search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6515671
การเปิดหน้าเว็บ:9358726
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  กรณีศึกษา 3 ปท.คุมกำเนิดยาแพง ฝรั่งเศส-อเมริกา-เกาหลีใต้ กม.เข้ม!!!
  09 พฤษภาคม 2554 ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มที่นี่
 
 


       เมื่อ"ยา"ไม่ได้แพงด้วยตัว มันเองแต่ราคาที่แพงส่วนใหญ่มาจากการส่งเสริมการขาย หากผู้ที่เกี่ยวข้องในเมืองไทย ยังไม่รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไร ลองดูมาตรการในการจัดการปัญหาเหล่านี้ในต่างประเทศ
       
       
จากรายงานของ Economic Review พบว่า CEO บริษัทยาขนาดใหญ่ได้รับค่าตอบแทนยังไม่รวมโบนัสร้อยล้านดอลลาร์ เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ผู้อำนวยการหรือบุคลากรทางการแพทย์บางคนไปต่าง ประเทศทุกเดือน ตรงนี้เป็นภาพความเป็นจริงที่การเพิ่มราคายาเกิดจากการมีค่าใช้จ่ายแม้ว่า ระบบการจัดการค่าใช้จ่ายสุขภาพของไทยจะมี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ที่เข้มแข็ง แต่กระบวนการหรือกลไกต่างๆ ที่มีอยู่ยังไม่สามารถทำให้การซื้อยาอยู่ในราคาที่เหมาะสม ไม่มีการขูดรีดจากผู้ขายและผู้ซื้อ ก่อนที่จะเป็นราคายาที่กำหนดในงบประมาณ
       
       
คำถามที่ตามมาคือ จะทำอย่างไรให้เกิดธรรมาภิบาลเพื่อป้องกันการผันเงินไปสู่การจัดเลี้ยง ทัศนาจร
หรือใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่เป็นประโยชน์กับคนไข้ ต่อเรื่องนี้ นพ.มงคล ณ สงขลา ปาฐกถาในหัวข้อดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ

       
       
ในการประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง "กฎหมายควบคุมการส่งเสริมการขายยาในต่างประเทศและแนวทางการจัดกฎหมายควบคุม ส่งเสริมการขายยาของประเทศไทย" โดยแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ร่วมกับศูนย์กฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ว่า การดูแลระบบการซื้อการจ่าย และการใช้ยาอาจมีกระบวนการที่ติดตามดูแลได้ ซึ่งในส่วนที่เฝ้าระวัง พบว่า ในประเทศเกาหลีใต้ได้มีคณะคอยติดตามพฤติกรรม เจาะลึกในกลุ่มคนบางกลุ่ม หากสร้างกลุ่มคนแบบนี้มีขึ้นมาได้ มีระบบข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์เพื่อนำสู่การเปิดเผย สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นการป้องปรามที่ดี
       
       
ส่วนการใช้ตัวบทกฎหมาย เพื่อให้ผู้บริโภคที่ไม่ต้องจ่ายยาแพงเกินจริงเป็นสิ่งที่จำเป็น หากเราสามารถ
ลดการส่งเสริมการขายยาที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ควรส่งเสริมแล้ว ราคายาก็ควรจะถูกลง เพื่อไม่ให้บริษัทยาได้รับกำไรมากเกินไป รวมถึงการมีองค์กรอิสระเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบแฃะเปิดเผยข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล จะทำให้ข้อมูลเข้าไปตรวจสอบได้มากขึ้น

       
       
สำหรับผลการศึกษากฎหมายควบคุมการส่ง เสริมการขายยาใน 3 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา
 สหภาพยุโรปและเกาหลีใต้ ซึ่งมุ่งศึกษาไปที่กลุ่มแพทย์และเภสัชกรในสถานพยาบาล พบว่า ในประเทศฝรั่งเศส (ข้อมูลโดย รศ.ดร.ดาราพร ถิระวัฒน์ รองศาสตราจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ) การส่งเสริมการขายยาถูกจัดรวมอยู่ในการโฆษณาด้วย การบริโภคยาในประเทศฝรั่งเศส มีระบบสวัสดิการสังคมที่รัฐเข้ามาควบคุมกำกับการใช้ยาผ่านงบประมาณ ประชาชนฝรั่งเศสจะได้รับการเบิกจ่ายเงินคืนจากยาที่เขาบริโภค ต้องเป็นยาที่ถูกสั่งโดยแพทย์ ยาที่ถูกนำเสนอสู่ผู้บริโภคต้องถูกควบคุมโดยรายงานการใช้ยาก่อนที่ยาจะถูก เสนอจากบริษัทยาและสู่แพทย์ต่อไป

       
       
ขณะที่สหรัฐอเมริกา วิธีการส่งเสริมการขายของบริษัทยา เริ่มตั้งแต่การใช้ผลิตภัณฑ์ การสนับสนุน
ทางการเมืองการให้หุ้นในบริษัท ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องซื้อยาในราคาแพงขึ้นซึ่งมาจากการผลักภาระเรื่องต้นทุน การสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ มาสู่ราคายาของบริษัท จึงเป็นที่มาของการออกกฎหมาย Physician Sunshine act เพื่อเปิดเผยข้อมูลเรื่องนี้ให้สาธารณชนรับทราบ

       
       
ในเบื้องต้นจะไม่ห้ามการสนับสนุนของ บริษัทยา แต่ต้องมีหลักการ คือ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนและต้องไม่กระทบต่อ autonomy ของผู้สั่งจ่ายยา โดยได้บรรจุประเด็นนี้ไว้ในกฎหมายแรงงานและเกาหลี (ข้อมูลโดย “ไพศาล ลิ้มสถิต” ศูนย์กฎหมายจริยธรรมการแพทย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) พบว่า ในมุมมองของเกาหลีใต้ให้ความสนใจด้านธรรมาภิบาลอย่างมาก โดยได้ผ่านกฎหมายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ที่ห้ามรับผลประโยชน์กับบริษัทยา ของขวัญ ฯลฯ และจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอาญา
       
       
นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่ดูแลควบคุม ป้องกันการผูกขาดมาบังคัลใช้เรื่องการส่งเสริมการขายยาย
ด้วยการออกกฎหมาย MRFTA ตั้งคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าของเกาหลีใต้ซึ่งปัจจุบันมีการรายงานผลการ ตัดสินโทษของคณะกรรมการชุดดังกล่าว

       
       
เช่น การตัดสินถึงการกระทำที่ไม่เหมาะสมในการสนับสนุนการจัดประชุมโดยบริษัทยา การจ่ายค่าตอบแทนให้แพทย์สูงเกินความจริง การจัดเลี้ยงค่าอาหาร การตกแต่งบัญชีบริษัทยา การกีดกันบริษัทยาในประเทศให้ไม่สามารถเติบโตได้ ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะมีความอิสระ ไม่เป็นตัวแทนของหน่วยงานธุรกิจเอกชน ทำให้ตัดสินได้อย่างตรงไปตรงมา ส่วนประเทศไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย โดยเทียบเคียงกับกรณีศึกษาของประเทศต่างๆ เพื่อสรุปและเสนอเป็นร่างกฎหมาย