search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6515533
การเปิดหน้าเว็บ:9358587
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ครม.นัดลักไก่ตั้งลูกผ่านกรอบเจรจาเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรปเมินทุกข้อท้วงติง
  12 พฤศจิกายน 2555
 
 


วันที่: 12 พฤศจิกายน 2555
ที่มา: สำนักข่าวสันติประชาธรรม


ครม.นัดพิเศษวันนี้ กิตติรัตน์ลักไก่ยัด ร่างกรอบเจรจาฯ เอฟทีเอ ไทย-สหภาพยุโรป ให้เห็นชอบแบบวาระจร ไม่มีการขอความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบวาระ ด้านสภาที่ปรึกษาฯย้ำการเจรจาต้องอยู่ภายใต้กรอบ ม.190
ครม.นัดพิเศษวันนี้ กิตติรัตน์ลักไก่ยัด ร่างกรอบเจรจาฯ เอฟทีเอ ไทย-สหภาพยุโรป ให้เห็นชอบแบบวาระจร ไม่มีการขอความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบวาระ ด้านสภาที่ปรึกษาฯย้ำการเจรจาต้องอยู่ภายใต้กรอบ ม.190

ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวด่วนจากทำเนียบรัฐบาลว่า ในการประชุมครม.นัดพิเศษ ก่อนที่นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเดินทางไปอังกฤษ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ เสนอวาระด่วน คือ ให้อนุมัติร่างกรอบเจรจาเอฟทีเอ ไทย-สหภาพยุโรป เพื่อเร่งนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา

นายจักรชัย โฉมทองดี ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) ตั้งข้อสังเกตว่า เอฟทีเอระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปเป็นการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง มีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน และงบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เหตุใดรัฐบาลจึงทำอย่างลุกรี้ลุกรน ทำไมจึงเสนอเป็นวาระจร โดยที่ไม่มีการขอความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบวาระ

"จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลโดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ยังมิได้ดำเนินการถูกต้อง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญมิใช่เป็นอุปสรรคหรือเป็นเรื่องยากอย่างไรทั้งสิ้น แต่เป็นการรับรองให้การเจรจาการค้าเป็นประโยชน์กับประเทศและสังคมในวงกว้างอย่างแท้จริง โดยไม่ปล่อยให้ผลได้กระจุกอยู่ในวงจำกัด แต่ผลเสียกระจายอย่างที่เคยเป็นมา"

ผู้ประสานงานกลุ่มเอฟทีเอ ว็อทช์ กล่าวอีกว่า ในความเป็นจริง กิจกรรมที่กรมเจรจาฯได้จัดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2553 แม้เป็นการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน แต่ไม่ได้มีการให้ข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น การออกความคิดเห็นของประชาชนจึงไม่สามารถสะท้อนท่าทีของรัฐบาลหรือเนื้อหาในกรอบการเจรจาได้ นอกจากนี้การจัดประชุมกลุ่มย่อย หรือ โฟกัส กรุ๊ป โดยกรมเจรจาฯ เมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา แม้มีการนำร่างท่าทีของทางกรมฯ มาหารือ แต่ก็ไม่สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นการรับฟังความเห็นประชาชน เนื่องจากเป็นการจัดลักษณะวงย่อยเฉพาะกลุ่ม แจ้งล่วงหน้าอย่างกระชั้นชิด ที่สำคัญคือกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ เช่น ในประเด็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ ยังไม่ได้มีการหารือแต่อย่างใด

ดังนั้น หากรัฐบาลพิจารณาร่างกรอบการเจรจาฯ และเสนอให้รัฐสภาพิจารณาโดยไม่นำร่างดังกล่าว มารับฟังความคิดเห็นประชาชน ก็สุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะเข้าข่ายการดำเนินการขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะนำมาซึ่งความเสียหายต่อรัฐบาลเอง และประเทศชาติในที่สุด ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลจำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วนที่สุดคือการนำร่างกรอบการเจราฯ มาจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชน ก่อนเสนอต่อรัฐสภา ซึ่งจะไม่ทำให้เสียเวลาแต่ประการใด" ผู้ประสานงานกลุ่มเอฟทีเอ ว็อทช์กล่าว




