สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็นโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ

มติ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 เรื่อง การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต (วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555)

รายงาน การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 (19 ธันวาคม 2555) ดูรายงานเรื่องอื่นได้ที่นี่

(ร่าง) กรอบยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่กระทำผิดกฎหมายโฆษณาโอ้อวดเกินจริง พ.ศ.2557-2560 (เอกสาร ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2556)

กรณีศึกษาและข่าวโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ผลิตภัณฑ์ยา

กรณีศึกษา แพทย์กับบริษัทยาที่ส่งเสริมการขายแบบ Off-label promotion
กรณีศึกษา ยากาโน่ ป๊อก
กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์โควเมม 

ผลิตภัณฑ์อาหาร

กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์บริษัท นูทริฟาย จำกัด (ผลิตภัณฑ์บล็อกแป้ง)
กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์เอเจล (AGEL)

กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์โอเมกา-3 (เช่น น้ำมันปลา) ในวารสาร JAMA

กรณีศึกษา เครื่องดื่มอินทรา
กรณีศึกษา เครื่องดื่มเปปทีน

ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์

 

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

กรณีศึกษา ฮีรูสการ์โพสต์ แอคเน่
กรณีศึกษา สบู่ลักซ์

กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ลังโคม

กรณีศึกษา เครื่องสำอางเบรสเซ้นส์ พิงค์

ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย

กรณีศึกษา น้ำยาล้างห้องน้ำวิกซอลเรด

 

 

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ

 

ข่าว

(ข่าว)-ทาโลชั่นจุดซ่อนเร้นหมอชี้ตั้งครรภ์ยากสื่อนอกอัดหญิงไทยเชื่อผิวขาวชีวิตดีขึ้น (คม ชัด ลึก 25 กันยายน 2555)
(ข่าว)-อย.ปฏิบัติการเชือดสินค้ายี่ห้อดังลักไก่โฆษณา-หมกเม็ดบัญชียา (สยามธุรกิจ 26 กันยายน 2555)
(ข่าว)-หมอเตือนถึงตายฉีดฟิลเลอร์ผิดวิธีเสริมจมูกเสี่ยงตาบอดเหยื่อมือฉีดสารโผล่อีก (คม ชัด ลึก 26 กันยายน 2555)
(ข่าว)-เตือนวิตามินลดน่องไม่ผ่าน อย.
(ไทยรัฐ 28 กันยายน 2555)

เอกสารเกี่ยวกับ กสทช.ในการจัดการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ

วัตถุประสงค์ของประเภทกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ซึ่งต้องขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ตามกฎหมายว่าด้วยการจัสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (เอกสาร 15 กรกฎาคม พ.ศ.2556)

หลักการกำกับดูแลผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์เกี่ยวกับการออกอากาศรายการหรือการโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้โฆษณา. จัดทำโดย กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. (เอกสาร 15 กรกฎาคม พ.ศ.2556)

ขั้นตอนการดำเนินงานเมื่อประชาชนยื่นคำขอหรือคำร้องเรียนต่อ กสท. (เอกสาร 15 กรกฎาคม พ.ศ.2556)

**********

ประกาศ กสทช. เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2555 

 

กรณีศึกษา ยากาโน่ ป๊อก

โฆษณาดังต่อไปนี้เข้าข่ายโฆษณาขายยาอันตราย ใครที่อยู่ร้านขายยาแล้วมีคนมาถามหายายาปฏิชีวนะยี่ห้อนี้ (เตตร้าไซคลิน ไฮโดคลอไรด์ 500 มิลลิกรัม) สำหรับแก้ปวดท้องน้อย ปวดมดลูก ขอให้ทราบไว้เลยว่าเป็นผลมาจากการโฆษณาทางวิทยุ ซึ่งต้องมีการให้ความรู้อีกมาก นอกจากนี้ยังมีโฆษณาผลิตภัณฑ์ยากินแก้ปวด (ไพร็อกซิแคม: piroxicam) อีกด้วย โฆษณามีทั้งภาษาไทยและภาษาพม่า (นอกจากนี้ยังมีการลดแลกแจกแถมชิงรางวัลเป็นระยะตามรายการวิทยุ)

