แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2564

 

แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2564 (ดาวน์โหลดไฟล์ PDFเป็นแผนยุทธศาสตร์ฉบับแรกของไทยที่เน้นการแก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพเพื่อเป็นกรอบการทำงานให้แก่หน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ดังนี้

  1. การเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว
  2. การควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพในภาพรวมของประเทศ
  3. การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในสถานพยาบาลและควบคุมกํากับดูแลการใช้
    ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม
  4. การป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาและควบคุมกํากับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่าง
    เหมาะสมในภาคการเกษตรและสัตว์เลี้ยง
  5. การส่งเสริมความรู้ด้านเชื้อดื้อยาและความตระหนักด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่าง
    เหมาะสมแก่ประชาชน
  6. การบริหารและพัฒนากลไกระดับนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างยั่งยืน

 ตั้งเป้าบรรลุเป้าหมาย ข้อคือ

  1. ลดป่วยจากเชื้อยาร้อยละ 50 
  2. ลดการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับคนร้อยละ 20 
  3. ลดการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับสัตว์ร้อยละ 30 
  4. ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและใช้ยาต้านจุลชีพเหมาะสมเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 
  5. มีระบบจัดการการดื้อยาที่มีสมรรถนะตามเกณฑ์มาตรฐานสากล

สำหรับผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ฯในระยะเร่งด่วนปีงบประมาณ 2560 ได้ดำเนินการตามเป้าหมายดังนี้ 

  1. ตั้งคณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ
  2. มีนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลที่ครอบคลุมยาต้านจุลชีพ
  3. มีการนำร่องระบบการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านบูรณาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย แห่ง
  4. มีประกาศฯยกเลิกยาต้านจุลชีพจากยาสามัญประจำบ้าน ฉบับ
  5. มีประกาศฯปรับประเภทยาต้านจุลชีพ
  6. มีประกาศเรื่องควบคุมการผลิต ขาย ใช้ ยาผสมลงในอาหารสัตว์ ฉบับ
  7. มีการนำร่องระบบมาตรฐานการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป 24 แห่งใน 12 เขตสุขภาพ
  8. มีการนำร่องระบบมาตรฐานการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลสัตว์เลี้ยงอย่างน้อย แห่ง     
ปกสื่อแผ่นพับ
ด้านในสื่อแผ่นพับ