search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6529428
การเปิดหน้าเว็บ:9373455
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  คุมจริยธรรมส่งเสริมขายยา พุ่งเป้าผลประโยชน์ตอบแทนพ่วงคำสั่งซื้อ
  26 กรกฎาคม 2554
 
 


วันที่:

เปิดร่าง กม. "เกณฑ์จริยธรรมคุมส่งเสริมขายยาเตรียมทำประชาพิจารณ์วันนี้ (26 ก.ค.) สาระหลักควบคุมพฤติกรรมทั้งผู้สั่งจ่ายยา ผู้แทน และบริษัทยา โดยเฉพาะการให้ผลประโยชน์ตอบแทนการสั่งซื้อยา  พร้อมกำหนดให้ รายงานข้อมูลส่งเสริมการขายยาต่อสาธารณะทุกปี แจงรายละเอียดยิบตั้งแต่ชื่อผู้ให้-ผู้รับงบประมาณ ค่าจัดเลี้ยง อบรม แก้ปัญหาการส่งเสริมการขายยาที่ไม่เหมาะสม และลดการใช้ยาเกินจำเป็นตั้งแต่ต้นทาง

ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานสร้างกลไกการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เปิดเผย ว่า ขณะนี้ทางคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมจริยธรรมผู้สั่งใช้ยาและยุติ การส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม ซึ่งมี ผศ.นพ.รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ เป็นประธาน ได้จัดทำ ร่างเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทยแล้วเสร็จ โดยเป็นร่างเกณฑ์ซึ่งจะเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่ เกี่ยวข้องก่อน ซึ่งกำหนดในวันที่ 26 ก.ค.นี้ สำหรับการจัดทำร่างเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยา เป็นการดำเนินการที่เชื่อมโยงจากที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ที่ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งคณะทำงานที่มาจากทุกภาคส่วน ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก เพื่อให้เป็นเกณฑ์กลางของประเทศ และพัฒนาบังคับใช้ในรูปของกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ผศ.ภญ.นิยดา กล่าวต่อว่า สำหรับร่างเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาฯ นี้ เป็นการร่างจากบริบทเกณฑ์จริยธรรมการส่งเสริมการขายยาในปี 2537 ที่ไม่มีการนำมาบังคับใช้ โดยนำมาปรับปรุง ซึ่งร่างเกณฑ์ที่จัดทำใหม่นี้จะถือเป็นร่างเกณฑ์จริยธรรมฯ แรก ที่เปิดให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในการนำไปใช้และปฏิบัติต่อไป สาเหตุที่ต้องทำในเรื่องนี้ เพราะที่ผ่านมาเราประสบปัญหาการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมอย่างมาก จากการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดต่างๆ กระตุ้นให้เกิดการใช้ยา ส่งผลให้เกิดปัญหาการใช้ยาเกินจำเป็น การใช้ยาราคาแพงเกินควร และรวมถึงการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผล

ผศ.ภญ.นิยดากล่าวต่อว่า ในการเปิดรับฟังความเห็นที่ขาดไม่ได้คือ กลุ่มผู้แทนจากอุตสาหกรรมยา บริษัทยา และทางสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้สั่งใช้ยา ได้แก่ แพทย์ กลุ่มเภสัชกรในสถานพยาบาล กลุ่มผู้บริหารและผู้จัดซื้อจัดหายาของสถานพยาบาล และกลุ่มผู้แทนจากสถานศึกษา ทั้งนี้ ในการจัดทำร่างเกณฑ์จริยธรรมส่งเสริมการขายยานี้ ทางกลุ่มอุตสาหกรรมยาจะพยายามออกมายืนยันว่า ทางกลุ่มอุตสาหกรรมยาได้จัดทำหลักเกณฑ์จริยธรรมที่เป็นการควบคมกันเองอยู่ แล้ว แต่จากการติดตามพบว่ายังเป็นปัญหาอยู่มาก

