search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6526098
การเปิดหน้าเว็บ:9369955
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  สธ.คาดสมุนไพรไทย ดึงเงินเข้าประเทศ 30,000 ล้าน
  30 เมษายน 2555
 
 


วันที่: 30 เมษายน 2555
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์

สาธารณสุขขยายบริการด้านการแพทย์แผนไทย การใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ รักษาอาการเจ็บป่วย เพื่อพร้อมก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 คาดเมื่อไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ยาสมุนไพรจะดึงเงินเข้าประเทศไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท
 
วันนี้ (30 เม.ย.) ที่ จ.นครราชสีมา นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดสัมมนาวิชาการบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุขจำนวน 120 คนจาก 17 จังหวัดในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรื่องยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ กับมุมมองจากทฤษฎีการแพทย์ไทยและข้อมูลเอกสารทางวิชาการ จัดโดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2555 เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์รู้จักตำรับยาสมุนไพรไทยในบัญชียาหลักแห่งชาติ สร้างความเข้าใจและสร้างความเชื่อมั่นต่อการแนะนำและการสั่งจ่ายยาสมุนไพรแก่ผู้รับบริการ ลดผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียน

อย่างไรก็ตาม การรวมกลุ่มสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศไปสู่เขตเศรษฐกิจเดียวหรือที่เรียกว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี พ.ศ. 2558 และเปิดเขตเสรีทางการค้าอาเซียน หรืออาฟตา AFTA (AFTA : ASEAN Free Trade Area) เป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกของประเทศสมาชิกร่วมกันสร้างพลังต่อรองด้านเศรษฐกิจ การค้าและสังคมกับเขตประชาคมเศรษฐกิจอื่นๆ ซึ่งทุกประเทศต้องเร่งพัฒนาจุดแข็งด้านสินค้าและบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐานสามารถแข่งขันในตลาดเสรี ไทยจัดว่าเป็นประเทศมีทรัพยากรและภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยอยู่มาก การก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทย จะทำให้การเจรจาทางการค้าที่รวมถึงตลาดยาสมุนไพร อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น โดยคาดการณ์ว่าในช่วงปีดังกล่าวประเทศไทยจะสามารถดึงการค้าอุตสาหกรรมที่ใช้ยาสมุนไพรเข้าประเทศได้ไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท

นพ.สุรวิทย์กล่าวต่อว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในการส่งเสริมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับ เพื่อสนับสนุนการเติบโตของแพทย์แผนไทยและอุตสาหกรรมยาสมุนไพร ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเตรียมขยายการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เริ่มตั้งแต่ปี 2555 โดยตั้งเป้าภายในปี 2558 ไว้ ดังนี้ 1. ประชาชนได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในปีถัดไป 2. เพิ่มรายการยาสมุนไพรเข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติจาก 75 รายการเป็น 100 รายการ 3. สถานบริการที่เป็นศูนย์บริการด้านการแพทย์แผนไทยและมีแพทย์แผนไทยประจำเพิ่มขึ้นจาก 200 แห่งเป็น 800 แห่ง มีบริการทั้งยาสมุนไพร นวดประคบ และฝากครรภ์ 4. ร้อยละ 50 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีบริการแพทย์แผนไทยพื้นฐาน เน้นการใช้ยาสมุนไพรพื้นฐานและบริการนวดไทย และครบทุกแห่ง คือ 9,750 แห่งภายในปี 2558

ด้าน รศ.ดร.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองคณบดีฝ่ายแผนและพัฒนาคุณภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนการค้าเสรี หรือเอฟทีเอ (FTA) กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อพัฒนาจุดแข็งยาสมุนไพรไทย 3 ประการ ได้แก่ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปธรรม การพัฒนาโรงงานผลิตยาด้วยเทคโนโลยีทันสมัย และการสร้างความเข้าใจในหลักการของการแพทย์และสมุนไพรไทย เพิ่มความน่าเชื่อถือทั้งบุคลากรทางการแพทย์และผู้บริโภค ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา

ในปี 2555 นี้ ได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาสมุนไพร เพื่อลดผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าอาฟต้า ด้วยสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ มีกิจกรรม 3 ส่วน ประกอบด้วย 1. การพัฒนาการผลิตยาสมุนไพรไทยทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันสูงขึ้นและการพึ่งตนเองทางด้านยารักษาโรค มีผู้ประกอบการผลิตยาสมุนไพรภาคเอกชนร่วมโครงการ 60 คน และภาครัฐ 50 คน 2. การศึกษาวิจัยทางคลินิกตำรับยาครีมไพลสกัด และการวิจัยพัฒนารูปแบบตำรับยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติอีก 8 ตำรับ ได้แก่ ตรีผลา ไฟประลัยกัลป์ ริดสีดวงมหากาฬ สหัศธารา ประสะจันทร์แดง ประสะไพล เบญจกูล และยาบำรุงโลหิต 3. การส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรไทยในบัญชียาหลักแห่งชาติในทุกภาคส่วน เพื่อการพึ่งตนเองทางด้านยารักษาโรค และการปกป้องตลาดยาภายในประเทศ โดยนำเสนอผลงานวิจัยที่สนับสนุนการใช้ตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทยซึ่งดำเนินการโดยนักวิจัยไทย โดยเฉพาะตำรับยาหอมนวโกฐและอินทรจักร ยาแก้ไข้จันทลีลา ยาแก้ท้องเสียยาเหลืองปิดสมุทร รวมทั้งข้อมูลการวิจัยด้านเภสัชวิทยา พิษวิทยา และการศึกษาทางคลินิกของยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ และยังได้จัดทำคู่มือการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติจำนวน 19 ตำรับ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์