เอกสารสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2558

samacha_cover

การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2558 จะจัดขึ้นในวันที่ 21 – 23 ธันวาคม 2558 ณ อาคารอิมแพคฟอรั่ม อิมแพค เมืองทองธานี

มีระเบียบวาระการประชุมจํานวน 4 ระเบียบวาระ ดังนี้

1) วิกฤติการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาและการจัดการปัญหาแบบบูรณาการ
2) สุขภาวะชาวนา
3) สุขภาวะเมืองใหญ่ : การพัฒนาระบบบริการสุขภาพเขตเมืองอย่างมีส่วนรวม่
4) นโยบายการลดบริโภคเกลือ

Read More

วันที่ 18 พฤศจิกายน ของทุกปี “วันรู้รักษ์ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย”

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

2015-11-18_antibiotic_awareness_day

“Antibiotic Awareness Day”  ปัญหาเชื้อดื้อยาเรื่องใหญ่ที่สังคมไทยยังไม่รับรู้

วันที่ 18 พฤศจิกายน ของทุกปีถูกกำหนดให้เป็นวัน Antibiotic Awareness Day เนื่องจากมีปัญหาการใช้ยาต้านแบคทีเรียจนเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาทั่วโลก ถึงขั้นต้องมีการกำหนดวันขึ้นเพื่อรณรงค์และส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักรู้ว่า “เกิดปัญหาการเสียชีวิตจากติดเชื้อในกระแสโลหิตรุนแรงมากขึ้นในสังคมไทย

87 ปีก่อนหรือปี 2471 เซอร์อเล็กซานเดอร์ เฟลมิ่ง ค้นพบยาเพนนิซิลิน ยาต้านแบคทีเรียชนิดแรกของโลก ซึ่งก่อนหน้านั้นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจัดเป็นโรคที่สุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของมนุษย์และยังไม่มียารักษาเฉพาะ ยาต้านแบคทีเรียเพนนิซิลิน จึงถือเป็นยาวิเศษในยุคนั้นที่สามารถช่วยชีวิตมนุษย์ได้มากมายในเวลานั้น  แต่ยาดังกล่าวก็ใช้ได้ผลดีอยู่เพียง 5 ปี  เพราะหลังจากนั้น ตัวเชื้อแบคทีเรียเองก็พัฒนาตัวเองหรือกลายพันธุ์เพื่อรับมือกับเพนนิซิลินเช่นกัน อย่างไรก็ดี ยังเป็นเรื่องโชคดีว่า ณ เวลานั้นวิทยาศาสตร์กำลังก้าวหน้าขึ้นทุกขณะ จึงมีการวิจัยและผลิตยาต้านแบคทีเรียขึ้นเป็นจำนวนมากที่สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด จนมีความเชื่อว่ามนุษย์เดินมาถึงยุคที่สามารถควบคุมโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียได้หมด Read More

กิจกรรม “สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย ประจำปี พ.ศ. 2558”

Print
คลิกที่รูปเพื่อดูแบบความละเอียดสูง

แผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมงาน “สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย ประจำปี พ.ศ. 2558” ในวันที่ 24 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ณ ห้องประชุมเอนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ติดตามข่าวสารของกิจกรรมได้ที่เฟซบุ๊ค: Antibiotic Awareness Thailand

Update!

Read More

คู่มือการตรวจสอบสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ทางยา: ก้าวแรกของการพัฒนาระบบสิทธิบัตรที่ยังต้องจับตาอย่างใกล้ชิด

