เปิดบัญชียายอดแย่ที่ควรถอดออกจากประเทศไทย

ดาวน์โหลดรายการยาต้านแบคทีเรียไม่เหมาะสมที่ควรถอนทะเบียน

เตือนประชาชนระวังตำรับยาต้านแบคทีเรียบางรายการที่ไม่เหมาะสม ใช้ไม่ได้ผล เสี่ยงสุขภาพ และเสี่ยงต่อเชื้อดื้อยา เสียชีวิตจากการดื้อยา ส่งผลต่อมูลค่าเศรษฐกิจ  เผย“ยาอม-ยาแก้ท้องเสีย  และยาฝาแฝด ทำให้ชาวบ้านสับสน” มีส่วนผสมของยาต้านแบคทีเรียโดยไม่จำเป็น ชี้เด็กกลุ่มเสี่ยงดื้อยาสูงสุด เหตุผู้ปกครองใช้เพื่อการรักษาผิดประเภท ด้านเครือข่ายนักวิชาการเล็งยื่นหนังสือถึง รมว.สธ.แนะ อย.ถอนบัญชียายอดแย่ 

เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2559 ที่ศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายนักวิชาการจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดแถลงข่าว “เตือนภัยตำรับยาต้านแบคทีเรียที่ควรถอดถอนออกจากประเทศไทย”

Read More

การแถลงข่าว “เตือนภัยตำรับยาต้านแบคทีเรียที่ควรถอดถอนออกจากประเทศไทย”

การแถลงข่าว

“เตือนภัยตำรับยาต้านแบคทีเรียที่ควรถอดถอนออกจากประเทศไทย”

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2559 เวลา 13.00 – 17.00 น.
ณ ห้อง Dipak C. Jain ศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Read More

การเผยแพร่ฐานข้อมูลเกี่ยวกับการโฆษณายา

แผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)
เอกสารวันที่ 10 ตุลาคม 2558
ดาวน์โหลดในรูปแบบไฟล์ PDF

 

ระบบฐานข้อมูลที่เผยแพร่สำหรับการสืบค้น มีประโยชน์ต่อประชาชนในการตรวจสอบการอนุญาต เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ และแสดงถึงความโปร่งใส ตรวจสอบได้ในการพิจารณาอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นประเด็นด้านธรรมาภิบาลอีกด้วย

1. ประเด็นพิจารณาในการเปิดเผยฐานข้อมูล

ประเด็นสนับสนุนในการเปิดเผยข้อมูล

  1. กฎหมายข้อมูลข่าวสารของทางราชการ ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการพ.ศ. 2540 ซึ่งมีหลักการ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” โดยมาตรา 9 สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว (พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการพ.ศ. 2540 มาตรา 9(1)) แต่ไม่กระทบถึงข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้มีการเผยแพร่หรือเปิดเผย ด้วยวิธีการอย่างอื่น(พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการพ.ศ. 2540 มาตรา 10)
  2. กฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้อง ต้องพิจารณาว่ากฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้นกำหนดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลอย่างไรไว้เป็นพิเศษหรือแตกต่างจากพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการพ.ศ. 2540ถ้าไม่มีแล้ว ตามหลักการก็ต้องเปิดเผยข้อมูลตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการพ.ศ. 2540

Read More

สถานการณ์ปัญหาและข้อเสนอภาคประชาชนต่อกา­รจัดการปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยา

การเสวนา “สถานการณ์ปัญหาและข้อเสนอภาคประชาชนต่อกา­รจัดการปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยา” เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมสภาผู้บริโภคแห่­งชาติ ครั้งที่ 1

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 ณ ห้องกินนรี 2 โรงแรม อมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

Read More

การแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือกระจิบท้องเสีย: รณรงค์การใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุผล

การแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือกระจิบท้องเสีย: รณรงค์การใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุผล

วันที่ 15 มีนาคม 2559 เวลา 12.00 – 13.00 น. ณ ห้องกินนรี 2 โรงแรม อมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

Read More

ถาม-ตอบ ประเด็นร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. … (1)

มีข้อมูลว่าคณะรัฐมนตรีจะนำเข้าร่างพ.ร.บ.ยา พ.ศ. ….ฉบับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยไม่ได้แก้ไขตามที่ได้มีการปรึกษาหารือผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสาระของร่างพ.ร.บ.ยาฯ ที่ไม่คุ้มครองผู้บริโภค ตามข้อมูลการวิเคราะห์ ข้างต้น จึงขอนำเรียนข้อมูลแก่มวลเภสัชกร และเครือข่ายประชาชน เพื่อพิจารณา

1. ประเด็นแก้ไขต่อร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. …. ฉบับ สคก. (24 ก.ย. 2557) ถือว่าเป็นการแก้ไขหลักการหรือสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติหรือไม่

