search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6526062
การเปิดหน้าเว็บ:9369916
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  สธ.พัฒนาวิธีตรวจสารพันธุกรรม เพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง
  14 พฤษภาคม 2555
 
 


วันที่: 14 พฤษภาคม 2555
ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000059085

สธ.พัฒนาวิธีตรวจสารพันธุกรรม ป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง เจ๋ง สามารถทดแทนการใช้น้ำยาสำเร็จรูปที่มีราคาแพงและต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการตรวจ เผยระหว่างปี 2527-2553 มีรายงานผู้ป่วยที่มีอาการผื่นแพ้ยาร้ายแรง ซึ่งรวมถึงชนิดกลุ่มอาการสตีเวนส์ จอห์นสัน และท็อกซิก อิพิเดอร์มอล เนโครไลซิส ประมาณ 6,965 ราย และเสียชีวิต 260 ราย

น.พ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า การใช้ยาเพื่อรักษาโรคในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดการแพ้ยาที่ใช้ได้ บางรายอาจเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง ซึ่งรวมถึงกลุ่มอาการสตีเวนส์ จอห์นสัน (Steven-Johnson syndrome เรียกชื่อย่อว่า SJS) และท็อกซิก อิพิเดอร์มอล เนโครไลซิส (toxic epidermal necrolysis เรียกชื่อย่อว่า TEN) โดยผู้ป่วยที่แพ้ยาชนิดนี้จะมีผื่นขึ้นตามลำตัว หรือมีการหลุดลอกของผิวหนัง รวมทั้งมีการอักเสบของเยื่อบุต่างๆ และความผิดปรกติของระบบอวัยวะสำคัญต่างๆ ร่วมด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดหรือถึงแก่ชีวิตได้ ทั้งนี้ระหว่างปี พ.ศ. 2527-2553 ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยแพ้ยาร้ายแรงชนิด SJS/TEN ประมาณ 6,965 ราย และเสียชีวิต 260 ราย รายการยาที่สงสัยที่มีการรายงานมาก 10 อันดับแรก ได้แก่ ยาโคไตรม็อกซาโซล (Co-trimoxazole) ยาคาร์บามาซีพีน (Carbamazepine) ยาแอลโลพูรินอล (Allopurinol) ผลิตภัณฑ์ที่มีเนวิราปีนเป็นส่วนประกอบ (Nevirapine Containing product) ยาเฟนิทอยน์ (Phenytoin) ยาอะม็อกซีซิลิน (Amoxicillin) ยาฟิโนบาร์บิทอล (Phenobarbital) ยาไอบู โปรเฟน (Ibuprofen) ยาไรแฟมพิซิน (Rifampicin) และยาไอโซไนอะซิด (Isoniazid) ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอย่างน้อย 20,000 ถึงมากกว่า 100,000 บาทต่อราย ยังไม่รวมการสูญเสีย ทางเศรษฐกิจที่ผู้ป่วยเสียโอกาสในการทำงานกรณีที่พิการ และกรณีเกิดการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย

ผลการวิจัยทางเภสัชพันธุศาสตร์ พบว่า การแพ้ยาสัมพันธ์กับการมี HLA อัลลีล (allele) บางชนิดในพันธุกรรม ดังนั้นจึงมีการตรวจ HLA อัลลีลก่อนการให้ยา โดยผู้ที่มีอัลลีล ชนิดเสี่ยงควรเลี่ยงไปใช้ยาตัวอื่นแทน

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวต่ออีกว่า งานวิจัยในประชากร ของประเทศไทย พบว่า ผู้ป่วยที่มี HLA-B*1502 allele มีความเสี่ยงต่อการเกิด SJS/TEN จากยาคาร์บามาซีพีน (Carbamazepine) เพิ่มขึ้น 55 เท่า องค์การอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกา (US FDA) แนะนำให้ผู้ป่วยที่มาจากประเทศแถบเอเชียที่จำเป็นต้องได้รับยาคาร์บามาซีพีน ควรตรวจหา HLA-B*1502 อัลลีลก่อนเริ่มให้ยาเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะ SJS/TEN ต่อยาคาร์บามาซีพีน และผู้ป่วย ที่จำเป็นต้องได้รับยาแอลโลพูรินอล หากมี HLA-B*5801 อัลลีล จะเสี่ยงต่อการเกิด SJS/TEN เพิ่มขึ้นถึง 348 เท่า

อย่างไรก็ตาม การตรวจสารพันธุกรรม HLA-B* 1502 , HLA-B*5801 และ HLA-B*5701 เป็นวิธี การตรวจที่มีความสำคัญในการป้องกันภาวการณ์เกิดผื่นแพ้ยารุนแรง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ได้ดำเนินการพัฒนาวิธีการตรวจสารพันธุกรรม HLA-B* 1502 , HLA-B*5801 และ HLA-B*5701 ด้วยวิธี allele specific PCR เพื่อทดแทน การใช้น้ำยาสำเร็จรูปที่มีราคาแพงและต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการตรวจและได้ถ่ายทอดเทคนิค วิธีการตรวจดังกล่าวให้แก่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ในส่วนภูมิภาค เพื่อให้บริการ ตรวจครอบคลุมทั้งประเทศ นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งเครือข่ายเภสัชพันธุศาสตร์ เพื่อหายีนเสี่ยงต่อการแพ้ยารุนแรง SJS/TEN (THAISCAR) สำหรับยาที่ยังไม่มีรายงาน