อุษาวดี สุตะภักดิ์
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล

ปัญหาการอนุมัติสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ทางยาที่มีลักษณะไม่มีวันสิ้นสุดหรือ evergreening patent เป็นอุปสรรคที่สำคัญอันหนึ่งต่อการเข้าถึงยาของผู้บริโภค เนื่องจากสิทธิบัตรแบบ evergreening ทำให้ผู้ผลิตยาข้ามชาติสามารถยืดอายุการผูกขาดสิทธิครอบครองสิ่งประดิษฐ์ของตนออกไปเกินกว่าระยะ 20 ปีแม้การประดิษฐ์ใหม่นั้นจะเป็นการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการประดิษฐ์จากสิ่งประดิษฐ์เดิมเพียงเล็กน้อย การยืดอายุสิทธิบัตรนำมาซึ่งผลกำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของบริษัทยาข้ามชาติ เพิ่มอำนาจครอบครองตลาดและเพิ่มความจงรักภักดีหรือ loyalty ต่อยาและองค์กรของตน ในขณะที่ผู้ผลิตยาชื่อสามัญภายในประเทศไม่สามารถที่จะผลิตยาดังกล่าวเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคภายในประเทศได้ สถานการณ์สิทธิบัตรยาแบบ evergreening ในประเทศไทยก็ไม่แตกต่างจากประเทศกำลังพัฒนาทั่วไป มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งชี้ว่าในประเทศไทยมีคำขอรับสิทธิบัตรยาที่มีลักษณะเป็น evergreening patent มากถึงกว่า 85% ความรุนแรงดังกล่าวเป็นที่มาของความพยายามของนักวิชาการและนักพัฒนาเอกชนที่จะผลักดันให้มีการพัฒนาแนวทางการตรวจสอบสิ่งประดิษฐ์ทางยาเพื่อป้องกันการอนุมัติสิทธิบัตรให้แก่สิ่งประดิษฐ์ที่ไม่สมควรได้รับสิทธิบัตร1  โดยอ้างอิงแนวทางการตรวจสอบสิทธิบัตรของ ICTSD-WHO-UNDP-UNCTAD2

Read More

นพย. 2

โครงการ “การพัฒนาผู้นำเครือข่ายในการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาระบบยา (นพย.)
รุ่นที่ 2”

*** การอบรมครั้งที่ 1 วันที่ 24 – 25 สิงหาคม 2558 ณ ห้องบัคคารา โรงแรมตวันนา ถ.สุรวงศ์ กทม.


รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารับการอบรม

  1. ภญ.วีรยา  ถาอุปชิต – สสจ.ขอนแก่น จ.ขอนแก่น
  2. ภญ.ทรัพย์พาณิชย์  พลาบัญช์ – สสจ.ร้อยเอ็ด  จ.ร้อยเอ็ด
  3. ภก.พัชรมณฑน์  พัชรยุทธิ – รพ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
  4. ภญ.ขวัญเนตร ศรีเสมอ – รพ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
  5. ภญ.ยุพิน  ศรีสุพรรณ – รพ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ
  6. ภญ.เพ็ญนภา  ประภาวัต – รพ.ดอนสัก  จ.สุราษฎร์ธานี
  7. ภก.ศศิพงค์  ทิพย์รัชดาพร – รพ.พระอาจารย์ฝั้นอาจาโร จ.สกลนคร
  8. ภก.วสันต์  มีคุณ – รพ.วาริชภูมิ  จ.สกลนคร
  9. ภก.ภัทรพงศ์  แสนอุบล – รพ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
  10. ภก.วิษณุ  ยิ่งยอด – รพ.สมเด็จพระยุพราชสว่างดินแดน จ.สกลนคร
  11. ภก.เอกรินทร์  วริทธิกร – สสจ.ภูเก็ต จ.ภูเก็ต
  12. ภญ.พชรณัฐฏ์  ชยณัฐพงศ์ – รพ.พรหมคิรี จ.นครศรีธรรมราช
  13. ภญ.ณหทัย ขันตีสา – รพ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
  14. ภญ.รุจิรา  ปัญญา – รพ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา
  15. ภญ.สุวิดา  อินถาก้อน – รพ.พาน จ.เชียงราย
  16. นายอิทธิกร  พวงท้าว – รพ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีษะเกษ
  17. ภญ.รุ่งนภา  กงวงษ์ – รพ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
  18. ภญ.เสาวนีย์  แสนคาร – สสจ.ยโสธร  จ.ยโสธร
  19. นส.ปราญชลี  ศรีศฤงคาร – รพ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา
  20. ภญ.รัชนก  สิทธิโชติวงศ์ – รพ.สุรินทร์ จ.สุรินทร์
  21. ภญ.อัจฉรา  ไชยธรรม – รพ.เวียงสา จ.น่าน
  22. ภญ.อัญชลินทร์  พรสินธุเศรษฐ – สสจ.อำนาจเจริญ  จ.อำนาจเจริญ
  23. ภก.อิ่นแก้ว  สิงห์แก้ว- รพร.เชียงของ  จังหวัดเชียงราย
  24. ภก.ศิวาวุธ  มงคล – ร้านยาบ้าน ณ ยา  จังหวัดระยอง
  25. ภก.เมฆินทร์  คุณแขวน – รพ.ภูสิงห์   จ.ศรีสะเกษ
  26. ภญ.อรพรรณ  บุษบงก์ – รพ.เขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
  27. ภญ.อารีย์  พิมพ์ดี – รพ.น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

