search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6531966
การเปิดหน้าเว็บ:9376093
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  3 กองทุนร่วมทำราคากลางยาเครื่องมือแพทย์ ประเดิมกลุ่มยา IVIG
  21 กุมภาพันธ์ 2555
 
 


วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2555
ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000023785

     
    

กรมบัญชีกลาง สปส.และ สปสช.ลงนามความร่วมมือจัดทำราคากลางยาและเครื่องมือแพทย์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเท่าเทียมของ 3 กองทุน
       
วันนี้ (21 ก.พ.) ที่โรงแรมรามาการ์เด้นท์  นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง  นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และ นพ.เทียม อังสาชน ผอ.สำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ (สพคส.) ได้ร่วมลงนามความร่วมมือเพื่อจัดทำราคากลางยาและเครื่องมือแพทย์ โดย นพ.วินัย กล่าวว่า 3 กองทุนจะร่วมมือกันในการควบคุมค่าใช้จ่ายตรงนี้ เนื่องจากพบว่าราคายาและเครื่องมือแพทย์ชนิดเดียวกันของแต่ละกองทุนไม่เท่ากัน การจับมือกันจะทำให้มีอำนาจในการต่อรองกับบริษัทยา โดยเริ่มดำเนินการทันทีในกลุ่มยาบัญชี จ(2) หรือ ยาที่มีความจำเป็นเฉพาะและราคาแพง ประมาณ 7-8 ตัว เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคยากๆ โดยเฉพาะยา Immunoglobulin G (IVIG) ซึ่งเป็นยาที่ช่วยรักษากลุ่มโรคเกล็ดเลือดต่ำที่เกิดจากภูมิคุ้มกันต่อต้านเกล็ดเลือดของตนเอง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคคาวาซากิ โรคภูมิต้านทานตั้งแต่กำเนิด จากนั้นจะขยายไปยังเครื่องมือแพทย์ต่อไป
       
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า หาก 3 กองทุนเห็นชอบราคากลางยาและเครื่องมือแพทย์ร่วมกันแล้วจะมีการประกาศบนเว็บไซต์ ต่อไป รพ.ใดจะซื้อยาหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์จะต้องไม่เกินราคากลางที่ 3 กองทุนกำหนด ทั้งนี้ การกำหนดราคากลางดังกล่าวจะต้องหารือกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียก่อน เช่น ทางราชวิทยาลัยต่างๆ สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ หรือ พรีม่า อย่างไรก็ตาม ราคากลางที่กำหนดอาจจะสูงกว่าที่ทาง สปสช.จัดซื้ออยู่ในขณะนี้เล็กน้อย เป็นราคากลางที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ ที่สำคัญ ยาและเครื่องมือแพทย์จะต้องมีคุณภาพ เมื่อประกาศราคากลางแล้ว หากโรงพยาบาลใดจัดซื้อในราคาแพงเกินกว่านั้นจะมีการส่งเรื่องให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ไปดำเนินการ
       
“หลาย รพ.ที่ซื้อยาและเครื่องมือแพทย์ในราคาแพงอยู่เนื่องจากมีเซลส์วิ่งไปหาหมอ มีค่าคอมมิชชัน ค่าส่งเสริมการขาย แต่ถ้ามีการประกาศราคากลางออกไปทางเซลส์ก็ไม่ต้องวิ่งไปหาหมอ ตรงนี้เป็นความฝันที่อยากให้เกิดขึ้น อย่างสเตนท์ราคาก็ลดลงอย่างมาก แน่นอนว่า ค่าใช้จ่ายในส่วนของสวัสดิการข้าราชการคงลดลง แต่มิใช่ทั้งหมด มิฉะนั้นสวัสดิการข้าราชการก็จะไม่เหลืออะไรเลย ขณะเดียวกัน เมื่อให้ข้าราชการใช้ยาในราคาเดียวกับสิทธิอื่นๆ ก็อาจจะไปเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านอื่นให้เช่น ค่าห้อง ส่วนราคาที่ สปสช.จัดซื้ออาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย” อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวและว่า ปีที่ผ่านมา กรมบัญชีกลางได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขสุ่มตรวจเวชระเบียน รพ.ต่างๆ ทั่วประเทศ พบว่า สามารถเรียกเงินคืนได้ประมาณ 50 ล้านบาท