ภาพประกอบจากเฟซบุ๊คส่วนตัวของกรรณิการ์ กิจติเวชกุล

ด้านน.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล นักวิจัยจากแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า เท่าที่ทราบมา ร่างกรอบเจรจาฯที่ครม.จะอนุมัติวันนี้ เป็นเพียงกรอบกว้างๆ ซึ่งไม่สามารถป้องกันข้อห่วงใยเรื่องผลกระทบจากการเข้าถึงยาได้เลย

"ในร่างกรอบเจรจาฯ ใช้คำว่า "ให้ระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสอดคล้องกับระดับการคุ้มครองตามความตกลงขององค์การการค้าโลก และ/หรือความตกลงใด ๆ ที่ไทยเป็นภาคี" โดยกรมเจรจาฯให้เหตุผลว่า เป็นไปตามกรอบการเจรจาอาเซียน-สหภาพยุโรปที่เคยผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา แต่ในการขยายความระหว่างการประชุม อธิบดีกรมเจรจาการค้าฯขณะนั้น ยอมรับว่า ที่ระบุเช่นนี้แปลว่า อนุญาตให้เจรจาความตกลงที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์ได้ เพราะในความตกลงทริปส์ขององค์การการค้าโลกเป็นมาตรการขั้นต่ำ จึงนับเป็นความสอดคล้อง ซึ่งมีเพียงตัวแทนสภาหอการค้าฯที่มาจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ และพรีม่า ซึ่งเป็นสมาคมบริษัทยาข้ามชาติที่สนับสนุนอย่างแข็งขัน ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กรมทรัพย์สินทางปัญญา นักวิชาการ และภาคประชาสังคมต่างๆไม่เห็นด้วย

"กรมเจรจาฯในฐานะเลขาฯฝ่ายเตรียมการเจรจา ไม่อ้างอิงความรู้และผลงานวิชาการใดๆ ในการจัดทำท่าที และยังพยายามกีดกัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความรู้โดยตรงเข้าร่วมจัดทำท่าที แม้แต่ขณะที่เอาวาระเข้าครม. ยังไม่ยอมถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะการศึกษาของสถาบันวิชาการหลายแห่งที่ให้ข้อมูลตรงกันว่า ข้อผูกพันดังกล่าวเป็นการผูกขาดตลาดและส่งผลให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อประเทศชาติ จากการศึกษานี้ชี้ชัดว่าค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศจะเพิ่มขึ้นทุกปีจากปกติที่เคยเป็น โดยในปีที่ 5 จะมีผลกระทบมากกว่า 80,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งสุดท้ายแล้ว จะส่งผลให้ประเทศต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น และประชาชนจำนวนมากอาจไม่สามารถเข้าถึงยาจำเป็นได้ เพราะรัฐบาลอาจไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะสนับสนุน และส่งผลถึงระบบสาธารณสุขของประเทศโดยรวมในที่สุด"

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ที่ประชุมใหญ่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เห็นชอบร่างความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง "การจัดทำความตกลงทางการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปที่จะมีผลกระทบต่อการเข้าถึงยา" เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ และประธานคณะทำงานเกี่ยวเนื่องด้านสาธารณสุขและการคุ้มครองผู้บริโภค เผยว่า ทางสภาที่ปรึกษาเข้าใจดีว่า รัฐบาลต้องการที่จะเปิดเจรจาการค้าเสรีหรือเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปให้ได้ต้นปีหน้า  แต่เนื่องจากการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปเป็นการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง มีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน และงบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ทางสภาจึงได้ทำความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล

"รัฐบาลต้องมีการจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) กรอบเจรจาฯ อย่างทั่วถึงก่อนเสนอให้รัฐสภาพิจารณา เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 อย่างเคร่งครัด ดังนั้น ขอให้กระทรวงพาณิชย์นำผลการรับฟังความคิดเห็นที่คณะกรรมการเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อการเจรจาเอฟทีเอ ไทย-สหภาพยุโรป ซึ่งแต่งตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553 เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเพื่อนำไปสู่การร่างกรอบเจรจาฯที่สะท้อนความเห็นที่ผ่านการรับฟังอย่างกว้างขวางมาแล้ว

