search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6520341
การเปิดหน้าเว็บ:9363605
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  3องค์กรยูเอ็นหนุนใช้"ซีแอลยา"
  18 มีนาคม 2554 ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มที่นี่
 
 


3

                3 หน่วยงานของยูเอ็นออกเอกสารสรุปเชิงนโยบาย สนับสนุนให้ประเทศสมาชิกใช้มาตรการยืดหยุ่นในความตกลงทริปส์ เช่น ที่ไทย อินเดีย บราซิลทำกับยาต้านไวรัส หวังเพิ่มการเข้าถึงยาของประชาชนมากขึ้น
               องค์การอนามัยโลก (WHO), สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาติ (UNDP) และโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ได้ร่วมกันออกเอกสารสรุปเชิงนโยบาย (policy brief) ความยาว 12 หน้านี้ ภายใต้ชื่อ "การใช้มาตรการยืดหยุ่นภายใต้ความตกลงว่าด้วยการค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการพัฒนาการเข้าถึงการรักษาเอชไอวี" ซึ่งออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา โดยสนับสนุนให้ประเทศต่างๆ พัฒนาการเข้าถึงการรักษาเอชไอวีด้วยการใช้มาตรการยืดหยุ่นในทริปส์ อาทิ การประกาศบังคับใช้สิทธิ (ซีแอล) เช่น ที่ไทยและบราซิลได้ดำเนินการไปแล้ว และการกำหนดความชัดเจนของการให้สิทธิบัตรเพื่อขจัดสิทธิบัตรที่ไม่มีวันตาย หรือ ever-greening patent เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติสิทธิบัตรของอินเดีย เพื่อลดราคายาและเพิ่มการเข้าถึงยาของประชาชน
              ในเอกสารร่วมของ 3 หน่วยงานของสหประชาชาติระบุว่า แม้การใช้มาตรการยืดหยุ่นฯ นี้ ได้ถูกประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรเหล่านี้กดดันอย่างหนักเพื่อให้ยกเลิก โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่อย่างประเทศไทยและบราซิล แต่หน่วยงานยูเอ็นทั้งสามนี้เห็นว่า การบังคับใช้สิทธิดังกล่าวเป็นไปตามหลักการสิทธิมนุษยชนที่ได้ประกาศไว้ในหลักสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ   
              รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเห็นว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่หน่วยงานของสหประชาชาติด้านการพัฒนาและสาธารณสุขเข้าใจและสนับสนุนการใช้ข้อตกลงความยืดหยุ่นของทริปส์ นอกจากนี้ ในส่วนของประเทศไทยขณะนี้กำลังมีการวิจัยเพื่อนำไปสู่การจัดทำคู่มือการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรเพื่อขจัดสิทธิบัตรที่ไม่มีวันตาย หรือ ever-greening patent เพื่อลดราคายาผูกขาด ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
              ทางด้านนางมิเชล ไชลด์ ผอ.ฝ่ายนโยบาย องค์การหมอไร้พรมแดนสากล กล่าวว่า นี่จะเป็นก้าวย่างที่ดีมากๆ เพราะรายงานนี้จะส่งสัญญาณที่สำคัญว่าหน่วยงานต่างๆ ของสหประชาชาติที่ทำงานเกี่ยวเนื่องกับเอชไอวี ยอมรับและให้ความสำคัญในการเข้าถึงยาของประเทศกำลังพัฒนา.

.................................................................