมีส่วนได้ส่วนเสียบอร์ดใดบอร์ดหนึ่ง แถมอาจมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจเอกชน ยกตัวอย่างหลักประกันสุขภาพอังกฤษมีข่าวเปิดช่อง บ.ยาครอบงำ ขณะที่กรรมการยาของไทยก็มีผู้แทนจากอุตสาหกรรมยา
    
        ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวถึงกรณีข่าวสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอังกฤษ (NHS) อาจเกี่ยวพันกับบริษัทยาระดับโลก หลังผู้บริหาร NHS ได้ให้บริษัทล็อบบียิสต์ ซึ่งเกี่ยวพันกับบริษัทยาชั้นนำระดับโลกเขียนรายงานนโยบายสุขภาพให้ NHS ว่า กรณีนี้มีการพูดกันมากในแวดวงสาธารณสุขว่าเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรไม่ทราบ แต่น่าจะเป็นตัวอย่างให้กับไทยได้ เพราะไทยก็มีกองทุนสุขภาพภาครัฐ 3 กองทุน ซึ่งแต่ละกองทุนก็ต้องมีคณะกรรมการคอยทำงาน ตรงนี้น่าสนใจว่าทั้ง 3 กองทุนมีความโปร่งใสมากน้อยเพียงไร อย่างกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แม้จะมี พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ให้มีการเลือกภาคประชาชนเข้าร่วมและทุกภาคส่วน แต่ปัญหาคือคนที่เข้ามาอาจมีส่วนได้ส่วนเสีย หรืออาจมีหุ้น มีธุรกิจ หรือมีญาติ คนรู้จักที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจยา หรือภาคเอกชน ตรงนี้ไม่มีใครทราบ
       
        ผศ.ภญ.นิยดา กล่าวว่า ส่วนอีกสองกองทุนอย่าง กองทุนสิทธิสวัสดิการข้าราชการ และกองทุนประกันสังคมนั้น โดยเฉพาะกองทุนประกันสังคม บอร์ดกองทุนดูจะไม่มีใครทราบการทำงานเลย นี่คือจุดอ่อนของไทยที่ต้องปฏิรูปด้วยเพื่อให้มีความโปร่งใส ไม่เช่นนั้นเวลามีนโยบายควบคุมด้านการใช้ยาไม่จำเป็นจะไม่สามารถเดินหน้าได้ เพราะอาจมีบริษัทยาเข้ามาล็อบบีทางอ้อม นอกจากนี้ การควบตำแหน่งกรรมการในหลายบอร์ด ต้องมีการทบทวนพิจารณาว่า จะมีส่วนได้ส่วนเสียกับบอร์ดใดหรือไม่ควรมีหน่วยงานมาดูแลเฝ้าระวัง
       
        "ที่ชัดเจนสุดคือ คณะกรรมการยา ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐที่ดูแลด้านยามีผลโดยตรงต่อคน แต่กลับมีประกาศเพิ่มเติมเรื่องข้อกำหนดของกรรมการที่จะมาดำรงตำแหน่ง ต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิ มีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ อุตสาหกรรมยาข้ามชาติ และอุตสาหกรรมยาในประเทศ ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยว่าจำเป็นหรือ เพราะในประเทศที่พัฒนาแล้วไม่มีใครทำกัน เนื่องจากมีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่สมควร แต่เข้าใจว่าหากต้องการให้รับรู้เรื่องประกาศหรือกฎหมายต่างๆ อย.เพียงแค่เรียกเข้ารับทราบ หรือระดมความคิดเห็นก็พอ ไม่ใช่ให้มารับทราบผ่านรูปแบบกรรมการดูจะไม่สมควร สรุปคือ เรื่องการดูแลสุขภาพของคนไทย ควรโปร่งใส และอย่าให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาเกี่ยวข้อง” ผู้จัดการ กพย.กล่าว