search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6526941
การเปิดหน้าเว็บ:9370866
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  องค์การหมอไร้พรมแดนหนุน ประเทศที่ถูกกีดกันจากสิทธิบัตรร่วมประกาศใช้ซีแอล
  12 กรกฎาคม 2554
 
 


วันที่: 12 กรกฎาคม 2554
ที่มา: มติชน ออนไลน์ (www.matichon.co.th
)
ลิงค์: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1310462334

องค์การหมอไร้พรมแดนเห็นว่า ข้อตกลงที่บริษัทยา กิลิแอด (Gilead) อนุญาตให้ยาต้านไวรัสติดสิทธิบัตรหลายตัว จัดการโดยองค์กรจัดการสิทธิบัตรยาร่วม (Medicine Patent Pool) จะสามารถพัฒนาการเข้าถึงยาได้ในประเทศยากจน แต่ได้จำกัดสิทธิของผู้ติดเชื้อในประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากออกไป

ข้อตกลงดังกล่าว ถือเป็นการพัฒนาขึ้นจากสิ่งที่บรรษัทยาข้ามชาติกำลังทำเพื่อการเข้าถึงยา ต้านไวรัสของผู้ป่วยในประเทศกำลังพัฒนานางมิเชล ไชด์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายของฝ่ายรณรงค์เข้าถึงยาจำเป็น องค์การหมอไร้พรมแดนกล่าว แต่ข้อน่าห่วงใยคือ บ.กิลิแอดไม่ได้ทำมากกว่าสิ่งที่ตัวเองทำอยู่เดิม ทั้งที่จริงควรทำมากกว่านี้เพื่อให้ระบบจัดการร่วมสิทธิบัตร หรือ Patent Pool สามารถเป็นทางออกเพื่อการเข้าถึงยาของผู้ติดเชื้อถ้วนหน้า ดังนั้น ข้อตกลงนี้จึงไม่ควรเป็นต้นแบบของข้อตกลงอื่นๆในอนาคต

ในด้านบวก ข้อตกลงดังกล่าวได้ครอบคลุมถึงยาต้านไวรัสตัวใหม่ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลอง 2 ตัว คือ cobicistat และ elvitegravir นอกเหนือจากยาต้านไวรัส Tenofovir ที่สำคัญแล้ว ซึ่งนี่จะสามารถสร้างความมั่นใจให้ประเทศกำลังพัฒนาในการเข้าถึงยาเทียมเท่า กับประเทศร่ำรวย

ข้อตกลงดังกล่าว อนุญาตให้บริษัทยาชื่อสามัญมาขอเพื่อไปผลิตยาสูตรรวมเม็ด หรือขนานสำหรับเด็ก แต่ยังระบุถึงกลไกยืดหยุ่นในความตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยหากประเทศใดถูกยกเว้นไม่ให้เข้าใช้สิทธิบัตรยานี้ บริษัทยาชื่อสามัญสามารถจำหน่ายให้ประเทศนั้นๆได้ หากรัฐบาลของประเทศนั้นประกาศมาตรการบังคับใช้สิทธิหรือ CL และหากในประเทศที่กิลิแอดไม่ได้สิทธิบัตรบริษัทยาชื่อสามัญก็สามารถยกเลิก ข้อตกลงได้ทันที โดยข้อตกลงทั้งหมดต้องเปิดเผยต่อสาธารณะเพื่อความโปร่งใส

ในด้านลบ ข้อตกลงนี้ละเลยเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาสาธารณสุขจากปัยหาเอ ชไอวีเอดส์ โดยจำกัดการแข่งขันด้านราคา โดยอนุญาตให้ประเทศอินเดียเท่านั้นที่ทำการผลิตได้ และจำกัดแหล่งวัตถุทางยา และที่สำคัญที่สุด ยังละเลยผู้ติดเชื้อในประเทศกำลังพัฒนาที่มีฐานะปานกลางออกไปจำนวนมาก อาทิ ประเทศแถบละตินอเมริกา, ยุโรปตะวันออก และ อาเซียน รวมทั้งจีนด้วย หลายประเทศในจำนวนนี้คือประเทศที่มีโครงการให้ยาต้านไวรัสกับผู้ติดเชื้อมา นานกว่าทศวรรษ ซึ่งต่างจากใบอนุญาตใช้สิทธิบัตรฉบับแรกของสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐ อเมริกา (NIH) ที่ให้กับประเทศกำลังพัฒนาทุกประเทศ หากกลไกสมัครใจเช่น ระบบการจัดการสิทธิบัตรร่วม หรือ Patent Pool ไม่สามารถรับรองการเข้าถึงยาของประชาชนได้ ประเทศที่ถูกกีดกันออกไปต้องตัดสินใจใช้มาตรการที่เข้มข้น เช่น การประกาศซีแอล

หลายประเทศดูแลให้การรักษาผู้ป่วยของตัวเองพอได้ แล้ว หากประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาถูกกีดกันออกไปจากข้อตกลงเช่นนี้ รัฐบาลในประเทศนั้นๆต้องพิจารณาใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิหรือซีแอลเพื่อแก้ ปัญหาสิทธิบัตรที่ขวางการเข้าถึงยาอยู่

สำหรับแนวความคิดเริ่มแรกในการจัดการสิทธิบัตรยาร่วม (Patent Pool) นั้นมุ่งหมายให้ใบอนุญาตสิทธิบัตรครอบคลุมทุกประเทศ โดยบริษัทยาชื่อสามัญใดที่ได้มาตรฐานตามที่กำหนดสามารถขออนุญาตเพื่อผลิตและ จำหน่ายยาที่ติดสิทธิบัตรโดยจ่ายค่าสิทธิบัตรในราคาที่ไม่แพงนัก แต่ในข้อตกลงครั้งนี้ ประเทศที่มีศักยภาพด้านการผลิตยาชื่อสามัญอย่างไทยและบราซิลถูกกีดกันออกไป และยังไม่แก้ปัญหาให้ประเทศอย่างจีน ที่ยาเทโนฟโฟเวียร์ติดสิทธิบัตรอยู่ (ยาดังกล่าวไม่มีสิทธิบัตรในไทยและบราซิล)