ค้นหาภายในเว็บไซต์
สถิติ
ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6604594
การเปิดหน้าเว็บ:9454471
Online User Last 1 hour (0 users)
กระจิบท้องเสีย
สื่อความรู้สำหรับเด็กมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุผล สนับสนุนการตีพิมพ์โดยแผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)
กุ๊กไก่เป็นหวัด ฉบับ 2 ภาษา
หนังสือนิทานให้่ความรู้เด็กในการดูแลตนเองเมื่อเป็นหวัด โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ฉบับ 2 ภาษา (ไทยและอังกฤษ) เรื่องโดย เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป (ตุ๊บปอง) ภาพโดย นฤมล เสือแจ่ม (na-ru)
กุ๊กไก่เป็นหวัด
สื่อความรู้สำหรับเด็กมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล สนับสนุนการตีพิมพ์โดยแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.)
เกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทย
เกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทย ประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้วโดยนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง เกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2558
เกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยา
การรณรงค์จริยธรรมในการส่งเสริมการขายยา เป็นกิจกรรมสำคัญในการร่วมกันสร้างระบบการใช้ยาที่เหมาะสมของทุกประเทศทั่วโลก
ขบวนการสานต่อ หนึ่งศตวรรษยืนหยัดเพื่อสังคม: เสม พริ้งพวงแก้ว
นายแพทย์เสม พริ้มพวงแก้ว เป็นต้นแบบของคนที่ยืนหยัดในอุดมคติแห่งชีวิต และอุดมการณ์เพื่อสังคมได้อย่าง มั่นคงตลอดชีวิต เป็นสัญลักษณ์ทางคุณธรรมอันเป็นที่จดจำของคนรุ่นหลัง
ข้อเข่าเสื่อมรักษาได้โดยไม่ต้องใช้ยา
บทวิจารณ์คำพิพากษาศาลปกครองกลางที่เรียกกันทั่วไปว่าคดีกลูโคซามีน (Glucosamine) นี้ เป็นแบบอย่างการวิเคราะห์และวิจารณ์คำพิพากษาและการทำหน้าที่ของศาลที่ดีเด่นที่สุดชิ้นหนึ่ง ทั้งยังกล่าวได้ว่าเป็นงานวิจัยทางกฎหมายปกครองที่มีคุณค่า น่านำไปค้นคว้าหาทางพัฒนาให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง ทั้งในทางกฎหมาย ระบบงานยุติธรรมทางปกครอง และการบริหารจัดการที่ดีทางด้านสาธารณสุขต่อไปอีกด้วย
คู่มือประชาชน นักร้อง(เรียน)
เนื้อหาภายในเล่มเป็นเทคนิคซึ่งประชาชนผู้บริโภคสามารถนำไปใช้ในการเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องสงสัยในชุมชนของตนเอง นอกจากนี้ได้นำเสนอวิธีการรวบรวมข้อมูล พยานหลักฐานต่างๆ อย่างถูกต้องเหมาะสมก่อนร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ในการแสวงหาข้อมูลต่างๆ ซึ่งจะทำให้สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปดำเนินงานต่อได้อย่างทันเหตุการณ์
ถอดบทเรียน นพย. นักรบแนวหน้า: ผู้นำการจัดการปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมในสังคม
จัดทำขึ้นเพื่อสรุปผลงานและบทเรียนการทำงานของ นพย. ซึ่งก็คือผู้เข้าอบรมโครงการพัฒนาผู้นำเครือข่ายในการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาระบบยาของแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (ระยะที่ 1) แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา และแผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (ระยะที่ 2 และระยะที่ 3) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า แผนงาน กพย. โดยดำเนินงานร่วมกับ ชมรมเภสัชชนบท ภายใต้การสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ทุกข์ล้นเหลือ เหยื่อโฆษณา 1
หนังสือเล่มที่ 1 ในชุด รู้ทันสื่อโฆษณายา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ จากเหตุการณ์จริงของผู้บริโภคที่ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา จนต้องสูญเสียทรัพย์สินและยังเกิดอันตรายต่อสุขภาพของตน
ทุกข์ล้นเหลือ เหยื่อโฆษณา 2
หนังสือเล่มที่ 2 ในชุด รู้ทันสื่อโฆษณายา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวบรวมข้อมูลจากเหตุการณ์จริงของผู้บริโภคที่ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา หลงเชื่อไปซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นมาใช้ จนกระทั่งต้องสูญเสียทรัพย์สินและยังก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วย
แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน
แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (Rational Drug Use Community: RDU Community) จัดทำโดยคณะทำงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและปลอดภัยในชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานในชุมชน ที่จะต้องมีความเชื่อมโยงกันระหว่าง 5 กิจกรรมหลักอย่างเป็นระบบ
