search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6517905
การเปิดหน้าเว็บ:9361095
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  มหิดลชี้เบตาดีนป้องกันกัมมันตภาพรังสีไม่ได้
  21 มีนาคม 2554 ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มที่นี่
 
 


นักวิชาการ ม.มหิดล ย้ำเบตาดีนไม่สามารถป้องกันกัมมันตภาพรังสีได้ แนะคนไทยยังไม่จำเป็นต้องใช้ ด้านนักวิชาการยันไทยไม่ได้รับอันตรายโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะระเบิด
              รศ.ดร.จุฑามณี สิทธิสีสังข์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวถึงกรณีเกิดกระแสลือว่าใช้ยาเบตาดีนทาป้องกันสารกัมมันตรังสีที่รั่วไหลจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ ว่าเป็นความเข้าใจผิด เพราะถึงแม้ยาดังกล่าวจะมีส่วนผสมของโพรวิโดนไอโอดีน ซึ่งเป็นศัพท์ทางการแพทย์ก็ตามแต่ มีในปริมาณที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับสารโปรแตสเซียมไอโอไดด์ นอกจากนี้ การใช้ยาเบตาดีนยังไม่ใช่วิธีการรักษาตามมาตรฐาน เพราะตัวยาดังกล่าวยังไม่มีข้อมูลยืนยันที่เพียงพอและปริมาณการดูดซึมทางผิวหนังจะเพียงพอต่อความต้องการตามวัตถุประสงค์ของการใช้ เพราะประสิทธิภาพของตัวยาจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ทา เช่น บริเวณหน้าอก หน้าท้อง ต้นแขน เป็นต้น ซึ่งแต่ละแห่งจะมีความแตกต่างของชั้นไขมัน อุณหภูมิของร่างกาย และความชื้นของผิวหนัง อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้สารโปรแตสเซียมไอโอไดด์ หรือยาเบตาดีนแต่อย่างใด
              ด้าน รศ.มานัส มงคลสุข หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ ม.มหิดล กล่าวถึงการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่น พบว่ามีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีสูงถึง 600 ไมโครซีเวิร์ต/ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าระดับปกติที่ยอมรับได้ถึง 3,000 เท่า ซึ่งจะเป็นอันตรายกับผู้ที่อยู่ในอาณาบริเวณ 20-30 กม. สารกัมมันตรังสีดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยอย่างแน่นอน เพราะสารซีเซียม 137 และสารไอโอดีน 131 จะมีครึ่งช่วงชีวิตประมาณ 8 วัน และถึงแม้กระแสลมเปลี่ยนทิศหอบเอาสารกัมมันตรังสีเข้ามายังประเทศไทย ก็อาจจะต้องใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 สัปดาห์ และต้องผ่านทั้งภูเขา ต้นไม้ ทำให้ปริมาณสารดังกล่าวต่ำลงหรือสูงกว่าปกติเล็กน้อย ซึ่งไม่น่ากังวล

 

...........................................................