หลักการของพ.ร.บ.ยา พ.ศ. …. ฉบับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เขียนสั้น ๆ ว่า “ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยยา” แต่ถ้าดูเหตุผลที่เครือข่ายเภสัชกรหรือเครือข่ายต่าง ๆ ขอแก้ไขในร่างพ.ร.บ.ยา พ.ศ. …. ฉบับ สคก. เช่น การปรับปรุงบทนิยาม การขออนุญาตและการอนุญาต ไปจนถึงบทกำหนดโทษ ล้วนเป็นสาระสำคัญของกฎหมายทั้งสิ้น การเสนอแก้ไขร่างกฎหมายนี้ จึงเป็นการแก้ไขในหลักการหรือสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ หากไม่คัดค้านสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. …. ฉบับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) อาจจะถือว่าทุกคนเห็นด้วย ส่วนสิ่งที่เครือข่ายเภสัชกรหรือวิชาชีพต่าง ๆ ไปขอแก้ไขนั้นเป็นเพียงการปรับปรุงถ้อยคำ ซึ่งอาจมองในแง่ลบว่าเป็นเรื่องที่ไร้สาระ ไม่เป็นสาระสำคัญก็ได้ และอย่าคาดหวังว่าจะสามารถแก้ไขในชั้นการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้อย่างเต็มที่เนื่องจากเป็นประเด็นด้านเทคนิคในข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557

Read More

หนังสือยาต้องห้าม (ปี พ.ศ.2532)

Banned&BannableDrugs

หนังสือยาต้องห้าม (Banned & Bannable Drugs) เล่มนี้ จัดทำขึ้นโดยศูนย์ข้อมูลยาและสุขภาพ (ชื่อในสมัยเมื่อ พ.ศ.2532) ซึ่งรวบรวมข้อมูลด้านวิชาการเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านยา เพื่อรวบรวมข้อเสนแนะต่อการแก้ไขสภาพปัญหาการควบคุมยาตั้งแต่หลักการ วิธีการ ขั้นตอน และการทบทวนทะเบียนตำรับยาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสภาพปัญหายา เพื่อจุดประเด็นให้บุคลากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาหยิบยกขึ้นมาแก้ปัญหาต่อไป

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วย 

Read More

ร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. …. (ฉบับมติคณะรัฐมนตรี 1 ธันวาคม 2558)

แผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)
เอกสาร 16 ธันวาคม พ.ศ.2558

 

คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. …. เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2558 (ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2558) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2558 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว และคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาแล้ว (ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2558) ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทราบ หากมีความเห็นเพิ่มเติมให้แจ้งมายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบภายใน 7 วัน และกรณีมีการเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมที่เป็นนัยสำคัญ ให้ส่งร่างพระราชบัญญัติให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาอีกครั้ง กรณีที่เห็นชอบด้วยหรือมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมที่เป็นนัยสำคัญ ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรวบรวมส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาอีกครั้งหนึ่งก่อนเสนอสภานิติบัญญัติห่างชาติต่อไป

สาระสำคัญ

  1. กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัตินี้บังคับกับหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ องค์การมหาชน องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หน่วยงานอิสระของรัฐ และหน่วยงานอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

มีข้อยกเว้นที่ไม่ใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้  ดังต่อไปนี้

(1) การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง

ข้อสังเกต
ตัดข้อความ “ที่มีลักษณะเป็นการผลิต หรือจำหน่าย หรือบริการเพื่อหารายได้” ตามร่างพระราชบัญญัติ ฉบับวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2558 ออกไป

(2) การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์และการบริการทางทหารโดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล หรือโดยการจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศที่กฎหมายของต่างประเทศนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

ข้อสังเกต เพิ่มข้อความจากร่างพระราชบัญญัติ ฉบับวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2558 โดยเพิ่ม “หรือโดยการจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศที่กฎหมายของต่างประเทศนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น” นอกจากนี้ถ้าเป็นการจัดซื้อยุทโธปกรณ์และบริการทางทหารกับหน่วยงานหรือผู้ประกอบการภายในประเทศต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

Read More

ทำไมการอนุมัติสิทธิบัตรในประเทศไทยใช้เวลานาน : พฤติกรรมบริษัทยาข้ามชาติและช่องว่างทางกฎหมาย

อุษาวดี สุตะภักดิ์
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล

การอนุมัติสิทธิบัตรที่ล่าช้าของกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับสิ่งประดิษฐ์ทางยานั้น เป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานและกลายเป็นประเด็นสำคัญอันหนึ่งที่มีการหยิบยกมาเป็นข้ออ้างในการขอขยายระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรออกไปเกินกว่าระยะเวลา 20 ปีในเวทีความตกลงเปิดเสรีทางการค้า หรือ FTA สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความล่าช้าในการพิจารณาสิทธิบัตรนั้น ในฝั่งของผู้ยื่นขอรับสิทธิบัตรมองว่าเป็นปัญหาประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ จำนวนบุคลากรที่ไม่เพียงพอที่จะดำเนินการกับคำขอรับสิทธิบัตรที่มีจำนวนมหาศาล[1] รวมถึงความเชี่ยวชาญของตัวผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเอง ทำให้มีบางคำขอรับสิทธิบัตรที่มีระยะเวลาการดำเนินการมาแล้วถึง 19 ปี โดยที่ยังไม่บทสรุปใดๆต่อคำขอรับสิทธิบัตรนั้น

Read More