search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6531952
การเปิดหน้าเว็บ:9376074
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ช้อนตวงยา - สิ่งเล็กๆที่ไม่ควรมองข้าม
  18 ธันวาคม 2554
 
 


วันที่: 18 ธันวาคม 2554
ที่มา: เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์
ลิงค์: www.posttoday.com/ไลฟ์สไตล์/สุขภาพ-ความงาม/127489/ช้อนตวงยาสิ่งเล็กๆที่ไม่ควรมองข้าม

โดย....มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค


“ช้อนตวงยา” สำคัญอย่างมากกับเด็กๆ ที่ต้องรับประทานยาน้ำ การตวงยาให้ได้ปริมาณที่เหมาะสมเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจไม่น้อยไปกว่าชนิด หรือประเภทของยา ปัจจุบันมีช้อนตวงยาหลากหลายชนิด แตกต่างกันทั้งขนาด รูปทรง วัสดุ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมเกี่ยวข้องกับปริมาณยาที่รับประทาน

ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองจึงห้ามมองข้ามความสำคัญกับช้อนตวงยา

สำหรับลักษณะทั่วไปของช้อนและถ้วยตวงยา มีดังนี้

- ช้อนหรือถ้วยตวงยาต้องเป็นสีขาว มีลักษณะโปร่งใสหรือโปร่งแสง
- พื้นผิวต้องเรียบ
- ขอบของช้อนหรือถ้วยต้องมีลักษณะโค้งมน ไม่มีมุมหรือส่วนที่เป็นคม
- ช้อนหรือถ้วยตวงยาต้องสามารถตั้งวางได้โดยไม่ทำให้ยาหก
- ที่ช้อนหรือถ้วยตวงยาควรมีอักษร หรือเครื่องหมายแจ้งปริมาณ เช่น “1” หรือ “1 ช้อนชา”

นอกจากนี้ มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก. ยังได้มีการกำหนดมาตรฐานของช้อนตวงยาเอาไว้ โดยช้อนตวงยาพลาสติกขนาด 1 ช้อนชา มีความจุ 5 ลบ.ซม. (มิลลิลิตร หรือซีซี) โดยมีความคลาดเคลื่อนได้ 0.25 ลบ.ซม. นั่นเท่ากับว่าช้อนตวงยา 1 ช้อนชา มีความจุอยู่ระหว่าง 4.75–5.25 มิลลิลิตร

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สมุทรสงครามและสำนักงาน สาธารณสุข จ.สมุทรสงคราม ให้ความสำคัญกับช้อนตวงยา โดยเก็บตัวอย่างช้อนตวงยาพลาสติกจำนวน 17 ตัวอย่าง แบ่งเป็นรูปแบบช้อนยา 12 ตัวอย่าง และรูปแบบถ้วยยาจำนวน 5 ตัวอย่าง

การทดสอบพบว่าตัวอย่างในรูปแบบช้อนยาผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 3 ตัวอย่าง และตัวอย่างในรูปแบบถ้วยยาผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 2 ตัวอย่าง ในจำนวนตัวอย่างที่ผ่านมาตรฐานทั้งหมด มีเพียงตัวอย่างเดียวที่ไม่ระบุหมายเลขการผลิตของช้อนตวงยาพลาสติก

บริษัทผู้ผลิตยาส่วนใหญ่ใช้ช้อนตวงยาพลาสติกเป็นของตนเอง โดยระบุชื่อผู้ผลิต หรือชื่อของผลิตภัณฑ์ไว้ที่ช้อนตวงยาพลาสติก อาทิ บริเวณด้ามจับของช้อน พื้นที่ผิวด้านในของตัวช้อน ขอบบนของถ้วย และก้นถ้วย

การรับประทานยาเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ ไม่ว่าเด็กหรือ|ผู้ใหญ่ จะยาน้ำหรือยาเม็ด หากมีข้อสงสัยหรือได้รับผลข้างเคียงจากการรับประทานยา ต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพราะจากยาที่ใช้รักษาโรคอาจกลายเป็นยาพิษ หากใช้ผิดวิธีหรือใช้อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์


ใครอยากรู้ข้อมูลดีๆ เรื่องผู้บริโภค สามารถติดตามและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นิตยสาร “ฉลาดซื้อ” นิตยสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของผู้บริโภค www.ฉลาดซื้อ.com, www.facebook.com/chaladsue และ โทร. 02-248-3737