เอกสารเพื่อศึกษาก่อนเข้าร่วมอบรม

1. วารสารยาวิพากษ์ เลือกอ่านฉบับที่สนใจอย่างน้อย 6 ฉบับ

2. รายงานสถานการณ์ระบบยาประจำปี 2552, 2553, 2554 จัดทำโดย กพย. (คลิกที่รูป)

 

3. สิทธิบัตรยา เล่ห์อุบายการผูกขาด  เรียบเรียงโดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล

4. อย่าปล่อยให้สเตียรอยด์ลอยนวล

5. ทุกข์ล้นเหลือเหยื่อโฆษณา

6. ปฏิบัติการมัดไม้ซีกไปงัดไม้ซุง

ภาพยนตร์ที่น่าสนใจและแนะนำให้ผู้เข้าอบรมหามาดู

  1. Dying for Drugs
  2. Dallas Buyers Club  (ประเด็นการเข้าถึงยาในผู้ติดเชื้อ)
  3. Side effect
  4. Off label
  5. Love & other drugs (ประเด็นจริยธรรม ส่งเสริมการขายยา)
  6. สายน้ำติดเชื้อ (ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ)
  7. ปู่สมบูรณ์ (ประเด็นการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน)

โครงการ “การพัฒนาผู้นำเครือข่ายในการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาระบบยา (นพย.)
รุ่นที่ 2”

หลักการและเหตุผล

ในการดำเนินงานเพื่อเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาของแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (ระยะ ที่ 1) และแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา(ระยะที่ 2) หรือแผนงาน กพย. พบว่าการขับเคลื่อนงานที่ผ่านมาสามารถดำเนินการได้สำเร็จในระดับพื้นที่ และในลักษณะเฉพาะประเด็น  แต่ยังไม่สามารถบรรลุการจัดการปัญหาในเชิงระบบ ภาพรวมได้ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการขาดปัจจัยสำเร็จที่สำคัญคือกำลังคนที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อน อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง  หลักการที่สำคัญในการพัฒนาผู้นำในการขับเคลื่อน  ถือว่าเป็นจุดเริ่มการพัฒนา “คน” เพื่อมาเป็น “ผู้นำ” ในการขับเคลื่อนการพัฒนา “งาน” ให้เกิดความเชื่อมต่อการขับเคลื่อนใน “การเฝ้าระวังและจัดการปัญหาในยาเชิงระบบ” ครบวงจร และต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต ผ่านกระบวนการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติงานจริงร่วมกับวิทยากร  ผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติงานจริงในการขับเคลื่อนในการพัฒนาระบบยา จึงได้มีการดำเนินโครงการพัฒนาผู้นำเครือข่ายฯ (นพย.) รุ่นที่ 1 ไปแล้ว ระหว่าง มกราคม 2556 – มกราคม 2557 มีการอบรม ฝึกปฏิบัติและการดำเนินโครงการศึกษาเพื่อเฝ้าระวังและจัดการปัญหาระบบยาในชุมชน  ที่มีข้อเสนอแนะเชื่อมโยงไปสู่การจัดการปัญหาเชิงระบบในระดับนโยบาย  โดยมีสมัครเข้าอบรม 29 คน และสำเร็จการศึกษาในโครงการจำนวน  19 คน โดยทั้งหมดเป็นเภสัชกรที่ทำงานในภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และแผนงานกพย.