การจัดทำร่างเกณฑ์ จริยธรรมว่าด้วยส่งเสริมการขายยา เรามีเป้าหมายเพื่อให้มีการออกเป็นกฎหมายและบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรมมาก ขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการระบุในกฎหมายต่างๆ อยู่บ้าง อย่างเช่น พ.ร.บ.ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ร.บ.ยา เรื่องการส่งเสริมการขายยา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาการส่งเสริมการขายยาที่ไม่ถูกต้องและสร้าง ปัญหาผศ.ภญ.นิยดากล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาระสำคัญในร่างเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทยฉบับ ใหม่นี้ ได้มีการกำหนดเกณฑ์ปฏิบัติในกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการสั่งจ่ายและจัด ซื้อยา รวมไปถึงผู้ผลิตและจำหน่าย โดยในส่วนของการกำหนดข้อปฏิบัติของผู้สั่งใช้ยา (แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข) อาทิ ผู้สั่งใช้ยาไม่พึงรับประโยชน์อันเป็นทรัพย์สินจากผู้แทนยาหรือบริษัทยา ยกเว้นมีกำหนดไว้ตามสภาวิชาชีพ ไม่พึงรับบริการอันเป็นกิจส่วนตัวจากผู้แทนยา เช่น การจัดรถรับส่ง เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้สั่งใช้ยาสามารถรับทุนจากบริษัทยาไปประชุม ดูงานทั้งในและต่างประเทศ ที่ก่อประโยชน์ให้หน่วยงานได้ แต่ต้องไม่มีเงื่อนไขผูกมัดเพื่อส่งเสริมการขายยา โดยให้รับได้เฉพาะค่าเดินทาง ค่าลงทะเบียน ค่าวิทยากร ค่าอาหาร และค่าที่พัก สำหรับตนเองเท่านั้น และจำกัดเฉพาะช่วงเวลาของการดูงาน เป็นต้น

ส่วนผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการจัดซื้อยาในสถานพยาบาลนั้น อาทิ ไม่พึงรับเงิน สิ่งของ หรือคิดค่าใช้จ่ายใดๆ จากบริษัทยา ที่นำมาซึ่งประโยชน์ส่วนตนหรือประโยชน์แก่บุคลากรอื่นของสถานพยาบาล เพื่อแลกเปลี่ยนกับการตัดสินใจสั่งซื้อยา ต้องจัดให้มีระบบการจัดซื้อยา ระบบการคัดเลือกบริษัทผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายยา รวมทั้งระบบการตรวจสอบการจัดซื้อยาที่โปร่งใส เป็นธรรมกับปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนกับบริษัทยา นอกจากนี้ต้องกำหนดนโยบายหรือกฎระเบียบเพื่อควบคุมการส่งเสริมการขายยาของ ผู้แทนยาในสถานพยาบาล เช่น การกำหนดบริเวณหรือกำหนดเวลาที่อนุญาตให้ผู้แทนยาเข้ามาทำกิจกรรมได้ เป็นต้น

ขณะที่ในส่วนของบริษัทยานั้น มีหน้าที่ทั้งในส่วนผู้แทนยาและผู้สั่งใช้ยา โดยในส่วนผู้แทนยานั้น บริษัทต้องควบคุมจริยธรรมและความประพฤติผู้แทนยาให้เหมาะสม และต้องไม่กำหนดผลตอบแทนรายได้หลักของผู้แทนยาแต่ละราย โดยขึ้นอยู่กับยอดขายยาของผู้แทนยา ส่วนผู้สั่งใช้ยานั้น บริษัทจะต้องระมัดระวังปฏิสัมพันธ์ที่เป็นการชักจูงให้จัดซื้อยา ทั้งการให้ของขวัญของชำร่วยหรือบริการอันเป็นกิจส่วนตัว การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย การวิจัย ต้องมุ่งเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย ส่วนการสนับสนุนประชุมวิชาการต้องไม่ก่อให้เกิดการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผล

นอกจากนี้ยังได้มีกำหนดหน้าที่ต่อสาธารณะของบริษัท โดยเฉพาะการแสดงข้อมูลการดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมการขายแก่สาธารณชนในทุก หนึ่งปี โดยมีรายละเอียดดังนี้ กิจกรรมการส่งเสริมการขายยา รายชื่อผู้แทนยาที่ดำเนินกิจกรรม ชื่อผู้รับ สถานที่ประกอบการของผู้รับ และทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพ จำนวนเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด วันที่จ่ายเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดให้แก่ผู้รับ พร้อมจำแนกการจ่าย เช่น ค่าจัดเลี้ยงอาหาร เครื่องดื่ม ค่าธรรมเนียมการให้คำปรึกษา ค่าตอบแทนการวิจัย เงินบริจาค ทุนการศึกษา ค่าใช้จ่ายจัดประชุม นิทรรศการ การฝึก อบรม กิจกรรมบันเทิง สันทนาการ การรับบริการ และการบริจาค

Keywords: จริยธรรม, ส่งเสริมการขายยา, นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี,