search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6515907
การเปิดหน้าเว็บ:9358965
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  อี.โคไลเยอรมนีดื้อยา 8 ชนิด
  10 มิถุนายน 2554 ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มที่นี่
 
 


นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์
ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โครงการ Antibiotics Smart Use

ข่าวอี.โคไล สายพันธุ์ O104:H4 ระบาดใหญ่ที่เยอรมนี และหลายประเทศในยุโรป สร้างความกังวลให้กับประชาชนทั่วโลก ด้วยเหตุที่ยังไม่ทราบต้นตอของการแพร่เชื้อ จึงยังมีผู้ป่วยท้องร่วงจากเชื้อนี้เพิ่มจำนวนขึ้นทุกวัน ที่สำคัญผู้ป่วยประมาณ 1 ใน 4 จะเกิดโรคแทรกซ้อนที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ไตวาย (HUS – hemolytic uremic syndrome) และอาจเสียชีวิตได้

ล่าสุดความกังวลใจยังเกิดขึ้นเมื่อทราบข้อเท็จจริงจากสถาบันโรเบิร์ต ค็อก ในเยอรมนีว่าอี.โคไล ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่นี้ดื้อยาปฏิชีวนะถึง 8 กลุ่ม ได้แก่ 1) เพนนิซิลลิน ซึ่งรวมถึง อะม็อกซิซิลลินผสมกับสารต่อต้านการดื้อยาคลาวูลานิก แอซิด ไพเพอราซิลลิน ผสมกับสารต่อต้านการดื้อยาซัลแบคแทมและทาโซแบคแทม 2-4) เซฟาโลสปอริน ทั้ง 3 เจเนอเรชัน 5) ควิโนโลนส์เช่นนาลิดิสิกแอซิด 6) โคทรัยม็อกซาโซล ซึ่งเป็นยาผสมระหว่างซัลฟากับไตรเมโธพริม 7) เตตร้าซัยคลิน 8) สเตรปโตมัยซิน ซึ่งเป็นยาในกลุ่มอะมิโนกลัยโคซายด์

เหตุที่ อี.โคไล ดังกล่าวดื้อต่อยาหลายกลุ่มในคราวเดียวกัน เป็นผลจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อในมนุษย์และสัตว์ ทุกครั้งที่เราใช้ยาปฏิชีวนะ แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ เช่นที่ ลำไส้ใหญ่จะถูกกดดันให้กลายพันธุ์เพื่อสร้าง
กลไกในการดื้อยา

มนุษย์ทุกคนมี อี.โคไล อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ (โคไล มาจากภาษาละตินที่แปลว่าลำไส้ใหญ่) แต่เป็นคนละสายพันธุ์กับที่แพร่
ระบาดอยู่ ซึ่งปกติอาศัยอยู่ในลำไส้ของวัวโดยไม่ทำให้เกิดโรคในวัว

ยา 8 กลุ่มที่ อี.โคไล O104:H4 ดื้อนั้น หลายชนิดไม่ใช่ยาที่ใช้ในสัตว์ แต่เป็นยาที่ใช้กับมนุษย์ คำถามคือ เชื้อนี้ดื้อต่อยาทั้ง 8
กลุ่มได้อย่างไร

คำตอบที่น่าตกใจก็คือ อี.โคไล สายพันธุ์ปกติที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ (รวมทั้งในคนไทย) ในปัจจุบัน ดื้อต่อยาทั้ง 8 กลุ่มมาระยะหนึ่งแล้ว และเชื้อเหล่านี้ได้ถ่ายทอดวิธีดื้อยาไปสู่ อี.โคไล O104:H4

เมื่อ อี.โคไล ถูกคุกคามด้วยยาปฏิชีวนะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น เพนนิซิลลิน เชื้อจำนวนหนึ่งจะตายไป แต่เชื้อบางส่วนที่แข็งแรงจะเรียนรู้วิธีดื้อยา และแบ่งตัวเพิ่มขึ้นเป็นประชากรแบคทีเรียกลุ่มใหม่ที่ดื้อยากลุ่มนั้นและเมื่อได้รับยากลุ่มที่สอง สาม สี่ ต่อไปในอนาคตก็จะเรียนรู้ และสะสมวิธีดื้อยาไว้ในสารพันธุกรรม

แบคทีเรียยังมีวิธีเรียนลัด โดยไม่ต้องรอการคุกคามจากยาปฏิชีวนะ ด้วยการแบ่งปันสารพันธุกรรมที่กำ หนดวิธีดื้อยา ให้กับ
แบคทีเรียอื่นที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันด้วยวิธีการข้างต้นเมื่ออี.โคไล ในมนุษย์ที่ดื้อยา 8 กลุ่ม มีโอกาสใกล้ชิดกับ อี.โคไล
O104:H4 ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอดีตที่ผ่านมาจึงสามารถส่งผ่านวิธีดื้อยาให้ โดยเชื้อดังกล่าวอาจไม่เคยสัมผัสกับยาเหล่านั้นมาก่อน

ปัญหาเชื้อดื้อยา เป็นมหันตภัยที่กำลังคุกคามชีวิตและสุขภาพของผู้คนทุกคนในสังคม การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อของคนไทยในวันนี้ ทำให้เราไม่มียาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพดีใช้แล้วกับแบคทีเรียหลายชนิดในปัจจุบัน โดยไม่ต้องรอวันหน้า

(บทความเพื่อลงตีพิมพ์ในคอลัมน์ ส่องโรค-ไขสุขภาพ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน จัดทำเมื่อ 9 มิย. 54)

******************************************************************