search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6517421
การเปิดหน้าเว็บ:9360597
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ยาเอดส์ยังขาดแคลน เหตุเดิมวัตถุดิบไม่เพียงพอ
  21 ตุลาคม 2557
 
 


ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000120799



        เครือข่ายเอดส์เผยสถานการณ์ขาดแคลนยาต้านไวรัสเอดส์ดีขึ้น แต่บางพื้นที่ยังเป็นปัญหา พบเกิดจากสาเหตุเดิมคือจัดหาวัตถุดิบไม่เพียงพอ เตรียมเร่งติดตามการแก้ปัญหาย้ำต้องเร่งผลิตยาเพื่อสำรองไม่ให้กระทบผู้ป่วย

        นายนิมิตร์ เทียนอุดม​ ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า จากกรณีองค์การเภสัชกรรม (อภ.) จัดหาวัตถุดิบผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ไม่ทัน ทำให้เกิดเกิดปัญหาขาดแคลนสะสม จนโรงพยาบาลต้องลดปริมาณการจ่ายยาลง ขณะที่บางแห่งไม่มียาเลย จำเป็นต้องยืมมาจากแหล่งอื่นนั้น ซึ่งขณะนี้ อภ. ได้แก้ปัญหาแล้ว พบว่า จำนวนจังหวัดที่เกิดปัญหาดังกล่าวลดลง อย่างไรก็ตาม ยังคงพบปัญหาในผู้ป่วยระบบประกันสังคมทั้งในพื้นที่ กทม. และในต่างจังหวัด โดยพบว่าโรงพยาบาลไม่สามารถจ่ายยาให้ผู้ป่วยได้ ซึ่งได้เร่งประสานไปยัง อภ. แล้ว ซึ่งได้คำตอบว่าเกิดจากคำสั่งซื้อยาที่ล่าช้า ส่วนประกันสังคมเองก็ได้ชี้แจงว่าได้สั่งยาไปแล้ว ซึ่งเชื่อว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้าเกิดจากหลายส่วนด้วยกัน โดยจะเร่งติดตามในสัปดาห์นี้ว่า สามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่
       
       “สาเหตุของการขาดแคลนยาต้านไวรัส ยังเกิดจากปัญหาเดิม คือ การจัดหาวัตถุดิบที่ยังไม่เพียงพอ ทำให้จำนวนการผลิตไม่เต็มเป้า ไม่เพียงพอต่อการสต๊อกยาไม่ให้เกิดความขาดแคลน​ ซึ่งขณะนี้การแก้ปัญหาได้ติดตาม ทวงถาม และใช้ระบบการเกลี่ยยา ระหว่างประกันสังคมและบัตรทอง ซึ่งช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ผู้ป่วยมียาไปก่อนได้ แต่ก็เกิดผลกระทบระหว่างสิทธิตามมา การแก้ปัญหาจึงยังต้องเร่งสร้างปริมาณการสำรองยาให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วย” นายนิมิตร์ กล่าว
       
       นายนิมิตร์ กล่าวว่า ยาต้านไวรัสเอดส์ ไม่เหมือนยาอื่นที่สามารถเปลี่ยนสูตรได้ง่ายๆ เพราะการเปลี่ยนยาถือเป็นเรื่องใหญ่​ หมายถึงจะดื้อยาตัวนั้นๆ ไปเลย โดยเครือข่ายได้ช่วยเหลือผู้ป่วยในบางพื้นที่ที่ไม่มียาจริงๆ ด้วยการยืมยา ซึ่งไม่สามารถทำแบบนี้ได้ตลอดไป จึงต้องกลับไปแก้ปัญหาที่ อภ. ให้เกิดการสำรองที่เพียงพอจริงๆ