search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6533926
การเปิดหน้าเว็บ:9378389
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  สปสช. ให้ สปส.-ขรก. ยืมยา 90 ชนิด
  21 พฤศจิกายน 2554
 
 


วันที่: 21 พฤศจิกายน 2554
ที่มา: เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
ลิงค์: www.thaipost.net/news/211111/48421


"วิทยา" ห่วงผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม มอบหมาย สปสช.ออกแนวทางการบริหารยาและเวชภัณฑ์เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อ เนื่อง ย้ำโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนให้ใช้ยา 90 รายการของบัตรทองได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยประกันสังคมหรือข้าราชการ

นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำท่วม รพ.หลายแห่ง จนต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาพยาบาลนอกเขตพื้นที่ปกติ หรือไปรับบริการรักษาพยาบาลยังสถานบริการเอกชน ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กรณีดังกล่าวจึงอาจจะเกิดการสับสนหรือไม่แน่ใจในการสนับสนุนยา เวชภัณฑ์และวัคซีนที่ต่อเนื่อง รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น จึงได้มอบหมายให้ สปสช.จัดทำแผนการสำรองยาและเวชภัณฑ์ในช่วงอุทกภัย และเพื่อให้หน่วยบริการที่เกี่ยวข้องทั้งที่ขึ้นทะเบียนหรือไม่ขึ้นทะเบียน ไว้กับ สปสช.มั่นใจในการสั่งใช้ยาไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วย

ด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า สปสช.โดยกองทุนยาเวชภัณฑ์และวัคซีน ได้จัดทำแนวทางการบริหารยา เวชภัณฑ์และวัคซีนในภาวะฉุกเฉิน ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาที่อยู่ในรายการ 90 รายการ ซึ่งเดิมจำกัดไว้เฉพาะผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพเท่านั้น แต่ในช่วงประสบอุทกภัยนี้ สปสช.อนุญาตให้สถานพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน สามารถจ่ายยาดังกล่าวให้กับผู้ป่วยทุกสิทธิไปก่อนโดยพิจารณาจากเหตุผลความจำ เป็นต่อผลการรักษา แม้ว่าสถานพยาบาลดังกล่าวจะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมโครงการบัตรทองก็ตาม แต่สามารถแจ้งความต้องการยาและเวชภัณฑ์ต่อนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดได้
     
"ทั้งนี้ สปสช.ยังได้สำรองยาทั้ง 90 รายการไว้กับองค์การเภสัชกรรม เพื่อให้มีปริมาณที่เพียงพอเฉลี่ยอย่างน้อย 3 เดือน ในกรณีที่หน่วยบริการมีความจำเป็นต้องเลื่อนนัดกลุ่มเป้าหมายวัคซีน ที่ใช้เสริมสร้างป้องกันโรคตามแผนการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค (EPI) ทำให้ต้องฉีดกระตุ้นซ้ำเมื่อมารับวัคซีนครั้งต่อไป และเตรียมประสานข้อมูลการแพร่ระบาดของโรคหลังน้ำท่วม เพื่อจัดทำแนวทางจัดหายารองรับกับสถานการณ์โรคระบาดหลังน้ำลด” เลขาธิการ สปสช.กล่าว.