มี ระบบและกลไกลที่เข้มแข็งในการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาอย่างรอบด้าน พร้อมส่งสัญญาณเตือนภัยเรื่องอันตรายจากยาในมิติต่าง ๆ ผ่านการสื่อสารสาธารณะ สร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของชุมชนทุกภาคส่วนอย่างเข้มแข็ง นำไปสู่การสร้างและจัดการองค์ความรู้ ตลอดจนขับเคลื่อนเชิงนโยบายและโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 3 ปี
ยุทธศาสตร์หลักของแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้
1. การสร้างและจัดการองค์ความรู้
2. พัฒนาการทดลองรูปแบบกลไกการจัดการความเสี่ยงจากยาแบบครบวงจร (Social monitoring and intervention) เพื่อพัฒนาให้เกิดศูนย์เฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (Drug System Monitoring and Development Centre, DMDC)
3. ส่งเสริมความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา
4. การสื่อสารสาธารณะ
5. การผลักดันนโยบาย แผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบยา และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ยุทธศาสตร์ที่1 การสร้างและจัดการองค์ความรู้
การประมวลผลงานวิจัยและจัดทำฐานข้อมูลวิจัยและสถานการณ์ของระบบยา
การสนับสนุนการศึกษาวิจัยเฉพาะกิจที่สำคัญ
อาศรมความคิดระบบยา (การประชุมเสวนาของผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าใน
ประเด็นเดียวกัน หรือเรื่องที่ใกล้เคียงกันในรูปสหสาขาวิชาเพื่อให้เกิดการ
พัฒนาต่อไป)
สนับสนุนการถอดบทเรียนประสบการณ์
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาการทดลองรูปแบบกลไกการจัดการความเสี่ยงจากยาแบบครบวงจร
(Social monitoring and intervention)
เพื่อพัฒนาให้เกิดศูนย์เฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (Drug System Monitoring and Development Centre, DMDC)
การพัฒนาเครื่องมือสำหรับชี้วัดสถานการณ์ระบบยา
ส่งเสริมการพัฒนาระบบเฝ้าระวังความเสี่ยงจากยาในชุมชน และภาคีเครือข่าย
สนับสนุนให้เกิดการทดลองรูปแบบการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา
(ตัวอย่าง ชุดโครงการธรรมาภิบาลระบบยา (รับทุนองค์การอนามัยโลก บางส่วน) ชุดโครงการจริยธรรมและการส่งเสริมการขายยา ชุดโครงการด้านการใช้ยาที่เหมาะสม ชุดโครงการด้านการเข้าถึงยา เป็นต้น)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา
การหนุนเสริมบทบาทเครือข่ายวิชาการ วิชาชีพ
ได้แก่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งกลุ่มวิชาการ วิชาชีพ เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวัง
ติดตามกำกับ และพัฒนาระบบยา การสนับสนุน การสร้างความเข้าใจ และ
รับรู้สภาพปัญหาชุมชน การแลกเปลี่ยนดูงาน ฝึกอบรม
การเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายประชาสังคม
ได้แก่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มทางสังคมต่าง การสนับสนุนกิจกรรม และการส่งต่อองค์ความรู้สู่ประชาสังคม
การเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายทุกระดับ
ได้แก่การเชื่อมโยงเครือข่ายในประเทศ ทั้งภาครัฐ สถาบัน ภาคีเครือข่าย
วิชาการ และเครือข่ายภาคประชาสังคม รวมทั้งการเชื่อมต่อประสานกับ
ต่างประเทศ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่นการสัมมนา ประชุม แลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ ศึกษาดูงาน ในประเด็นของการสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนา
ระบบยา ในระดับต่าง ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสื่อสารสาธารณะ
มาตรการส่งสัญญาณเตือนภัยเรื่องยาสู่สังคม (Social warning)
การแถลงข่าว (Press conference)
การประชุมวิชาการระบบยาประจำปี
การจัดทำรายงานสรุปสถานการณ์ระบบยาประจำปี
การจัดทำจดหมายข่าว ยาวิพากษ์ ร่วมกับกลุ่มศึกษาปัญหายา
มาตรการสื่อมวลชนสัมพันธ์
ได้แก่ การสร้างการรับรู้และตระหนักในปัญหาเรื่องยาของสื่อมวลชน และการสนับสนุนข้อมูลวิชาการแก่สื่อมวลชน
มาตรการรณรงค์เผยแพร่
ได้แก่ การสนับสนุนการผลิตสื่อ และ สนับสนุนกิจกรรมทั้งในสถาบัน และกิจกรรมสู่สาธารณะ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การผลักดันนโยบาย แผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบยา และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาวิเคราะห์ด้านกฎหมาย และนโยบาย
สร้างกลไกการติดตามความเคลื่อนไหวและการสื่อสารนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การผลักดัน เสนอและปรับปรุงกฏหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง
พัฒนาและผลักดันนโยบายแห่งชาติด้านยา และแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบยา |