search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6512317
การเปิดหน้าเว็บ:9355280
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  คลังหมดท่าคุมงบสวัสดิการเปิดเบิกยาเข่าเสื่อมตามปกติ
  20 พฤศจิกายน 2555
 
 


ที่มา: โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


โพสต์ทูเดย์ -กรมบัญชีกลางไฟเขียวข้าราชการเบิกยาข้อเข่าเสื่อมตามเดิมเลิกโครงการ 1 โรคต่อ 1 โรงพยาบาล

ที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดระบบบริหารยาเวชภัณฑ์ เบิกจ่ายค่าตรวจวินิจฉัยและค่าบริการทางการแพทย์ มีมติให้ยกเลิกคำสั่งของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังเรื่องการห้ามเบิกจ่ายยากลูโคซามีนรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยยอมให้ใช้ยาดังกล่าวได้ตามข้อบ่งชี้และมาตรฐานทางการแพทย์พร้อมทั้งให้หาราคากลางของยากลูโคซามีนเพื่อกำหนดอัตราเบิกจ่ายกลางเบื้องต้นให้องค์กรวิชาการ เช่น ราชวิทยาลัยเป็นผู้จัดทำ

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติยกเลิกประกาศคำสั่งการลงทะเบียนคนไข้โรคเรื้อรัง 1 โรคต่อ 1 โรงพยาบาล และระยะแรกจะให้คนไข้สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง เพื่อแก้ปัญหาคนไข้ตระเวนรักษาหลายโรงพยาบาล ส่วนระยะต่อไปจะจัดระบบเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อให้แพทย์ทราบประวัติการรักษาของคนไข้

นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า พบว่าบริษัทยาขายยาให้โรงพยาบาลที่รักษาผู้ใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการแพงกว่ากลุ่มอื่นจึงออก 2 มาตรการแก้ไข ได้แก่ 1.ปรับปรุงกฎระเบียบคืนยา 2.ให้ซื้อผ่านองค์การเภสัชกรรม ซึ่งจะได้ราคากลางตามที่กำหนด

ทั้งนี้ หากยาบางตัวไม่สามารถต่อรองได้อาจจะต้องหาแหล่งยาจากต่างประเทศเข้ามาทดแทนหรือการทำสิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (ซีแอลยา) โดยขั้นตอนหลังจากนี้จะส่งมติที่ประชุมให้ทางกรมบัญชีกลางรับทราบอย่างเป็นทางการ ก่อนจะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบเพื่อแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการต่อไป

ขณะที่เครือข่ายผู้มีเชื้อเอชไวอี/เอดส์ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก องค์การหมอไร้พรมแดน สหพันธ์การเตรียมความพร้อมในการรักษาสากล และองค์กรเพื่อการรักษา ทำหนังสือลงวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมาถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแสดงความกังวลต่อการเปิดเจรจาการค้าเสรีของรัฐบาลไทยกับสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป

หนังสือระบุว่า จากประสบการณ์ที่ผ่านมาการเจรจาเหล่านี้จะบังคับให้ประเทศต่างๆ ต้องรับการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้เข้มงวดไปกว่าความตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การการค้าโลก หรือทริปส์พลัส ซึ่งจะบ่อนทำลายศักยภาพของประเทศไทยในการผลิตยาชื่อสามัญทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