search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6518187
การเปิดหน้าเว็บ:9361426
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  สปส.คุยไม่อายเหนือกว่าบัตรทอง
  17 กุมภาพันธ์ 2554
 
 


          ชมรม รพ.ประกันสังคมออกรายงานขย่ม "บัตรทอง" หลังมีเสียงวิจารณ์สิทธิประโยชน์ด้อยกว่าระบบ สปสช.เพียบ ระบุการให้บริการ สปส.เหนือกว่า ทั้ง รพ.ในเครือข่าย และระบบส่งต่อคนไข้ รวมทั้งไม่จำกัดค่ารักษา โบ้ยการฟ้องร้องปัญหามาจากระบบบัตรทองทั้งนั้น "หมอวินัย" แจงเรียบๆ มั่นใจบริการบัตรทองมีคุณภาพ เพราะมีทีมหมอทำงานถึง 50 คน ไม่เหมือนระบบอื่นที่มีหมอทำงานเพียงคนเดียว พร้อมทำระบบส่งต่อคนไข้มากขึ้น
 
นพ.กำพล พลัสสินทร์ ประธานชมรมโรงพยาบาลเพื่อการพัฒนาระบบประกันสังคม ได้ทำข้อมูลเปรียบเทียบระบบประกันสังคม (สปส.) กับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) โดยมีหัวข้อเอกสารว่า “ระบบประกันสังคม(สปส.) ด้อยกว่าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจริงหรือ” มีเนื้อหาระบุว่า จากการที่มีแพทย์นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขได้ลงข่าววิเคราะห์ เปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ของผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมที่ต้องจ่ายเบี้ย ทุกเดือนว่าด้อยกว่าคนที่อยู่ในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งดีกว่าถึง12 รายการ และชักชวนให้มีการปฏิรูปเพื่อรวมเป็นระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่าง เดียวโดยใช้เงินจากงบประมาณของรัฐทั้งหมด แล้วให้คนที่จ่ายอยู่ให้หยุดจ่ายและบริหารเงินงบประมาณก้อนนี้โดยหน่วยงาน เดียว ตนจึงอยากมองต่างมุมเพื่อเสนอข้อมูลอีกด้านหนึ่งให้เพื่อประชาชนจะได้เข้าใจ อย่างแท้จริง

 นพ.กำพลนำสนอข้อมูลเปรียบเทียบการบริการของระบบ สปส. กับระบบบัตรทอง อาทิ 1.ระบบประกันสังคมสามารถเลือกหน่วยพยาบาล รพ. ขณะที่บัตรทองส่วนใหญ่เลือกได้แต่ รพ.ของรัฐเท่านั้น 2.รพ.และคลินิกที่มีแพทย์คู่สัญญา สปส.มีแพทย์มาตรฐาน และมีเครือข่าย รพ.ที่มีศักยภาพสูง มีระบบส่งต่อที่ชัดเจน เช่น รพ.แพทย์ทั้งหมด สถานพยาบาลคู่สัญญาต้องมี 100 เตียงขึ้นไป ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 14 สาขา และบุคลากรที่พร้อม ขณะที่ระบบบัตรทองเป็นคลินิกชุมชนจะมีหรือไม่มีแพทย์ก็ได้ โดยใช้ระบบส่งต่อ
 3.
การส่งต่อในระบบ สปส.มีไม่มาก เนื่องจาก รพ.คู่สัญญา มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญครบทุกสาขา รักษาแบบ one stop service ยกเว้นบางรายในโรคที่ซับซ้อนจะส่งต่อไป รพ.ที่มีศักยภาพสูงกว่าที่ยินดีรับรักษาต่อเพราะรับค่ารักษาเป็น free for service ไม่ใช่แบบเหมาจ่าย ส่วนระบบบัตรทองจะมีการส่งต่อมากกว่าเพราะศักยภาพมีน้อย ทุกวันนี้มีปัญหาเรื่อง รพ.ไม่ค่อยยินดีรับการส่งต่อเพราะค่ารักษาคิดแบบปลายปิด จึงมีปัญหาเรื่องขาดทุน 4.ระบบคุณภาพ รพ.คู่สัญญา สปส.เกือบทั้งหมดจะผ่านการรับรองคุณภาพอย่างน้อย HA ขั้น 2 ขณะที่ระบบบัตรทองถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนเป็น รพ.สร้างเสริมสุขภาพแล้วก็ตามยังไม่มีระบบคุณภาพที่ชัดเจน

 5.การร้อง เรียนในระบบประกันสังคมสะดวกกว่าบัตรทอง เพราะมีหลายช่องทางและเป็นระบบที่พัฒนามานานแล้ว ปัจจุบันนี้มีสถิติการร้องเรียนปีละ กว่า 1,000 ครั้ง จากการให้บริการมีการตอบสนองอย่างรวดเร็วผู้ป่วยนอก 20- 30 ล้านครั้ง/ปี ซึ่งถือว่าน้อยมาก ส่วนการร้องเรียนในระบบบัตรทอง ข้อมูลส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการเปิดเผย แต่เชื่อว่ามีจำนวนมากดังมีข่าวฟ้องร้องสถานพยาบาลอยู่เป็นเนืองนิตย์ และมีข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่อง และพบว่าสถิติการร้องเรียนที่แพทยสภาเป็นคนไข้จากระบบบัตรทอง

