search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6526972
การเปิดหน้าเว็บ:9370897
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  "อย." ผนึก "ปคบ." จับเว็บไซต์โฆษณาฉีดโบท็อกซ์-กลูตาไธโอน ผิดกฎหมาย
  13 กรกฎาคม 2554
 
 


วันที่: 13 กรกฎาคม 2554
ที่มา: มติชน ออนไลน์ (www.matichon.co.th)
ลิงค์: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1310539272

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ พล.ต.ต.พูลทรัพย์ ประเสริฐศักดิ์ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ผบก.ปคบ.) ร่วมกันแถลงว่า หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบเว็บไซต์ชื่อ www.biopharmacare.com เนื่องจากมีการโฆษณาฉีดโบท็อกซ์ ฉีดหน้าเรียว ฉีดโบท็อกซ์ลดกราม โดยเจ้าของเว็บไซต์แจ้งว่าเป็นดีเทลยาพร้อมให้หมายเลขโทรศัพท์ เพื่อนัดหมายฉีดโบท็อกซ์หรือสอบถามข้อมูลจึงให้ อย.ตรวจสอบ เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายต่อประชาชน ซึ่งหลังจาก อย.ได้รับข้อมูล จึงรุดประสานไปยังตำรวจ บก.ปคบ.เพื่อสืบสวนสอบสวนและล่อซื้อยาจากเว็บไซต์ดังกล่าวทันที

ทั้งนี้ จากการเข้าไปตรวจสอบเว็บไซต์ดังกล่าว พบว่ามีการโฆษณาฉีดโบท็อกซ์ และฉีดกลูตาไธโอนจริง ตามที่ผู้บริโภคร้องเรียนโดยมีข้อความโฆษณาว่าบริการฉีดผิวขาวหรือฉีดกลูตา ไธโอนกับหมอที่คลินิกหรือโรงพยาบาลกว่า10 แห่งที่กรุงเทพฯ และยังมีที่ต่างจังหวัดด้วย ติดต่อสอบถามรายละเอียด โทร.08-7 677-9552 รวมทั้งโฆษณาฉีดโบท็อกซ์ ฉีดจมูกเติมเต็มด้วยสาร filler ที่ปลอดภัยได้ อย. โดยแพทย์ชำนาญการ ปลอดภัยไม่ใช้ซิลิโคนเหลว ฉีดเสริมหน้าผาก ฉีดเติมร่องแก้ม ฉีดลดตีนกา บริการยกกระชับหน้าด้วยไหมทองคำ พร้อมจำหน่ายยาช่วยทำให้ผิวขาว เป็นต้น ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์มีการจำหน่ายในราคาสูงเป็นหลักหมื่นขึ้นไป ดังนั้น ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2554 เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปคบ.ร่วมกับเจ้าหน้าที่ อย.ดำเนินการล่อซื้อยาฉีดโบท็อกซ์ ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ปรากฏบนเว็บไซต์ โดยทางตำรวจ บก.ปคบ.ได้ส่งสายสืบปลอมตัวเพื่อเข้ารับบริการฉีดโบท็อกซ์ ซึ่งสถานที่นัดหมายรับบริการ คือ บ้านเลขที่ 228 ถนนสายไหม ซอยสายไหม 10 แขวงสายไหม เขตสายไหม กรุงเทพฯ

โดยเจ้าหน้าที่สามารถจับกุม น.ส.บุษวรรณ สุวรรณวัฒน์ (ฝ้าย ชื่อที่ปรากฏบนเว็บไซต์) ขณะกำลังฉีดโบท็อกซ์ด้วยตนเองให้กับผู้ล่อซื้อในบ้านพัก โดย น.ส.บุษวรรณไม่ได้เป็นแพทย์ และบ้านพักไม่ได้เป็นสถานพยาบาลถูกต้องตามกฎหมายแต่อย่างใด พร้อมทั้งจับยาและอุปกรณ์ที่ใช้ในขณะฉีดให้ลูกค้า นอกจากนี้ ผลการตรวจสอบบ้านพักว และขยายผลต่อตรวจสอบรถยนต์ของ น.ส.บุษวรรณ  พบผลิตภัณฑ์ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดต่างๆ จำนวนมาก

เลขาธิการฯ อย.กล่าวต่อไปว่า ขอเตือนประชาชนอย่าได้หลงเชื่อการโฆษณาผ่านทางเว็บไซต์ ที่โฆษณาการฉีดโบท็อกซ์ โดยเฉพาะการฉีดสารกลูตาไธโอน ที่อวดอ้างสรรพคุณทำให้ผิวขาวใส เพราะเป็นการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เนื่องจากเป็นการนำสารกลูตาไธโอนมาใช้ในทางที่ผิด เพราะสารกลูตาไธโอนไม่ได้มีข้อบ่งชี้ในการช่วยทำให้ผิวขาวใสขึ้นแต่อย่างใด ทั้งนี้ ประโยชน์ที่อาจนำมาใช้ในทางการแพทย์ตามที่ระบุในเอกสารวิชาการคือ การรักษาพิษจากยาพาราเซตามอลโดยใช้เบื้องต้นสำหรับรักษาโรคมะเร็งบางชนิด และขณะนี้ อย.ไม่ได้มีการรับขึ้นทะเบียนตำรับยาที่ใช้สารนี้แต่อย่างใด