ปฏิทิน กพย. พ.ศ. 2554
ปฏิทินประจำปี 2554 รูปบนปฏิทินนี้เป็นผลงานของผู้เข้าร่วมโครงการ "สานศิลปในป่าสวย..เพื่อบุคลากรทางการแพทย์" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้เกิดการใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม
ปฏิบัติการมัดไม้ซีกไปงัดไม้ซุง
หนังสือชุด บทเรียนเครือข่ายการจัดการยาไม่เหมาะสมในชุมชน เล่มที่ 1
โดย ภก.ภาณุโชติ ทองยัง และเครือข่ายเภสัชกรไม้ซีก 13 จังหวัด
ผศ.ภญ.สำลี ใจดี "คนดีของแผ่นดิน"
รางวัลเกียรติยศ "คนดีของแผ่นดิน" ผศ.ภญ.สำลี ใจดี เบื้องหลังปฏิมาสาธารณสุข
เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2552
รางวัลเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2552 ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร
เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2553
รางวัลเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2553 ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร
เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2554
รางวัลเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2554 ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ ภก.ภาณุโชติ ทองยัง สสจ.สมุทรสงคราม
เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2555
รางวัลเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2555 ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี
เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2556
รางวัลเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2556 ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ ภญ.ศิริพร จิตรประสิทธิศิริ รพ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา
เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2557
รางวัลเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2557 ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ ภญ.อัจฉรา เอกแสงศรี รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม
เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2558
รางวัลเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2558 ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ ภก.วัฒนา ตั้งเกียรติกำจาย
เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2559
รางวัลเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2559 ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ ภก.จิระ วิภาสวงศ์ และรางวัลทีมเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2559 ทีมที่ได้รางวัลได้แก่ กลุ่มเภสัชกร สสจ. ขอนแก่น
เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2560
เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2560 ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ ภญ.รุ่งทิวา หมื่นปา และรางวัลทีมเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ได้แก่ กลุ่มเภสัชกร สปสช.
เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2561
เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2561 ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ ภก.เด่นชัย ดอกพอง และรางวัลทีมเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ได้แก่ กลุ่มเภสัชกร สสจ.สงขลา
เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2565
เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2565 ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ ภญ.อรพินท์ พุ่มภัทรชาติ รพ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และรางวัลทีมเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ได้แก่ ทีมเภสัชกรกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สสจ.พัทลุง
เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2566
เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2566 ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ ภญ.สุภาวดี เปล่งชัย รพ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด และรางวัลทีมเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ได้แก่ ทีมเภสัชกรกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สสจ.ศรีสะเกษ
ยากับความรับผิดชอบต่อสังคม
ปัจจุบันคนไทยกำลังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงในการใช้ยา ซึ่งนำไปสู่ความเจ็บป่วยและการทำลายสุขภาพในหลายมิติ ปัจจัยเสี่ยงจากการเข้าไม่ถึงยา มูลค่าการใช้ยามากเกินความจำเป็น
