search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6521462
การเปิดหน้าเว็บ:9365185
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ช่างสรรหา ระวังยาตีกัน
  05 กรกฎาคม 2554
 
 


โดย : สาลินีย์ ทับพิลา
วันที่: 5 กรกฎาคม 2554
ที่มา
: เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (www.bangkokbiznews.com)
ลิงค์: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/health
/20110705/398658/ ช่างสรรหา-ระวังยาตีกัน.html

 

ร้อยทั้งร้อยของ ส.ว. จะต้องมีล่วมยาประจำตัว ไล่กันตั้งแต่สารพัดวิตามิน จนถึงล่วมชุดใหญ่สำหรับโรคประจำตัว และตบท้ายด้วยสมุนไพรอาหารเสริม

ความรักและกตัญญูที่ลูกหลานมีให้กับ ส.ว.หรือผู้สูงวัยที่บ้าน ด้วยการเสาะแสวงหา "ของกิน" มาบำรุงให้มีสุขภาพแข็งแรง ทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วิตามิน ยาหม้อ ยาจีน ยาแผนปัจจุบัน ฯลฯ อะไรที่ว่ากันว่า กินแล้วดี โรคภัยไม่เบียดเบียน ส.ว.ที่บ้านจะต้องไม่พลาด แต่หากจะประโคมครบชุด หวังให้สารพัดตำรับมาช่วยกันทำงาน จาก "คุณ" อาจกลายเป็น "โทษ" สรรพคุณยาอาจซ้ำซ้อนหรือทอนฤทธิ์กันเองจนกลายเป็น "ยาตีกัน" อันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 5 โรคประจำตัวของผู้สูงอายุ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ อัมพาตอัมพฤกษ์ หลอดเลือดในสมองตีบและโรคมะเร็ง บางท่านดูแลสุขภาพเป็นอย่างดีในช่วงวัยหนุ่มสาว พอถึงวัย ส.ว.อาจเป็นเพียงโรคความดันและน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งยังไม่ถึงขั้นเบาหวาน แต่ก็ต้องกินยาควบคุมระดับน้ำตาล ส่วนท่านที่ใช้ร่างกายอย่างไม่ทะนุถนอมในวัยหนุ่ม ก็อาจมาครบชุดทั้ง 5 โรคให้เยียวยากันจนอ่วม

 การรักษาหลักก็คือ รับประทานยา โดยจำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดร่วมกันและใช้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง แต่พฤติกรรมผู้ป่วยนิยมที่จะรักษาและรับยาจากสถานพยาบาลหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น แผนปัจจุบัน แผนโบราณรวมถึงยาสมุนไพรและอาหารเสริมนานาชนิด โดยไม่บอกข้อมูลแก่แพทย์ว่า ไปรับบริการการแพทย์และใช้ยาอะไร ที่ไหนบ้าง

 "ผลที่ตามมาคือ ผู้ป่วยอาจจะได้รับยาซ้ำซ้อนหรือยาตีกัน" รศ.ภญ.ธิดา นิงสานนท์ นายกสภาเภสัชกรรม กล่าว

 ยาตีกัน หมายถึง การที่ฤทธิ์ของยาตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเมื่อได้รับยาอีก ตัวหนึ่งร่วมด้วย ผลที่เกิดขึ้นอาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ หรืออาจทำให้ผลการรักษาลดลง บางครั้งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต อย่างไรก็ตาม ยาตีกันจะเกิดผลมากหรือน้อย ขึ้นกับสภาวะของผู้ป่วย ระยะเวลาที่ใช้ยาร่วมกัน และขนาดยาที่ใช้ด้วย

ยาปฏิชีวนะบางชนิดจะตีกันกับยาที่ผู้ป่วยได้รับอยู่แล้ว เช่น ยาลดไขมัน ยาหัวใจ ยาขยายหลอดลม ทำให้ระดับยาในเลือดของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจนถึงขีดอันตรายได้  ยาฆ่าเชื้อบางกลุ่ม หากใช้ร่วมกับยาลดกรด หรือแคลเซียม เหล็ก วิตามินบางชนิด จะทำให้การดูดซึมของยาฆ่าเชื้อลดลงกว่าครึ่ง ทำให้ผลการฆ่าเชื้อลดลง ผู้ป่วยก็บ่นว่า ยาไม่ดี หรือไม่มีประสิทธิภาพ

 นอกจากยาตีกันเองแล้ว อาหารเสริมหรือสมุนไพรบางชนิด ก็ตีกับยาได้ เช่น น้ำผลไม้บางชนิด กระเทียม หรือแปะก๊วย อาจเพิ่มฤทธิ์ให้กับยาละลายลิ่มเลือด

 พฤติกรรมของผู้ป่วยเกี่ยวกับอาหาร บุหรี่ เหล้า ล้วนมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาทั้งสิ้น การสูบบุหรี่จะลดทอนฤทธิ์ของยา ฉะนั้น ผู้ที่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ต้องการปริมาณยามากกว่าคนทั่วไป เช่นเดียวกับแอลกอฮอล์จะทำให้ผลการรักษาของยาบางชนิดเปลี่ยนไป  เช่น ยาเบาหวาน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำผลไม้บางชนิดโดยเฉพาะน้ำเกรฟฟรุต จะทำให้ระดับยาในเลือดของยาที่รับประทานร่วมด้วยสูงขึ้น เช่น ยาลดไขมัน ยากดระบบประสาท เป็นต้น

 บางครั้ง ความเอื้ออาทรในชุมชนก็ส่งผลร้าย จากการสำรวจบางชุมชนของสภาเภสัชกรรมพบว่า บ้านใกล้เรือนเคียงที่เป็นโรคเดียวกัน จะแบ่งปันยาระหว่างกัน ในความเป็นจริงแล้ว ยารักษาโรคจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อจ่ายยาที่เหมาะสมกับอาการและสภาพร่างกาย

 "วิธีแก้ไขคือ การจดบันทึกยาที่ตัวเองใช้ เพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรรู้ว่า ตัวเราใช้ยาชนิดไหนอยู่ จะได้จัดยาให้ เหมาะสม ไม่ซ้ำซ้อนหรือออกฤทธิ์ตีกัน ทำให้ประสิทธิภาพการรักษาลดลง หรือเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต" ภญ.รศ.ธิดา แนะนำถึงความสำคัญของสมุดบันทึกการใช้ยาประจำตัวของผู้ป่วย ทั้งในวัยเด็ก วัยหนุ่มสาวและวัย ส.ว.