search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6525521
การเปิดหน้าเว็บ:9369373
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  จี้ สธ.ทบทวน “แผนซื้อวัคซีนมะเร็งปากมดลูก”
  10 เมษายน 2555
 
 


วันที่: 10 เมษายน 2555
ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์

กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค หวั่น บ.ยาข้ามชาติ ฮั้ว แพทย์พาณิชย์ ซื้อ-ขายวัคซีนมะเร็งปากมดลูก วอนสังคมจับตา นักวิชาการ สสส.จี้ สธ.ทบทวน 

จากกรณี ที่ นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า สธ.มีแนวคิดจะนำวัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวี (HPV: Human Papilloma vaccine) ซึ่งก่อมะเร็งปากมดลูก โดยจะจัดบริการฉีดป้องกันในเด็กหญิงไทยอายุ 12 ปี ที่กำลังเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และยังไม่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งขณะนี้ได้ให้กรมอนามัยจัดทำโครงการดังกล่าว เพื่อจะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร็วๆ นี้ โดยคาดว่า วัคซีนดังกล่าวจะสามารถซื้อได้ในราคาประมาณเข็มละ 500 บาท นั้น

น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า กรณีดังกล่าว ตนตั้งข้อสังเกตว่า อาจเป็นการร่วมมือระหว่างบริษัทยาข้ามชาติ กับแก๊งแพทยฺ์พาณิชย์ ผลักดันการจัดซื้อวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) โดยจะใช้งบจัดซื้อเข็มละ 500 บาท ต้องฉีด 3 เข็ม คือ 1,500บาท กับเด็กหญิงปีละ ประมาณ 400,000 คน เป็นเงิน 600 ล้านบาท ซึ่งมากกว่างบประมาณที่ทุกวันนี้ใช้ซื้อวัคซีนจำนวน 8 ตัวที่ฉีดฟรีในเด็กทั่วประเทศ ปัญหาที่สำคัญ คือ ช่วงสมัยรัฐบาลของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งมี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็น รมว.สธ.นั้น มีการเสนอแค่ ในราคาเข็มละ 200 บาท ซึ่ง สธ.ได้ปฏิเสธไปแล้ว เพราะต้องการเน้นการคัดกรองมะเร็ง จึงสงสัยว่า เหตุใดรัฐบาลชุดนี้ จึงมีความประสงค์จะซื้อในราคาแพงขนาดนี้ ที่สำคัญ มีแหล่งข่าววงในกล่างถึงกรณีนี้ด้วยว่า ประเด็นดังกล่าวยังไม่ผ่านคณะกรรมการวัคซีน จึงอยากให้สังคมจับตามองเรื่องนี้ด้วย

นส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ สสส.กล่าวว่า แม้ องค์การอนามัยโลก (WHO) จะยอมรับว่า การให้วัคซีนจะเป็นสิ่งที่ดี แต่จากการเสวนาหลายเวที รวมทั้งโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ก็มีการชี้ชัดแล้วว่าไม่คุ้มค่า เพราะเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก มีอยู่หลายสายพันธุ์ แต่วัคซีนกลับป้องกันได้แค่ 2-3 สายพันธุ์ และมีการประเมินว่า วัคซีนจะสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกในหญิงไทยได้ 50-70% เท่านั้น ขณะที่อัตราการคัดกรอง ขณะนี้ก็สามารถเชิญชวนหญิงไทยเข้าร่วมการตรวจได้มากกว่า 70% แล้ว จากเดิมแค่ 40% จึงอยากให้มีการทบทวน เพราะหากมีนโยบายออกไปก็มีแต่เพิ่มค่าใช้จ่าย