ให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศกำหนดให้ (ร่าง) กรอบการเจรจาฯ ระบุอย่างชัดเจนให้ระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาต้องไม่เกินไปกว่าความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้าขององค์การการค้าโลก กฎหมายไทย หรือความตกลงใดๆ ที่ไทยเป็นภาคีอยู่ ทั้งนี้เป็นไปตามยุทธศาสตร์แห่งชาติด้านยา พ.ศ. 2555-2559 และความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 2 เรื่อง "การเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา" เพราะข้อเรียกร้องต่างๆ ใกล้เคียงกับของสหภาพยุโรป

ให้รอผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพกรณีศึกษาผลกระทบจากข้อตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรปต่อการเข้าถึงยา ที่อยู่ระหว่างการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการกำหนดแนวทางในการเจรจาที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ และต้องจัดให้มีการศึกษาเปรียบเทียบผลดีผลเสียในภาพรวมทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน ซึ่งสะท้อนสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปที่ได้มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้การคาดการณ์ผลได้กับสหภาพยุโรปซึ่งไม่ได้เป็นไปตามที่เคยศึกษาไว้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการเจรจา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสวัสดิการของเกษตรกร แรงงาน และผู้มีรายได้น้อย"

นายอนันต์ เมืองมูลไชย สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ถึงแม้ว่า การทำเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปจะส่งผลทางบวกต่อจีดีพีของไทยตามรายงานการวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) อีกทั้งกรมเจรจาฯ ให้เหตุผลที่ต้องเร่งเปิดเจรจาเอฟทีเอกับอียูเพื่อรักษาสิทธิพิเศษทางการค้า (Generalized System of Preferences: GSP) ที่ผู้ส่งออกไทยเคยได้รับอยู่และมีโอกาสจะถูกตัดสิทธินี้ในปลายปีหน้าเพราะเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง 3 ปีติดต่อกัน คิดเป็น 2,562 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 79,422 ล้านบาท) อีกทั้งเพื่อนบ้านของไทย ในอาเซียน อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซีย เจรจาใกล้ได้ข้อยุติแล้ว แต่งานวิจัยดังกล่าว ทำก่อนที่อียูจะประสบวิกฤตเศรษฐกิจที่ยังหาทางออกไม่ได้ อาจต้องมีการทบทวน

"หากดูวิกฤตเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปในขณะนี้ ที่อำนาจทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อลดลงอย่างมาก และยังไม่ถึงจุดต่ำสุดของวิกฤตเศรษฐกิจ รายงานของทีดีอาร์ไอในเชิงตัวเลขผลได้อาจไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงไม่ควรใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้างอย่างรอบคอบและแม่นยำ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อพิจารณาจากผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการผูกขาดข้อมูลทางยา (Data Exclusivity) ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้อง    ที่มากเกินกว่าความตกลงทริปส์ที่สหภาพยุโรปต้องการมากที่สุด เพียงข้อเรียกร้องเดียวก็จะทำให้ ค่าใช้จ่ายด้านยาของไทยจะสูงขึ้นถึง 81,356 ล้านบาท/ปี รัฐบาลของท่านนายกฯยิ่งลักษณ์ที่ให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำจึงต้องระมัดระวังในการเจรจาอย่างยิ่ง"

สมาชิกสภาที่ปรึกษายังแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า ทราบมาว่า อีก 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า นายบารัค โอบาม่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯจะมาแวะเยือนประเทศไทย เชื่อว่าจะต้องมาเสนอให้ไทยเข้าร่วมเจรจาความตกลงกรค้าข้ามแปซิฟิค หรือ TPPA ซึ่งรัฐบาลต้องพึงตระหนักอย่างมากเช่นกัน

"ในเชิงเนื้อหาของ TPPA อุตสาหกรรมยาข้ามชาติไปสอดไส้ไม่ให้มีการควบคุมราคายา ไม่ให้ต่อรองราคายา ในเชิงกระบวนที่การเจรจาคืบหน้าไปมาก ประเทศไทยที่ไปร่วมกลุ่มทีหลังจะถูกบังคับให้เสียเปรียบอย่างมาก เช่นที่เม็กซิโก และญี่ปุ่นเผชิญอยู่ แต่ยิ่งไปกว่านั้น ข้อตกลงนี้เป็นเครื่องมือทางการเมืองระหว่างประเทศเพื่อปิดล้อมจีน รัฐบาลจะต้องชั่งน้ำหนักให้ดี".