search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6515314
การเปิดหน้าเว็บ:9358327
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ทีพีพี: ยุทธศาสตร์สกัดการเข้าถึงยาของสหรัฐฯในภาคพื้นแปซิฟิก
  20 พฤศจิกายน 2555
 
 


วันที่: 20 พฤศจิกายน 2555
ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์
การแสดงเจตนารมณ์ที่จะเข้าร่วมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ในแถลงการณ์ร่วมผลการหารือทวิภาคีไทย-สหรัฐฯ วันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย.จะมีผลต่อการเข้าถึงยาของประเทศไทยอย่างไร
       
เมื่อพิจารณาในร่างเนื้อหาการเจรจาที่เสนอโดยสหรัฐ และเผยแพร่อย่างไม่เป็นทางการผ่านเว็บไซด์ในบทที่ว่าด้วยความโปร่งใส (TRANS-PACIFIC PARTNERSHIP: TRANSPARENCY CHAPTER-ANNEX ON TRANSPARENCY AND PROCEDURAL FAIRNESS FOR HEALTHCARE TECHNOLOGIES. JUNE 22, 2011) และ ทรัพย์สินทางปัญญา (TRANS-PACIFIC PARTNERSHIP: INTELLECTUAL PROPERTY RIGHTS CHAPTER. DRAFT - FEBRUARY 10, 2011) จะเห็นว่าเนื้อหาในร่างข้อตกลงดังกล่าว ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเข้าถึงยาของคนไทย ดังตัวอย่าง


รศ.ดร.ภญ.นุศราพร เกษสมบูรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

1. บทว่าด้วยความโปร่งใส 

ย่อหน้า X.3 ระบุให้รัฐบาลในประเทศสมาชิกใช้ “มูลค่าตลาด” หรือราคายาในท้องตลาดเป็นราคาสำหรับการเบิกจ่ายยาที่ติดสิทธิบัตรในระบบสุขภาพของตน ซึ่งหากตกลงที่จะทำตามข้อนี้จะทำให้ราคาที่ใช้อ้างอิงเพื่อเบิกจ่ายในราคาที่สูงมากเพราะเป็นยาที่อยู่ในตลาดผูกขาด จึงกล่าวได้ว่าเนื้อหาในส่วนนี้เป็นการจำกัดอำนาจต่อรองและจำกัดการใช้มาตรการเพื่อควบคุมราคายาในระบบสุขภาพของไทย เช่น การกำหนดราคาอ้างอิงสำหรับเบิกจ่ายในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การต่อรองราคายาและจัดซื้อร่วมกัน เป็นต้น
       

2.บทว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา 

มาตรา 8.2(บี) ให้สิทธิบัตรแก่วิธีการวินิจฉัย บำบัดและวิธีการผ่าตัด ซึ่งขัดต่อ พรบ.สิทธิบัตรของไทย พ.ศ.2535 และบทบัญญัติความตกลงทริปส์ภายใต้องค์การการค้าโลก ที่ไม่ให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรแก่วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์ เพื่อป้องกันการผูกขาดในเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อชีวิต
       
มาตรา 8.7 ไม่ให้ใช้สิทธิคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตรที่เห็นว่าไม่สมควรได้รับทะเบียนสิทธิบัตร ซึ่งขัดต่อ พ.ร.บ.สิทธิบัตรของไทย พ.ศ.2535 ที่ว่าบุคคลใดเห็นว่าตนมีสิทธิรับสิทธิบัตรดีกว่าผู้ขอรับสิทธิบัตร หรือเห็นว่าคำขอรับสิทธิบัตรใดไม่ชอบ สามารถยื่นคำคัดค้านต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ การคัดค้านก่อนการจดทะเบียน ซึ่งมีประโยชน์ทำให้การพิจารณารับคำขอรับสิทธิบัตรมีความรอบคอบ และรัดกุม
       
มาตรา 9.2 ให้มีการผูกขาดข้อมูลยา?ที่?ส่ง?ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา?พิจารณา?เพื่อ?ขอ?อนุญาต?ให้?วาง?ตลาด?ผลิตภัณฑ์ยา ซึ่งจะทำให้บริษัทยามีสิทธิขยายอำนาจผูกขาดตลาดด้วยการผูกขาดข้อมูลยาในกระบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยาไม่ว่ายานั้นจะเป็นยาที่จดสิทธิบัตรไว้ในไทยหรือไม่ก็ตาม จึงเป็นการกีดกันไม่ให้บริษัทยาชื่อสามัญขอขึ้นทะเบียนตำรับยาชื่อสามัญใหม่เพื่อผลิตและจำหน่ายหลังจากที่ยาใหม่ของบริษัทยาข้ามชาติเข้าสู่ตลาดในไทยตามเวลาผูกขาดข้อมูลยา ดังนั้น หากระยะเวลาผูกขาดข้อมูลดังกล่าวยังไม่หมดลง ยาชื่อสามัญก็ไม่สามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้
       
ไม่เห็นมีข้อดีต่อสุขภาพคนไทยเลยสักนิดเดียว จึงน่าสงสัยว่า แล้วทำไมเราต้องเข้าไปเป็นเหยื่อรายต่อไปในทีพีพี!