search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6525976
การเปิดหน้าเว็บ:9369830
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  วัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ห่วงใยหรือมีวาระซ่อนเร้น?
  20 เมษายน 2555
 
 


วันที่: 20 เมษายน 2555 
ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์  โดย จารยา บุญมาก

อุบัติการณ์โรคมะเร็งปากมดลูกที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า มีผู้ป่วยประมาณ 1 หมื่นรายต่อปี ที่น่าตกใจ คือ โรคมะเร็งปากมดลูก ยังคงครองแชมป์อันดับหนึ่งของมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้หญิง 

จนกระทั่งปี 2554 องค์กรวิชาชีพแพทย์ 6 สถาบันทั้ง ราชวิทยาลัย อาทิ สูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลับกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมอนามัย เจริญพันธุ์ (ไทย) ได้ออกมาผลักดันให้รัฐบาลจัดบริการวัคซีน ป้องกันเชื้อ HPV อันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก เป็นวัคซีนพื้นฐานแจกฟรีแก่เด็กผู้หญิงอายุ 12 ปี ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์

ในขณะนั้น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แต่ครั้งนั้น สธ.ยังไม่ได้ตกลงรับข้อเสนอแนะใดๆ โดยได้มีการขอพิจารณาข้อมูลเชิงวิชาการ โดยมอบหมายให้โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือ HITAP เป็นผู้ประเมินความคุ้มค่า และพบว่า วัคซีนสามารถป้องกันได้แค่ 50-70% เท่านั้น HITAP จึงยืนยันว่า ไม่มีความจำเป็นต้องบริการดังกล่าว หลังจากนั้น ช่วงเปลี่ยนรัฐบาลเรื่องดังกล่าวก็เงียบไป
 

สุภัทรา นาคะผิว

กระทั่งเมื่อวันที่ 7 เม.ย.ก็มีข่าวออกมา ว่า สธ.จะผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่ง นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สธ. กล่าวถึงกรณีนี้ ว่า เป็นการเสนอโดยกรมอนามัย และจะต้องนำเสนอ นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข ก่อนที่จะนำเสนอ ครม.ต่อไป เพราะหากจะทำต้องจัดหางบประมาณที่ต่อเนื่องมาใช้จึงจะสามารถลดอัตราการเกิดโรคและเสียชีวิตได้ เนื่องจากสถานการณ์มะเร็งมีความรุนแรงอย่างมาก โดยเบื้องต้นมีการคำนวณราคาอยู่ที่เข็มละ 500 บาท หากต่อรองคาได้ ซึ่งขณะนี้ รพ.เอกชน มีบริการฉีดอัตราเข็มละ 1,000 บาท อย่างไรก็ตาม หากวัคซีนได้รับการจัดเป็นนโยบายสาธารณะ ก็จะต้องบริการเด็กหญิงอายุตั้งแต่ 12 ปี ซึ่งแต่ละปีจะต้องฉีดให้ประมาณ 4 แสนคน หากรัฐบาลสามารถจัดหาวัคซีนได้ในราคาถูก ก็จะสามารถขยายอายุในการฉีดในเด็กอายุ 13-15 ปี ที่ยังไม่เคยรับวัคซีนได้ด้วย 

แม้เรื่องนี้จะไม่มีต้นสาย ปลายเหตุที่ชัดเจน ว่า ถูกรื้อขึ้นมาปัดฝุ่นอีกครั้งได้อย่างไร แต่ ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการ HITAP ยังยืนยันเช่นเคย ว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งยังเป็นวิธีที่ดี และมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากัน นั่นหมายความว่า รัฐบาลไม่จำเป็นที่จะต้องไปเสียค่าใช้จ่ายเพื่อนำเข้าวัคซีนแต่อย่างใด และ สธ.เคยขอดูผลการศึกษาที่ชัดเจนด้วยแล้วว่า ไม่มีข้อมูลจากการทดลองทางคลินิกถึงประสิทธิผลของวัคซีนในการลดอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกในระยะยาว (เกินกว่า 10 ปี) เพราะประชากรกลุ่มแรกที่ได้รับวัคซีน ยังอยู่ในระหว่างการตรวจติดตาม ทำให้ไม่ทราบแน่ชัดว่าการฉีดวัคซีน 1 คอร์ส (จำนวน 3 เข็ม) จะสามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ตลอดอายุขัยหรือไม่ และยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะต้องฉีดซ้ำอีกครั้งเมื่อใด

ด้าน สุภัทรา นาคะผิว ประธานคณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ มองว่า ที่ผ่านมา ประชาชนทั้งเด็กและผู้ใหญ่รับรู้ข้อมูล ว่า มะเร็งปากมดลูกมีความอันตราย แต่ที่เหนือจากข้อมูลเชิงสุขภาพ กลับถูกกรอกหูด้วยความตื่นกลัว จึงอาจเป็นไปได้ว่า หลายคนเริ่มตื่นตัวพาบุตรหลานเข้ารับบริการที่ รพ.เอกชน แต่ยืนยันว่า ที่ผ่านมา มีการพูดคุยเชิงวิชาการหลายเวที ว่า มีความไม่เหมาะสม ซึ่งสมัยรัฐบาลที่แล้ว มีการเสนอแค่เข็มละ 120-150 บาท ยังถูกปฏิเสธ เนื่องจาก สธ.ได้รับข้อมูลจาก HITAP แล้ว ว่า ไม่มีความคุ้มค่า และยังต้องดำเนินการตรวจคัดกรองต่อเนื่อง ซึ่งตนตั้งข้อสงสัยว่า อาจเป็นเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทยา และแพทย์พาณิชย์ที่เห็นแก่ได้ เพราะขณะนี้มีการเสนอราคาสูงกว่าเดิมถึง 350 บาทต่อเข็ม แสดงว่า อาจมีเงื่อนงำ

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนกินอยู่อย่างถูกสุขลักษณะ และป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีอื่น รวมทั้งคัดกรองต่อเนื่อง ยังดีกว่า เสียประโยชน์แก่บริษัทยา และเพือเป็นการเฝ้าระวัง รวมทั้งรักษาประโยชน์สาธารณะ คณะกรรมการและภาคีเครือข่ายจะจับตาดูสถานการณ์ต่อไป อย่างใกล้ชิด โดยอาจจะมีการยื่นเรื่องให้ รมว.สธ.รับทราบถึงข้อคัดค้าน ก่อนที่ข้อเสนอวัคซีนจะเข้าสู่ ครม. 

จะกล่าวไปแล้วแม้แรงคัดค้านจะเข้มแข็งเพียงใด ทว่า รัฐบาลยุคนี้ ก็มีวาระลับซ่อนเร้นมากมาย ที่ผุดนโยบายหลายต่อหลายอย่างให้ทึ่งกันมาแล้ว ดังนั้น วาระวัคซีนป้องกัน HPV อาจเป็นอีกเรื่องที่ต้องจับตาต่อไป