การเข้าไปฟัง (ลอกให้หมดแล้วไปแปะในช่องที่ใส่ชื่อเว็บไซต์)

http://radio3.thaidhost.com:81/flora/3. สปอตวิทยุ บจก.เวชภัณฑ์ยากาโน่ ป๊อก ซอฟร์ตี้ (โหลดที่นี่)/

http://radio3.thaidhost.com:81/flora/

การโฆษณาขายยาแสดงสรรพคุณยาอันตรายโดยตรงต่อประชาชน (ไม่ได้กระทำโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์) เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 มาตรา 88(6) ต้องระวางโทษตามมาตรา 124 คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท

หากมีการโฆษณาขายยาโดยการแจกของแถมหรือออกสลากรางวัล เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 มาตรา 90 ต้องระวางโทษตามมาตรา 124 เช่นกัน

ปล. เอกสารนี้จัดเป็นข้อมูลทางวิชาการ ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแต่อย่างใด

กรณีศึกษา เครื่องสำอางเบรสเซ้นส์ พิงค์

โฆษณาเครื่องสำอาง ห้ามแสดงว่าทำให้หัวนมเป็นนมสีชมพู

ที่มา: http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ผลการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคและพระราชบัญญัติเครื่องสำอางฉบับที่_122_ประจำปี_2555.pdf (กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, 11 กันยายน 2555)

กรณีศึกษา เครื่องดื่มเปปทีน

โฆษณาเครื่องดื่มเปปทีน ซึ่งโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 41 ต้องระวางโทษตามมาตรา 71 คือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท แต่ในกรณีนี้ปรับ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบามถ้วน) ซึ่งเกินอัตราที่กำหนดโดยไม่แจ้งเหตุผลให้ชัดเจน ทำให้สามารถพิจารณาได้ดังนี

1. มีการโฆษณาหลายครั้งในหนึ่งเดือน ตรวจพบว่าทำผิดครั้งหนึ่งก็ปรับทบจำนวนเงินมาเรื่อย ๆ

2. ผู้โฆษณาอาจมีการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 ต้องระวางโทษตามมาตรา 70 คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นว่าสามารถปรับได้ถึง 10,000 ได้ แต่ในเรื่องการบังคับคดีเหตุใดจึงไม่กล่าวถึงว่ามีการฝ่าฝืนในเรื่องนี้

นอกจากนี้ ผู้บริโภคไม่สามารถทราบได้เลยว่าโฆษณาในโทรทัศน์ดาวเทียมเป็นโฆษณาแบบเดียวกับโฆษณาทางฟรีทีวีหรือไม่ เนื่องจากไม่มีแหล่งที่สามารถตรวจสอบได้ และจะทราบได้อย่างไรว่าเลขที่โฆษณาที่แสดงนั้นเป็นเลขที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง ไม่มีข้อความอื่นสอดแทรกเพิ่มเข้ามา

ที่มาของภาพ: http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ผลการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหารฉบับที่_111__ปีงบประมาณ_2555.pdf (กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, 5 กันยายน 2555)

กรณีศึกษา เครื่องดื่มอินทรา

การขายเครื่องดื่มอินทราซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาหาร หากจะโฆษณาต้องได้รับอนุญาตก่อนการโฆษณา และห้ามโฆษณาแสดงสรรพคุณว่าสามารถป้องกัน บำบัด บรรเทารักษาโรคได้


จากกรณีดังกล่าวนี้ โฆษณาดังกล่าวได้โฆษณาโดยไม่รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 41 ต้องระวางโทษตามมาตรา 71 คือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท (ในกรณีนี้ปรับ 1,000 บาท)

