search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6521844
การเปิดหน้าเว็บ:9365598
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ชี้วัคซีนฉีดวัยเด็กสิ้นฤทธิ์ โรคอุบัติซ้ำหวนคืนระบาด
  07 กรกฎาคม 2554
 
 


วันที่: 7 กรกฎาคม 2554
ที่มา
: เว็บไซต์ไทยโพสต์ (www.thaipost.net)
ลิงค์: http://www.thaipost.net/news/070711/41323


หมอเด็กเตือนฉีดวัคซีนโรคหัดเยอรมัน อีสุกอีใส ไอกรนซ้ำตอนโต หลับพบอัตราการป่วยในผู้ใหญ่เพิ่ม แถมเป็นกลุ่มที่เคยรับวัคซีนช่วงวัยเด็กมาแล้ว พร้อมเตือนเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก ห่วงกลับมาระบาดซ้ำ หลังพบเชื้ออยู่ในสัตว์ปีกได้นานขึ้น

 นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการสัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 ว่า ในกลุ่มโรคอุบัติซ้ำโดยเฉพาะโรคที่ใช้วัคซีนฉีดป้องกันตั้งแต่ยังเด็กพบว่า ขณะนี้เริ่มมีปัญหาในหลายโรค อย่างโรคหัดเยอรมัน อีสุกอีใส คามทูม เป็นต้น โดยพบอัตราการป่วยในผู้ใหญ่เพิ่มมากขึ้น ทั้งที่กลุ่มคนเหล่านี้ ในช่วงวัยเด็กต่างได้รับวัคซีนป้องกันโรคแล้ว รวมไปถึงโรคไอกรนที่พบว่า มีผู้ใหญ่ที่ป่วยด้วยโรคนี้มากขึ้น โดย 1 ใน 50 ของผู้ใหญ่ที่มีอาการไอเรื้อรังจะป่วยเป็นโรคไอกรนนี้ ทั้งนี้ แต่เดิมเราเข้าใจว่าการฉีดวัคซีนในวัยเด็กจะได้ผลในการสร้างภูมิคุ้มกันไป ตลอดชีวิต แต่ขณะนี้เราพบว่าในวัคซีนหลายๆ ชนิดจำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นซ้ำ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาว่ามีวัคซีนตัวใดบ้าง ถือเป็นองค์ความรู้ใหม่

 วัคซีน เป็นเครื่องมือในการต่อสู้เชื้อโรคมานานแล้ว บางตัวใช้มา 50-60 ปี ประสบความสำเร็จช่วยป้องกันและลดอัตราการตายของโรคได้ในระดับหนึ่ง แต่วัคซีนเป็นเพียงการสร้างขึ้นจากเชื้อที่ทำเลียนแบบ ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้เหมือนธรรมชาติของมนุษย์จริงๆ ดังนั้น วัคซีนบางชนิดจึงต้องมีการฉีดกระตุ้นซ้ำอีก อย่างโรคหัดที่ขณะนี้เราเริ่มพบการป่วยในวัยรุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะที่ภาคเหนือ" นพ.ทวีกล่าว และว่า สำหรับในส่วนโรคไอกรนนั้น ทั้งในสหรัฐและประเทศแถบยุโรปเริ่มพบผู้ใหญ่ที่ป่วยด้วยโรคไอกรนมากขึ้นเช่น กัน จากจำนวนหลักร้อยเป็นหลายพันราย

 สำหรับหลักเกณฑ์การฉีดวัคซีนทั่ว ไปจะเริ่มฉีดให้กับเด็กทารก 9 เดือนถึง 1 ปี และจะฉีดอีกครั้งในช่วงอายุ 4 ปี หรือ 6 ปี และควรฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันซ้ำตอนอายุ 16 ปี

 นพ.ทวียัง ได้กล่าวถึงการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก หรือ เอช 5 เอ็น 1 ว่า ที่ประเทศอินโดนีเซียในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เราพบว่า ในกลุ่มสัตว์ปีกที่ติดไข้หวัดนกเริ่มมีอัตราการตายลดลง จากเดิมที่อัตราการตายในสัตว์ปีกอยู่ที่ 90% แต่ขณะนี้ลดลงเหลือเพียงแค่ 70% เท่านั้น แสดงว่าเชื้อเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงบ้างแล้ว และเชื้ออยู่ในตัวสัตว์ได้นานขึ้น นั่นหมายถึงโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อสู่คนมากขึ้น มีโอกาสอาจเกิดการกลับมาแพร่ระบาดได้อีกครั้ง ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงต้องคอยเฝ้าระวัง