6.การจ่ายยาระบบ สปส.ไม่จำกัดชนิดยา สามารถให้เหนือกว่าบัญชียาหลักแห่งชาติ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ระบบบัตรทอง ต้องอยู่ในบัญชียาหลักแห่งเท่านั้น หรือไม่ต้องขอเป็นกรณีพิเศษ

 7. เจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาที่ไหนก็ได้ 2 ครั้ง/ปี ปัจจุบันไม่จำกัดจำนวนครั้ง ผู้ป่วยนอก 1,000 บาท/ครั้ง ผู้ป่วยใน 2,700บาท/วัน ถ้านอน ICU 4,500 บาท/วัน ภายในระยะเวลา 72 ชม.ไม่รวมวันหยุด กรณีต้องผ่าตัดเบิกได้ 8,000-16,000 บาท ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ารักษาไม่จำกัดจำนวนครั้ง ผู้ป่วยนอก 700 บาท/ครั้ง ผู้ป่วยใน 4,500 บาท/วัน กรณีต่อผ่าตัดเบิกได้ 8,000-14,000 บาท ถ้าหาเตียงไม่ได้ภายใน 24 ชม.จะรับผิดชอบตามจริง ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และ

8.ระบบประกันสังคม ให้การดูแลผู้ป่วยโรคไต หากกรณีไตวายเฉียบพลันดูแล 60 วัน หลังจากนั้นก็เป็นไตวายเรื้อรัง (chronic) ก็เบิกขอฟอกด้วยเครื่องถาวรได้ ขณะที่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต้องเริ่มด้วยการฟอกโดยวิธีผ่านช่องท้อง ก่อนและภาวะแทรกซ้อนเยอะมาก (ซึ่งไม่สะดวก) ถ้าไม่สำเร็จจึงจะขอฟอกด้วยเครื่องฟอกไต
 
ส่วนสิทธิประโยชน์ที่ระบบ สปส.ไม่คุ้มครอง ขณะที่ระบบบัตรทองให้การดูแลคือ การจ่ายยาเสพติดเมธาโดน การให้การรักษากรณีฆ่าตัวตาย การดูแลพักฟื้นแบบพื้นบ้าน การให้ยาต้านแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีซึ่งไม่ร่วมยาอะทัสนามีเวียร์ การเบิกค่าพักรักษาต่อเนื่องใน รพ.ไม่จำกัดเวลา และความเสียหายที่เกิดจากบริการทางการแพทย์ 
 
ด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นระบบที่มีการวางการบริหารจัดการผู้ป่วย ซึ่งไม่เพียงแต่สามารถดูแลผู้ป่วย 45 ล้านคนทั่วประเทศ แต่ยังเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ มีทั้งที่ผู้ขึ้นทะเบียนในสิทธิใน รพ. โรงเรียนแพทย์ เช่นเดียวกับ สปส. ไม่ได้มีแต่เฉพาะในคลินิกชุมชนเท่านั้น
 
นพ.วินัยกล่าวว่า สำหรับการส่งต่อผู้ป่วยนั้น ยืนยันว่าปัจจุบันการส่งต่อผู้ป่วยไม่เป็นปัญหา หลังจากที่เราได้มีการจัดทำระบบดีอาร์จี ซึ่ง รพ.ที่รับส่งต่อผู้ป่วยต่างยินดีรับผู้ป่วยเข้ารักษา เนื่องจากจะทำให้ รพ.มีรายได้เพราะสามารถเบิกจากงบกลางได้ แต่หากปฏิเสธไม่รักษาก็จะไม่สามารถเบิกค่ารักษาได้ ทั้งนี้จากเดิมเราเคยกระจายงบประมาณเช่นเดียวกับระบบ สปส. โดยโอนงบทั้งก้อนไปยังสถานพยาบาล แต่ก็ประสบปัญหา รพ.ไม่ส่งต่อเนื่องจากเกรงค่ารักษาที่ต้องตามจ่าย โดยเฉพาะโรคร้ายแรงที่แพงมาก ดังนั้นเราจึงได้มีการจัดทำระบบนี้ขึ้น
 "
ที่บอกว่าบัตรทองมีการร้องเรียนมาก และไม่มีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ในแต่ละปีเราจะมีการเปิดเผยข้อมูลการร้องเรียนที่เข้ามายัง สปสช. โดยผ่านระบบ 1330 ซึ่งทันทีที่การร้องเรียนเข้ามา เรามีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานว่า ร้อยละ 95 เราจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ถือเป็นเคพีไอ อย่างไรก็ตามการร้องเรียนในแต่ละปีจะเข้ามาประมาณกว่าพันราย ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรถือเป็นอัตราที่ไม่มาก ต่างจากระบบอื่นๆ"
 
นอกจากนี้ เลขาธิการ สปสช.ยังกล่าวยืนยันว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีการจัดการที่ดีและเหมาะสม เพราะได้มีการปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งระบบเรามีหมอทำงานกว่า 50 คน ทั้งบุคลากรด้านสาธารณสุขในวิชาชีพต่างๆ ทำให้เข้าใจปัญหาระบบได้ดี ต่างจากบางระบบที่มีหมอทำงานเพียงคนเดียว ส่วนที่เหลือเป็นคนภายนอกที่ไม่เข้าใจ จึงทำให้ระบบเกิดปัญหาการจัดการ.

……………………………………………………….