search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6515406
การเปิดหน้าเว็บ:9358422
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  กาชาดเผยไทยสูญเลือดไขมันสูงเดือนละ 4 แสนบาท แนะงดอาหารไขมันก่อนบริจาค 4 ชม.
  17 กุมภาพันธ์ 2554
 
 


ASTV : ผู้จัดการออนไลน์ : วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554

          หน่วยงานสุขภาพทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ชี้ ‘ยาบรรเทาอาการข้อเสื่อม’ ให้ผลการรักษาไม่ชัดเจน ไม่ต่างจากยาหลอก ระบุ งานวิจัยที่พบว่า ยามีประสิทธิผลดีเป็นการศึกษาคุณภาพต่ำ ใช้วิธีวัดผลที่ไม่ได้มาตรฐาน และส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากบริษัทยา ขณะที่การเบิกจ่ายค่ายานี้ในระบบสวัสดิการข้าราชการ ทำให้รัฐต้องสูญเงินปีละกว่า 600 ล้านบาท แพทย์เป็นห่วง ประชาชนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวยา และการรักษาโรค แนะให้ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมออกกำลังกาย ทำกายภาพบำบัดเพื่อ บรรเทาอาการปวด

จากการประกาศกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2553 เรื่อง การให้ระงับการเบิกค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ ในส่วนของ‘ยาบรรเทาอาการข้อเสื่อม’ หรือกลูโคซามีน คอนดรอยติน และไดอะเซอเรน ทุกรูปแบบรวมทั้งไฮยาลูโรนแนนชนิดฉีดเข้าข้อ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา ทำให้ผู้มีสิทธิภายใต้ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการได้รับผลกระทบ
               
ล่าสุด เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2554 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งคณะทำงาน โดยมีอธิบดีกรมการแพทย์เป็นประธาน ดำเนินการระดมความเห็นจากทุกฝ่ายในการศึกษาเพื่อทบทวนประกาศดังกล่าว ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข แสดงความเห็นว่ากลูโคซามีนรวมทั้งยาอื่นๆ ในกลุ่ม SYSADOA (ยาบรรเทาอาการโรคข้อเสื่อมชนิดที่ออกฤทธิ์ช้า) เป็นสารสกัดจากเปลือกของสัตว์ทะเลบางชนิดซึ่งถูกอ้างว่าสามารถช่วยป้องกันและชะลอความเสื่อมของข้อได้ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว มีรายงานการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic review) ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการด้านการแพทย์ชั้นนำของสหราชอาณาจักร (BritishMedical Journal, BMJ) ระบุว่า มีงานวิจัยที่มีความน่าเชื่อถืออยู่เพียง 10 การศึกษาจากทั่วโลก ซึ่งเมื่อนำผลการวิจัยทั้งหมดมาวิเคราะห์รวมกันไม่พบประโยชน์ของการให้กลูโคซามีนในการบรรเทาอาการปวดของข้อ และการชะลอการเสื่อมสภาพเมื่อเทียบกับยาหลอก

                 “แม้ว่าจะมีผลการศึกษาในเชิงสนับสนุนให้มีการใช้ยากลูโคซามีน อยู่บ้าง แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า งานวิจัยเหล่านี้ส่วนใหญ่มีความลำเอียง หรือเป็นการศึกษาที่มีคุณภาพต่ำ เพราะใช้ตัวอย่างกลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อย หรือมีการวัดผลในระยะสั้นที่ไม่ได้มาตรฐานและที่สำคัญ ก็คือ มักได้รับการสนับสนุนโดยบริษัทยา ข้อค้นพบของรายงานการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในครั้งนี้นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า ถึงแม้ว่ากลูโคซามีนและคอนดรอยตินจะมีความปลอดภัย แต่ไม่น่าจะมีประโยชน์ทางการรักษา ดังนั้น เมื่อเทียบประสิทธิผล กับค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไปกับการใช้ยาชนิดนี้ จึงนับว่าไม่คุ้มค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการเบิกค่ายาไปที่กรมบัญชีกลางถึงปีละกว่า 600 ล้านบาท” ดร.นพ.ยศ กล่าว

ข้อมูลจากรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน BMJ ดังกล่าวข้างต้น สอดคล้องกับผลสรุปประเด็นข้อเท็จจริง ะข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับกลูโคซามีน คอนดรอยตินซัลเฟต ไดอะเซอเรน และไฮยาลูโรแนนชนิดฉีดเข้าข้อ โดยคณะทำงานวิชาการทางการแพทย์ภายใต้คณะอนุกรรมการพัฒนามาตรฐานการรักษาพยาบาลและการจ่ายเงิน กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และแนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ.2553 (ร่างฉบับประชาพิจารณ์) ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ระบุว่า “ไม่แน่ใจว่าคอนดรอยติน และไดอะเซอเรน (รวมทั้งกลูโคซามีน) มีความเหมาะสมกับสถานการณ์และสถานภาพของการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย และไม่แน่ใจว่ามีความคุ้มค่าในบริบทของสังคมไทย”
       
         นอกจากนี้ ยังพบว่า ระบบประกันสุขภาพ หรือระบบสวัสดิการภาครัฐในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น อังกฤษ สกอตแลนด์และเวลส์ สวีเดน สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ไม่ครอบคลุมยากลูโคซามีนในชุดสิทธิประโยชน์ กล่าวคือหากผู้ป่วยต้องการใช้ยานี้ ก็จะต้องจ่ายเงินเอง
                “
ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวยาและแนวทางการรักษาโรค เนื่องจากการได้รับข้อมูลด้านเดียว ในขณะที่ยาที่กล่าวมานี้แทบไม่มีประโยชน์ในการรักษา จึงขอแนะให้ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมลดน้ำหนัก (หากมีน้ำหนักตัวมาก) หมั่นออกกำลังกาย ทำกายภาพบำบัด โดยในเบื้องต้นสามารถใช้ยาแก้ปวดพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการ หากอาการหนักมาก ก็อาจจะปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าซึ่งมีความปลอดภัย ได้ผลจริง และสามารถขอเบิกได้ในทุกสิทธิการรักษาพยาบาลทั้งข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน และประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้ให้การ

 

………………………………………..