ส่วนข้อความที่แสดงว่าสามารถป้องกัน บำบัด บรรเทารักษาโรคได้ เนื่องจากขึ้นทะเบียนเป็นอาหารไม่สามารถแสดงข้อความดังกล่าวได้ และข้อความที่ใช้อ้างว่าผลิตภัณฑ์นี้สามารถลดความดัน ลดภูมิแพ้ โรคเบาหวาน ต่อต้านมะเร็งและอนุมูลอิสระ ขับสารพิษ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด สร้างภูมิคุ้มกันระบบการย่อยอาหาร เป็นต้นถือว่าเป็นการโฆษณาแสดงสรรพคุณอาหารอันเป็นเท็จ หลอกลวงให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 ต้องระวางโทษตามมาตรา 70 คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แต่จากกรณีที่เกิดขึ้นนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาไม่ได้ลงโทษในส่วนนี้แต่อย่างใด ซึ่งเป็นการลงโทษตามกฎหมายไม่ครบถ้วน ไม่ได้ใช้มาตรการทางกฎหมายซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่า

ที่มาของภาพ: http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ผลการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหารฉบับที่_111__ปีงบประมาณ_2555.pdf

กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ลังโคม

สำนักงานอาหารและยา สหรัฐอเมริกา (USFDA) ได้ประกาศเตือนเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2555 ว่า ผลิตภัณฑ์ลังโคม ของลอรีอัล โฆษณาเกินจริง โดยโฆษณาว่าช่วยเสริมโครงสร้างการทำงานของร่างกาย เช่น การยกกระชับ การมีผลต่อการทำงานของยีน กระตุ้นการทำงานของเซลล์ต้นกำเนิด อันมีลักษณะเป็นการโฆษณาในลักษณะที่บอกว่าเป็นยา ทั้งที่ผลิตภัณฑ์ของตนเป็นเพียงเครื่องสำอางเท่านั้น ซึ่งเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามกฎหมาย

ที่มา
1. ไทยรัฐ 13 กันยายน 2555 หน้า 2
2. Inspections, Compliance, Enforcement, and Criminal Investigations (Lancome 9/7/12) http://www.fda.gov/ICECI/EnforcementActions/WarningLetters/2012/ucm318809.htm

กฎหมายสหรัฐไม่ได้กำหนดให้ต้องมีการรับรองเครื่องสำอางก่อนออกสู่ตลาด (หากเทียบกับเมืองไทย คือไม่ต้องจดแจ้ง) ดังนั้นผลิตภัณฑ์จึงขึ้นกับจุดมุ่งหมายของการใช้ (ซึ่งต่างจากไทย เมื่อแจ้งเป็นเครื่องสำอาง จึงถือว่าเป็นเครื่องสำอางทันที) ถ้ามีจุดมุ่งหมายที่มีลักษณะแบบเดียวกับยา จึงจะถือว่าเป็นยา และต้องผ่านมาตรการด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับยา นอกจากนี้กฎหมายของสหรัฐอเมริกายังไม่ได้แบ่งแยกระหว่างยากับเครื่องสำอางชัดเจนนัก เช่น แชมพูขจัดรังแค ถ้าเป็นแชมพูอย่างเดียวถือเป็นเครื่องสำอาง ถ้าบอกว่าขจัดรังแค ถือว่าเป็นยา

link อ้างอิง https://www.facebook.com/photo.php?fbid=228289490630375&l=19d3d6554f

กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์เอเจล (AGEL)

ผลิตภัณฑ์เอเจล (AGEL) ถูกปรับในเรื่องการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

– เอเจลเอ็กซ์โซ: ระบบภูมิคุ้มกัน ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความชรา

– เอเจลสลิมฟิต: ลดน้ำหนัก เผาผลาญไขมัน

– เอเจลอูมิ: ไหลเวียนโลหิต บำรุงสุขภาพ

– เอเจล มิน: กระดูก ฟัน ข้อต่อ เป็นปกติ

– เอเจล โปร: เสริมสร้างกล้ามเนื้อ เนื่อเยี่อ

– เอเจลเฟร็ก: ข้อต่อแข็งแรง

– เอเจล ฮาร์ท: โรคหัวใจ ไขมัน คอเลสเตอรอล

– เอเจล แคล: กระดูกแข็งแรง


หากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ขึ้นทะเบียนเป็นอาหารตามกฎหมายไทย ห้ามโฆษณาโดยใช้ข้อความดังกล่าวข้างต้นด้วย

เอกสารอ้างอิง กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ผลการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหารฉบับที่_111__ปีงบประมาณ_2555.pdf (กันยายน 2555)