search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6531934
การเปิดหน้าเว็บ:9376049
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  3 กองทุน ชี้ เร่งวางแผนคุมระบบจ่ายยา
  15 มีนาคม 2555
 
 


วันที่: 15 มีนาคม 2555
ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์



ที่ประชุม 3 กองทุน  ห่วงค่าบริการสุขภาพพุ่งสูง   เร่งวางแผนควบคุมค่าใช้จ่าย  เน้นคุมเข้มระบบจ่ายยา 

จากกรณีที่ นายกรัฐมนตรีกล่าวในการประชุมเชิงนโยบายเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง 3 กองทุนประกันสุขภาพภาครัฐ ผลสรุปคืบหน้า  พร้อมประกาศดีเดย์เริ่มบริการร่วมดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียวกันในโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วไทยทั้งรัฐและเอกชน ไม่มีการทวงถามสิทธิ์ ไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า โดยจะให้บริการจนผู้ป่วยอาการทุเลากลับบ้านได้   และวางมาตรการควบคุมราคายาและการบริโภคยา การสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคนั้น 

นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวเพิ่มเติมว่า  สำหรับการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวจะต้องแก้ไขระเบียบของแต่ละกองทุนเพื่อให้เกิดเอกภาพและคล่องตัว ไม่ส่งผลกระทบกับโรงพยาบาลที่ให้บริการ ซึ่งได้ชี้แจงกับทุกโรงพยาบาลแล้ว แต่ในเรื่องของการดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในการบริการสุขภาพนั้นคงต้องหารือเพิ่มเติมในเรื่องของผลกระทบจากเงินเฟ้อที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งทั้ง 3 ระบบจะต้องมีการควบคุมคอร์สให้ดี

นายวิทยา กล่าวด้วยว่า สำหรับคอร์สค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในระบบสุขภาพนั้น จากการศึกษาพบว่าปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายด้านยาที่มีอัตราสูงขึ้น โดยเฉพาะการใช้ย่าของข้าราชการที่มีอัตราสูงขึ้นมากกว่าระบบอื่น  จึงจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมราคายาและการบริโภคยาระยะยาว โดย สธ.ได้วางมาตรกาให้แต่ละโรงพยาบาลจัดทำระบบเบิกจ่ายยาอย่างละเอียดเพื่อชี้แจงต่อ สธ.  อย่างไรก็ตามที่ประชุมมอบหมายให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.)  ประชุมหารือในเรื่องดังกล่าวในการประชุม บอร์ด อภ.ในวันจันทร์ ที่ 19 มี.ค.นี้

“ทั้งนี้ ในการประชุมร่วม 3 กองทุน นั้นที่ประชุมยังได้มีการกำชับกรมบัญชีกลางให้เร่งตรวจสอบระบบจ่ายยาอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการจ่ายยาที่มากเกินความจำเป็น” นายวิทยา กล่าว
ด้านนพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า  ในการประชุมที่ผ่านมายังให้ความสนใจในเรื่องการแก้ปัญหาการเงินการคลังระยะยาว เนื่องจากปัจจุบันค่าใช้จ่ายสุขภาพโตเร็วถึงร้อยละ 9 ต่อปี หรือประมาณเกือบร้อยละ 4 ของค่าจีดีพีหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และหากไม่ดำเนินการอะไรในอีก 8  ปีข้างหน้า หรือในปี 2563 ค่าใช้จ่ายจะมีสัดส่วนพุ่งสูงถึงร้อยละ 6.6  ของค่าจีดีพีทีเดียว

นพ.วินัย กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นว่า ควรมีการดำเนินการ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การควบคุมราคายา โดยต้องจัดทำบัญชีราคายากลางของประเทศ ทั้งยานอกและในบัญชียาหลักแห่งชาติ 2.จัดซื้อยาในราคารวมในจำนวนมากๆ และ 3.มาตรการส่งเสริมการสั่งซื้อยาชื่อสามัญ เนื่องจากที่ผ่านมาแพทย์มักนิยมสั่งยานอก ยายี่ห้อดังๆ ซึ่งจริงๆ ตัวยาเหมือนกัน แต่ราคาต่างกันมาก ยกตัวอย่าง ยาพาราเซตามอล มีตัวยาเดียวกัน แต่คนละยี่ห้อ ทำให้ราคาแตกต่างไปด้วย ตรงนี้จะลดปัญหาแพทย์ติดยาดัง และลดปัญหาฮั้วกันกับบริษัทยาได้ อย่างไรก็ตาม ในรายละเอียดของมาตรการต่างๆ รวมทั้งการมอบหมายหน่วยงานใดเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลเรื่องนี้ ยังไม่มีการหารือ คงต้องรอการประชุมอีก 2 เดือนข้างหน้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ในการประชุมที่ผ่านมา มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายการดำเนินการควบคุมค่าใช้จ่าย โดยกำหนดให้มีการคุมการใช้จ่าย 3 กองทุน ไม่ให้ขยายตัวเกินร้อยละ  6    โดยให้ 3 กองทุนร่วมมือกัน อาทิ  มาตรการลดการใช้ยา  การกำหนดราคากลางยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ร่วมกัน โดยตั้งเป้า ในปีงบประมาณ  2555 ให้ เริ่มประมูลยาพื้นฐานและอุปกรณ์ทางการแพทย์ร่วมกัน ถ้าแพงกว่าราคาประกาศให้สั่งส่วนกลาง ถ้าถูกว่าให้สั่งเลย ให้มีระบบวินิจฉัยร่วมกันกำหนดราคากลางของการรักษา และให้มีการสร้างระบบติดตามประเมินผลร่วมกัน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย  เป็นต้น