search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6515432
การเปิดหน้าเว็บ:9358451
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  แพทย์เตือนไทยวิกฤตให้จับตาเชื้อดื้อยา“ซุปเปอร์บั๊ก”
  03 พฤษภาคม 2554
 
 


วันที่: 3 พฤษภาคม 2554
ที่มา: เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ลิงค์: www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20110503/389328/เภสัชกรชี้ปัญหาดื้อยาเข้าขั้นวิกฤติอัตราดื้อยาพุ่ง.html


เภสัชกรชี้ปัญหาดื้อยาเข้าขั้นวิกฤติพบอัตราดื้อยา ปี2553 เพิ่ม 60-62% ขณะที่พบเชื้อดื้อยาในห้องไอซียูในโรงพยาบาลกว่า 60 แห่งทั่วประเทศ

เภสัชกรชี้ปัญหาดื้อยาเข้าขั้นวิกฤติพบอัตราดื้อยา ปี2553 เพิ่ม60-62% ขณะที่พบเชื้อดื้อยาใน ห้องไอซียูในโรงพยาบาลกว่า 60 แห่งทั่วประเทศ เร่งผลักดันปัญหาดื้อยาเป็นวาระแห่งชาติ

จากงานประชุม วิชาการระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 2 เรื่อง การจัดการปัญหาเชื้อดื้อยา ซึ่งจัดโดย แผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าปัญหาดื้อยาในไทยค่อนข้างวิกฤติ

ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)   กล่าวว่า ได้จัดทำรายงานสถานการณ์ระบบยาประจำปี 2553   เพื่อประมวลสถานการณ์เชื้อดื้อยาและปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะ พบว่า ปัญหาเชื้อดื้อยาในประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤต โดยเฉพาะเชื้อดื้อยาในห้องไอซียูในโรงพยาบาลใหญ่และเล็กกว่า 60 แห่งทั่วประเทศซึ่งพบรายงานการดื้อยา100% โดยเชื้อดื้อยาที่เป็นปัญหา เช่น อะซินีโตแบคเตอร์ บอมมานนีไอ ( Acinetobacter baumannii ) ก่อให้เกิดการติดเชื้อของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กระแสเลือด ปอด ทางเดินปัสสาวะ ช่องท้อง เยื่อหุ้มสมอง และแผลผ่าตัด โดยเมื่อติดเชื้อดื้อยานี้แล้วมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง  

"อัตราการดื้อยาปฏิชีวนะในโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางเดียวกับปริมาณ การสั่งใช้ยาปฏิชีวนะ ในภาพรวมของประเทศที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้นจึงทำให้เกิดการดื้อยาที่ สูงขึ้นตาม แต่ไทยยังไม่มีหน่วยงานกลางเป็นผู้กำกับดูแลเรื่องการจัดการปัญหาเชื้อดื้อ ยาซึ่งหน่วยงานกลางต้องทำหน้าที่ประสานงานกับทุกองค์กรที่แก้ไขปัญหาการดื้อ ยาดังนั้น กพย.และภาคีเครือข่ายจะร่วมกันผลักดันเรื่องการจัดการปัญหาเชื้อดื้อยาให้ เป็นวาระแห่งชาติ กระตุ้นให้ทุกฝ่ายในสังคมทั้ง "  ดร.นิยดา กล่าว

ส่วน กลุ่มยาปฏิชีวนะที่มีมูลค่าการสั่งใช้รวมสูง เป็นอันดับต้น ๆ ได้แก่ คาร์บาพีแนม (carbapenems) , เซฟาโลสปอริน (cephalosporins) , เพนนิซิลิน (penicillinand) และ เอนไซม์ อินฮิบิเตอร์   (enzyme inhibitors) และพบรายงานจำนวนมากที่ระบุว่าบุคลากรด้านสุขภาพจำนวนหนึ่งมีพฤติกรรมการ สั่งหรือจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผล

ด้าน นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาแห่งชาติ ( NARST) พบว่า เชื้อแบคทีเรียหลายชนิดมีแนวโน้มดื้อยาเพิ่มขึ้น ได้แก่ เชื้อ อะซินีโตแบคเตอร์ บอมมานนีไอ   ดื้อต่อยาหลายชนิดถึง 50-60%   โดยเฉพาะดื้อต่อยาคาร์บาพีแนม ซึ่งเคยมีประสิทธิผลที่ดี แต่ในเวลาเพียง 10 ปี พบการดื้อต่อยานี้สูงขึ้น เป็น 30-60 เท่า (จาก ปี 2543 พบดื้อเพียง 1-2%   ต่อมาในปี 2553 ดื้อเพิ่มเป็น 60-62%) และยังพบเชื้อเอสเชอริเชีย คอโล   ( Escherichia coli ) ดื้อต่อยากลุ่มแบต้า-แลคแตม ( beta-lactam ) ถึง 79-80% เป็นต้น