search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6520270
การเปิดหน้าเว็บ:9363534
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ผู้บริโภคปรี๊ด! รพ.ดูแลห่วย ลืมผ้าก๊อตในช่องคลอด ให้ยาผิด รังเกียจผู้ป่วย
  13 มกราคม 2557
 
 


วันที่: 13 มกราคม 2557
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000004091

          
    
        ผู้บริโภคปรี๊ด! โรงพยาบาลดูแลห่วย ทั้งมาตรฐานการรักษา การบริการ การส่งต่อ และการใช้สิทธิ์ ร้องเรียนมูลนิธิผู้บริโภคปี 2555-2556 รวม 38 เรื่อง อึ้ง! พบเคสลืมผ้าก๊อตในช่องคลอดจนเน่า ให้ยาไม่ตรงชื่อซองกินแล้วปากเบี้ยว แพทย์ พยาบาล รังเกียจผู้ป่วย ด้านมูลนิธิฯสรุปปัญหาที่ต้องแก้ไข 5 เรื่อง

        ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากข้อมูลกรณีร้องเรียนด้านบริการสุขภาพปี 2555-2556 โดยศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พบว่า มีการร้องเรียนจากทุกสิทธิการรักษาคือ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิประกันสังคม สิทธิสวัสดิการข้าราชการ และกลุ่มที่จ่ายเงินเอง ทั้งจากโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน และคลินิก รวม 38 เรื่อง แบ่งเป็น 1.ปัญหามาตรฐานการรักษา 18 เรื่อง เช่น ลืมผ้าก๊อตไว้ในช่องคลอดหลังคลอด ทำให้แผลเน่า ติดเชื้อ แพทย์จ่ายยาแก้ไข้ผิดทำให้เกิดอาการแพ้ มีตุ่มสีดำเต็มตัว ปวดท้องเข้ารักษาโรงพยาบาลตามสิทธิ แต่แพทย์ตรวจไม่ละเอียดให้แต่ยาแก้ปวด จนไปรักษาโรงพยาบาลที่จ่ายเงินเองพบว่า มีแผลที่บริเวณลำไส้ ทำให้ไส้เน่าต้องตัดทิ้ง และห้องยาให้ยาไม่ตรงชื่อหน้าซอง ส่งผลให้กินแล้วปากเบี้ยว เกร็งบริเวณใบหน้า ซึ่งเกิดจากการแพ้ยา เป็นต้น
        
        2.ปัญหามาตรฐานการบริการ 9 เรื่อง เช่น เจ้าหน้าที่ไม่บริการ ปล่อยให้มีการลัดคิว พยาบาลพูดจาไม่สุภาพ ไม่เอาใจใส่ผู้ป่วย แพทย์และพยาบาลมีท่าทีรังเกียจผู้ป่วยที่มีอาการเวียนหัว สุดท้ายอาเจียนออกมาขณะพบแพทย์ ไม่ช่วยเหลือไม่ทำความสะอาด จนผู้ป่วยต้องทำความสะอาดเอง เจ้าหน้าที่ไม่ให้ความสนใจ เพราะใช้บัตรประกันสังคมทั้งที่เกิดอุบัติเหตุ จนต้องไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น เป็นต้น 3.ปัญหาระบบส่งต่อ 4 เรื่อง เช่น ผู้ป่วยเป็นมะเร็งระยะที่ 3 โรงพยาบาลตามสิทธิไม่สามารถให้คีโมและรักษาได้ แต่ไม่ดำเนินการส่งต่อโรงพยาบาลที่สามารถรักษา อ้างว่าไม่ใช่โรงพยาบาลในเครือ เป็นต้น
       
        4.ระบบการใช้สิทธิ์ 3 เรื่อง ถูกเก็บเงินกรณีรักษานอกโรงพยาบาลตามสิทธิ์ ตัดสิทธิ์โดยไม่แจ้งผู้บริโภคให้ทราบ เป็นต้น และ 5.อื่นๆ 4 เรื่อง เช่น บุคลากรทางการแพทย์ไม่ตรงกับใบประกอบโรคศิลปะ ผลิตภัณฑ์เป้นอันตราย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากคลินิกเสริมความงาม ใช้แล้วมีอาการใจสั่น ปวดตามร่างกาย แพ้อย่างรุนแรง และค่าบริการแพงยกเลิกสัญญาไม่ได้ เป็นต้น
       
        ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า จากประเด็นข้อร้องเรียนทั้งหมด ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พบว่า มีปัญหาและอุปสรรคหลายด้านที่ต้องแก้ไขคือ 1.ขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการอ่านเวชระเบียน 2.หน่วยงานภาครัฐล่าช้ากรณีส่งเรื่องร้องเรียน ไม่ได้รับการตอบรับ ทำให้การดำเนินการช่วยเหลือเคสบางรายล่าช้า 3.ผู้เสียหายไม่สามารถขอเวชระเบียนได้ กรณีที่เข้ารักษา รพ.เอกชน (บางกรณี) 4.หรือเมื่อได้เวชระเบียนมาพบว่า ข้อมูลบางส่วนไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ผู้เสียหายแจ้ง (สันนิษฐานว่าอาจถูกแก้ข้อมูล) และ 5.ผู้บริโภคยังไม่รู้ช่องทางการร้องเรียน ทำให้กว่าเคสจะถึงมูลนิธิฯ บางเคสก็หมดอายุความแล้ว