ความสำเร็จที่ได้รับในการดำเนินโครงการ นพย. รุ่นที่ 1 นั้น จากการประชุมสรุปถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างทีมพี่เลี้ยงและนพย.รุ่น 1 ที่จังหวัดน่าน เมื่อวันที่  12- 15 กุมภาพันธ์ 2558 พบว่าผู้ที่ผ่านการอบรมในโครงการมีการพัฒนา ศักยภาพในการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ สถานการณ์ปัญหาระบบยาเพิ่มขึ้นจากเดิม เนื่องจากได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และจากวิทยากรที่มีประสบการณ์ตรง ทำให้เกิดการมองปัญหาอย่างเป็นระบบมากขึ้น นำไปสู่การแก้ไขปัญหายาเชิงระบบ โดยที่ นพย.รุ่น 1 ได้มีโอกาสนำความรู้ที่ได้จากหลักสูตรไปปรับปรุงแนวทางการแก้ไขปัญหายาในพื้นที่ของตน มีการเชื่อมร้อยและประสานการทำงานกับเครือข่ายต่างๆทั้งในและนอกพื้นที่ หลายพื้นที่มีโอกาสได้ร่วมประสานงานขับเคลื่อนกับเครือข่ายระดับบน เช่น อย. กสทช เครือข่ายภาคประชาสังคม เกิดเป็นรูปธรรมที่หลากหลายขึ้นในแต่ละพื้นที่  อย่างไรก็ตามแม้จะยังไม่สามารถไปถึงการแก้ไขปัญหาได้ทั้งระบบ แต่ก็นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการเขยื้อนปัญหาจากชุมชน สู่การพยายามที่จะแก้ไขในระดับนโยบายที่สูงขึ้น

จากความสำเร็จข้างต้น แผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา  ได้เล็งเห็นประโยชน์ในการพัฒนาเครือข่ายผู้นำที่จะมาขับเคลื่อนการทำงานในอนาคต   จึงได้กำหนดให้มีการจัดทำโครงการ นพย. รุ่น 2 ขึ้นเพื่อพัฒนาผู้นำเครือข่ายที่มีศักยภาพตลอดจนสามารถประสานงานกับเครือข่ายต่างๆในทุกระดับ ในการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับนะบบยา อันจะเป็นการหนุนเสริมความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวังระบบยาต่อไป

วัตถุประสงค์ 

เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีเกี่ยวกับองค์ความรู้ที่จำเป็นในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและการจัดการปัญหายาเชิงระบบ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และศึกษาดูงานการทำงานจริงของผู้นำการขับเคลื่อนและรณรงค์ด้านยาและสุขภาพเพื่อเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจในการทำงาน
ได้พัฒนาความเข้มแข็งด้านภายใน (Inner Growth) เพื่อให้มีความเข้มแข็งและความพร้อมต่อการเป็นผู้นำในการทำงาน ได้ฝึกปฏิบัติการจริงเพื่อเสริมสร้างทักษะในการขับเคลื่อนการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาระบบยาและเชื่อมโยงการแก้ไขปัญหาพื้นที่สู่การแก้ไขเชิงระบบในรูปแบบการทำงานแบบเครือข่าย

ระยะเวลาดำเนินการ:  มิถุนายน 2558 – สิงหาคม 2559

เป้าหมาย: เพื่อสร้าง “ผู้นำ” นักขับเคลื่อนการพัฒนาระบบยาจากปัญหาพื้นที่สู่การแก้ไขเชิงระบบ จำนวน 30 คน

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

เป็นเภสัชกรที่มีศักยภาพ มีความสนใจและพร้อมจะทุ่มเทต่อการพัฒนาตน(เรียนรู้)
มีความพร้อมที่จะทุ่มเทต่อการพัฒนาตน(เรียนรู้) เพื่อนำความรู้และทักษะที่ได้ไปใช้ในการสร้างเครือข่ายในระดับพื้นที่ เพื่อทำงานเฝ้าระวังและขับเคลื่อนการพัฒนาระบบยาต่อไป
มีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับกพย.หรือเครือข่ายต่างๆของ กพย.(เช่น นพย.รุ่นที่1)

การรับสมัคร: ให้เครือข่าย นำเสนอรายชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือก รวมทั้งการสมัครด้วยตนเองของสมาชิกเครือข่าย โดยกรอกรายละเอียดในใบสมัครเข้าร่วมกิจกรรมให้ครบถ้วน

การคัดเลือก: คณะทำงานพัฒนาศักยภาพเครือข่าย เป็นผู้พิจารณาคัดเลือก ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยจะพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของผู้สมัครในการทำงานกับเครือข่ายต่างๆในพื้นที่ด้วย


 

เอกสารชี้แจง เหตุใดจึงจำเป็นต้องกำหนดให้ยื่นโครงสร้างราคายาและข้อมูลสถานะสิทธิบัตร ในการยื่นขอขึ้นทะเบียนตำรับยา