รายงานการถอดบทเรียน การจัดการปัญหายาอันตรายในชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ
อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ พื้นที่ที่สามารถพัฒนา ?พื้นที่ต้นแบบร้านชำปลอดยาอันตราย? ขึ้นมาได้สำเร็จ จนได้รับรางวัล ?ตำบลต้นแบบ?ของจังหวัดศรีสะเกษในปี ๒๕๕๓ นำไปสู่การขยายผลให้มีการจัดการยาอันตรายในร้านชำทั้งอำเภอ รวมถึงอำเภออื่นๆของจังหวัดศรีสะเกษด้วยที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงนี้หาใช่ ?ไฟไหม้ฟาง? แต่ยังดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องยั่งยืน
รายงานสถานการณ์ระบบยา ประจำปี 2552
ในปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธความสำคัญของยา อันเนื่องมาจากความสำคัญที่มีผลค่อสุขภาวะของประชาชน ความมั่นคงและความยั่งยืนของการพึ่งตนเองทาง สุขภาพของประเทศ ระดับสถานพยาบาล หรือแม้กระทั่ง จำนวนเงินในกระเป๋าของผู้บริโภคแต่ละคน
รายงานสถานการณ์ระบบยา ประจำปี 2553
นำเสนอสถานการณ์เชื้อดื้อยาในประเทศไทย; ภาพรวมมูลค่ายาปฏิชีวนะ; สถานการณ์อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาปฏิชีวนะ; กรณี ตัวอย่างสถานการณ์จากพื้นที่และปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาปฏิชีวนะ; ประสบการณ์ดีๆ จาก การรณรงค์แก้ปัญหาเชื้อดื้อยา และข้อเสนอเพื่อใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาปัญหา การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเป็นระบบต่อไป
รายงานสถานการณ์ระบบยา ประจำปี 2554
รายงานสถานการณ์ระบบยาประจำปี 2554 เป็นผลพวงที่เกิดขึ้นจากการร่วมกันขับเคลื่อนของภาคีเครือข่าย หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง และแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) เพื่อเสนอสถานการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภาพรวมของระบบยาหรือวงจรยา ในช่วงปี พ.ศ. 2552-2554 โดยสะท้อนปัญหาควบคู่กับการการพัฒนาทุกด้านของระบบยา ได้แก่สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานโยบายแห่งชาติด้านยา การคัดเลือกยา การจัดหายา การกระจายยา และการใช้ยา ตั้งแต่ระดับนโยบาย ระดับภูมิภาค ระดับสถานพยาบาล และระดับชุมชน
รายงานสถานการณ์ระบบยา พ.ศ. 2555-2559
กพย. ริเริ่มจัดทำเป็นครั้งแรกเป็นเล่มประจำปี พ.ศ. 2552 โดยดำริว่าจะจัดทำเป็นรายปีในทุกๆปี จึงมีเล่มที่ 2 และ 3 คลอดออกมาเป็นเล่มประจำปี พ.ศ. 2553 และ 2554 ตามลำดับ แต่ด้วยข้อจำกัดหลายประการ ประกอบกับทีมงานเห็นว่าการจัดทำรายงานสถานการณ์ในลักษณะข้ามปีจะทำให้เห็นภาพสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง จึงตกลงกันว่าจะจัดทำรายงานสถานการณ์ช่วงระยะเวลา 5 ปี
วิพากษ์ร่าง พ.ร.บ. การวิจัยในมนุษย์ พ.ศ. ...
ผู้เขียน: นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน
การพัฒนายาใหม่ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบยาและในกระบวนการพัฒนายาใหม่ หัวใจสำคัญคือการทดลองยาในมนุษย์ ดังนั้น การส่งเสริมหรือควบคุมใดๆ ที่จุดนี้ จึงมีความจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นจริยธรรมการวิจัย เพราะมีความหมายทั้งการคุ้มครองสิทธิผู้เข้าร่วมการวิจัยและสิทธิผู้ป่วย ความปลอดภัย และประสิทธิผลของยา...
ส่งต่อความรู้ สู่วิถีใหม่ หยุดภัยเชื้อดื้อยา
เอกสารความรู้สำหรับเด็กและเยาวชน โครงการพัฒนาสื่อส่งเสริมความรู้ ด้านเชื้อดื้อยาและสร้างความตระหนักด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม สําหรับเด็กและเยาวชน (ภายใต้แผนปฏิบัติการสื่อสารเพื่อการส่งเสริมความรู้ด้านเชื้อดื้อยา และสร้างความตระหนักด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม แก่ประชาชน ปี 2564-2565) โดย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) และสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สิทธิบัตรยา เล่ห์อุบายการผูกขาด
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล เรียบเรียงจากการประชุมวิชาการอาศรมความคิดระบบยา ครั้งที่ 1 "พัฒนาการด้านทรัพย์สินทางปัญญา: ผลกระทบต่อการเข้าถึงยาของคนไทยและทางออก" โดย รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์
อย่าปล่อยให้สเตียรอยด์ลอยนวล
เรื่องเล่าเฝ้าระวังยาไม่ปลอดภัยในชุมชนของคนทำงานคุ้มครองผู้บริโภค
ในนามเครือข่ายเภสัชสาธารณสุข เขต 5 อันได้แก่จังหวัด สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
๓๐ ปี พัฒนาการนโยบายแห่งชาติด้านยาของไทย
หนังสือ ๓๐ ปี พัฒนาการนโยบายแห่งชาติด้านยาของไทย ตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ครั้งแรกในงาน หนึ่งคนยืนหยัด หนึ่งศตวรรษ เสม พริ้งพวงแก้ว