1. มาตราในร่าง พรบ.ยา ฉบับกระทรวงสาธารณสุข (27 ต.ค. 2557) และฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกา (เรื่องเสร็จที่ 1017/2557) ที่กระทรวงพาณิชย์ และ บรรษัทยาข้ามชาติต้องการตัดทิ้ง

มาตรา 48 การขอขึ้นทะเบียนตำรับยาตามมาตรา 46 ต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้

(10) ข้อมูลสิทธิบัตร ในกรณีเป็นยาที่ได้รับสิทธิบัตรตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร หรือข้อมูลสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ในกรณีเป็นยาแผนไทยที่ได้จดทะเบียนสิทธิ ในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยประเภทตำรับยาแผนไทยส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วย การคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

(11) ข้อมูลโครงสร้างราคายา ในกรณีเป็นยาที่ได้รับสิทธิบัตรตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการเฉพาะเรื่องประกาศกำหนด

มาตรา 49 ห้ามผู้อนุญาตรับขึ้นทะเบียนตำรับยาเมื่อเห็นว่า

(5) ยาที่ขอขึ้นทะเบียนตำรับยามีสิทธิบัตรตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรที่มี โครงสร้างราคายาไม่เหมาะสมหรือไม่คุ้มค่า

Read More

การประชุมวิชาการ เรื่อง บทบาทหน้าที่ของเภสัชกรต่อชุมชน วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การประชุมวิชาการ เรื่อง บทบาทหน้าที่ของเภสัชกรต่อชุมชน
วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ณ ห้องประชุมชั้น 10 อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

           วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นวันครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งการศึกษาและวิชาชีพเภสัชกรรม ของประเทศไทย ซึ่งในการนี้มีการเตรียมการจัดการประชุมสมัชชาเภสัชกรรมไทย 100 ปี (พ.ศ. 2556) โดยสภาเภสัชกรรมมอบให้ ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) เป็นองค์กรรับผิดชอบประสานการจัดประชุม ต่อมามีการประสานกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม(มภส) ในการร่วมกันเป็นเจ้าภาพหลักจัดงานประชุมสมัชชาเภสัชกรรมไทย. 100 ปี เพื่อติดตามผลจากการประชุมสมัชชาและจัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนาบทบาทหน้าที่ของวิชาชีพเภสัชกรรมตามพันธกิจของเภสัชกรเพื่อสังคมในศตวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2557 – 2656)

          กิจกรรมในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนความคิดเห็น การรับรู้ของประชาชนต่อวิชาชีพเภสัชกร และต่อระบบยา ประมวลและวิเคราะห์ประสบการณ์ และบทบาทของเภสัชกรที่มีต่อชุมชน ทั้งเชิงระบบและเชิงปฏิบัติการ ตลอดจนจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับอนาคตข้างหน้า ศตวรรษที่สองของวิชาชีพ

          องค์กรร่วมจัดในครั้งนี้ประกอบด้วย มูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม (มภส.), หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม(วจภส) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา, แผนงานเครือข่ายเภสัชศาสตร์ร่วมสร้างสุขภาพชุมชน (คภ.สสส.), สมาคมเภสัชกรรมชุมชน ชมรมเภสัชชนบท และกลุ่มศึกษาปัญหายา

Read More

สรุปการประชุม ASEAN Antibiotic Awareness Day: A Way Forward in Combating ABR

Antibiotic Awareness Dayสรุปการประชุม ASEAN Antibiotic Awareness Day: A Way Forward in Combating ABR
วันที่ 18-19 พ.ย. 2557 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ

             แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) ร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้องจึงได้มีการจัดประชุมวิชาการอาเซียน “เดินหน้า ต่อต้านเชื้อดื้อยา” เนื่องในวันรู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาปฏิชีวนะ ระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2557 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากประเทศภายในกลุ่มอาเซียนว่ามีการจัดการปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะอย่างไรบ้าง

Read More

สรุปการประชุม สถานการณ์ปัญหายาไม่เหมาะสมและการทบทวนทะเบียนตำรับยา วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ.2557

สรุปการประชุม สถานการณ์ปัญหายาไม่เหมาะสมและการทบทวนทะเบียนตำรับยา
วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ.2557 เวลา 8.30 – 16.00 น.
ณ ห้องแมนดารินซี โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กรุงเทพฯ

           แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา ร่วมกับชมรมเภสัชชนบท และมูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา/กลุ่มศึกษาปัญหายา จัดประชุมเรื่อง “สถานการณ์ปัญหายาไม่เหมาะสมและการทบทวนทะเบียนตำรับยา” โดยมีผู้ร่วมประชุมเป็นเจ้าหน้าที่จากจากหน่วยงานรัฐ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์, เภสัชกรโรงพยาบาล เภสัชกรร้านยา, เครือข่ายสถาบันการศึกษา, ผู้แทนศูนย์กฎหมายและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เครือข่ายภาคประชาชน, เครือข่าย อสม.ที่ร่วมงานกับ กพย. และสื่อมวลชน จำนวน 90 คน

กิจกรรมภายในงานช่วงเช้า ได้แก่ “การพบปะสื่อมวลชน” เพื่อให้ข้อมูลต่อประชาชนผ่านสื่อมวลชน ถึง ปัญหาของตำรับยาที่ไม่เหมาะสมที่พบในประเทศ และข้อเสนอที่มีต่อ อย.ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบที่จะต้องเร่งทำการทบทวนทะเบียนตำรับยาเพื่อความปลอดภัยของประชาชนไทย และการอภิปรายเรื่อง “สถานการณ์และข้อเสนอแนะการทบทวนทะเบียนตำรับยา” ซึ่งมีวิทยากรรับเชิญในการให้ข้อมูลเพื่อเป็นข้อเสนอแนะสำหรับการเดินหน้าการทบทวนทะเบียนตำรับยาให้สำเร็จได้อย่างไร” อาทิ กรณีบทเรียนการจัดการทบทวนทะเบียนตำรับยาจากต่างประเทศ การศึกษาข้อมูลทางวิชาการเพื่อรองรับการทบทวนทะเบียนตำรับยา ความก้าวหน้าของการทบทวนทะเบียนตำรับยาของประเทศไทย และการพัฒนาระบบการทบทวนทะเบียนตำรับยาในทัศนะของคณะอนุกรรมการทบทวนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์  โดยตลอดงานจะมีการแสดงนิทรรศการและคลิปวีดีโอทัวร์โชว์ของ “ยาไม่เหมาะสม” ในประเทศไทย: สูตรและรูปแบบยาที่ไม่ควรมีในประเทศไทย ในมุมมองจากพื้นที่

Read More

สรุปการประชุมการเยี่ยมดูงานเครือข่ายแผนงาน กพย. พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 1-2 สิงหาคม 2557

แผนงาน กพย. จัดกิจกรรมการเยี่ยมดูงานเครือข่ายแผนงาน กพย. พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดอุบลราชธานีระหว่างวันทึ่ 1-2 สิงหาคม 2557 เพื่อเยี่ยมชม ศึกษา และรับทราบกิจกรรมการดำเนินงานของเครือข่าย กพย.ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาในพื้นที่ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้ข้อคิดเห็นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมของพื้นที่ในอนาคต กิจกรรมในการลงพื้นที่ครั้งนี้ ประกอบด้วย

 

  1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขโครงการ “เสริมสร้างศักยภาพของชุมชนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพโดยชุมชน เพื่อชุมชน”เครือข่ายพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, ยโสธร, อำนาจเจริญ และมุกดาหารวันที่ 1 สิงหาคม 2557 เวลา 10.15—13.00 น. ณ ห้องแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษและเยี่ยมชมพื้นที่ชุมชนใกล้เคียงในเขตรับผิดชอบในโรงพยาบาลโนนคูณ เวลา 13.00 – 14.15 น.

การแสดงผลงานของ รพ.สต. ซึ่งจะเห็นภาพการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคที่หลากหลาย เช่น ด้านอาหาร ด้านยา โดยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านยา มีดังนี้

  1. โครงการ การควบคุมการกระจายยาที่ไม่เหมาะสมในชุมชนและสำรวจผลิตภัณฑ์ยาที่เสี่ยงต่อการใช้ผิด ในพื้นที่เครือข่ายอำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ
  2. การบริการจัดส่งยาแบบไร้ร้อยต่อ
  3. การเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

SSK01

Read More