search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6515133
การเปิดหน้าเว็บ:9358130
Online User Last 1 hour (0 users)



วิสัยทัศน

มีระบบและกลไกที่เข้มแข็งในการเฝ้าระวังระบบยาอย่างรอบด้านที่ทำงานต่อเนื่อง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านยาของประชาชน และส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลทุกระดับ

เป้าหมาย

เป้าหมายหลัก คือ การพัฒนาเครือข่ายภาคีให้เป็นกลไกที่เข้มแข็งในการเฝ้าระวังระบบยาอย่างรอบด้าน และส่งสัญญาณเตือนภัยปัญหาจากยา โดยมุ่งพัฒนาระบบยาเพื่อประชาชน ที่สำคัญ 5 เรื่อง ได้แก่

เป้าหมายที่ 1:

การเข้าถึงยา ได้แก่ นโยบายควบคุมราคายา และนโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่มีผลกระทบต่อการเข้าถึงยา ภาคีหลักที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข ด้วยการประสานงานกับภาคีวิชาการ และเครือข่ายประชาสังคม (เช่น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ FTA Watch, BIOTHAI) ทำการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวในระดับสากลสู่ระดับชุมชน การสำรวจสถานการณ์ราคายาของประเทศไทย และเผยแพร่ให้รับรู้กว้างขวาง ศึกษาวิจัยและจัดการความรู้ที่สำคัญของระบบควบคุมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (พระราชบัญญัติยา พระราชบัญญัติสิทธิบัตร) และเผยแพร่สู่สาธารณะเพื่อการรับรู้และเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน โดยเฉพาะการแก้ไขพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ

เป้าหมายที่ 2:

การลดปัจจัยเสี่ยงด้านยา ด้วยการขับเคลื่อนให้มียาที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีประสิทธิผล ได้แก่ ให้เกิดการถอนทะเบียนตำรับยาที่ไม่เหมาะสม ด้วยการดำเนินการตามนโยบายทบทวนทะเบียนตำรับยา ตลอดจนการเกิดระบบการขึ้นทะเบียนตำรับยาที่เข้มแข็ง ภาคีหลักที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นกลไกควบคุมหลักของระบบ ด้วยการประสานงาน จัดการสื่อสารทางนโยบาย ร่วมในคณะทำงานทางวิชาการ นำเสนอสถานการณ์ในชุมชนโดยอาศัยภาคีวิชาการ (คภ.สสส.) วิชาชีพ (ชมรมแพทย์ชนบท ชมรมเภสัชชนบท) และเครือข่ายประชาสังคม เป็นกลไกเฝ้าระวัง จัดการความรู้ สื่อสารสาธารณะ

เป้าหมายที่ 3:

นโยบายด้านการผลิตยาชื่อสามัญและการใช้ชื่อสามัญทางยา เพื่อให้มีนโยบายดังกล่าวในสถานบริการสุขภาพ และให้ประชาชนเข้าใจและตระหนักในเรื่องดังกล่าว ภาคีหลักที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงสาธารณสุขในฐานะหน่วยให้บริการ หน่วยวิชาการและหน่วยสนับสนุน กองทุนหลักประกันสุขภาพทั้งสามแห่ง ในฐานะหน่วยงานด้านการเงินการคลัง ด้วยการประสานงานกับภาคีวิชาการ วิชาชีพ เครือข่ายผู้ป่วย และเครือข่ายประชาสังคม เพื่อเผยแพร่ชุดความรู้ กิจกรรมการรณรงค์กระตุ้นความตื่นตัว

เป้าหมายที่ 4:

การส่งเสริมการใช้ยาที่สมเหตุผล ได้แก่ เกณฑ์จริยธรรมในการยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม (พัฒนาเกณฑ์ระดับประเทศ นำไปสู่การเผยแพร่ และประยุกต์ใช้) นโยบายเชื้อ ดื้อยา และ ข้อเสนอจัดตั้งกองทุนเฝ้าระวังระบบยาและการส่งเสริมส่งเสริมการใช้ยาที่สมเหตุผล ภาคีหลัก ได้แก่ องค์กรบริหารกองทุนสุขภาพทั้ง 3 กองทุน ภาคการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ องค์กรวิชาชีพ (แพทยสภา สภาเภสัชกรรม) กระทรวงสาธารณสุข (หน่วยบริการทุกระดับ)

เป้าหมายที่ 5:

การพัฒนาระบบยาชุมชน โดยผ่านจังหวัดต้นแบบ ภาคีหลักที่เกี่ยวข้อง คือ หน่วยงานระดับจังหวัด องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ด้วยการประสานงานกับภาคีวิชาการ วิชาชีพ เครือข่ายผู้ป่วย และเครือข่ายประชาสังคม เป็นงานเชิงบูรณาการที่ประสานเป้าหมายที่ 1 ถึง 4 ในระดับท้องถิ่นหรือระดับชุมชน ร่วมกับภาคีส่วนกลาง และภาคีอื่น ๆ

 

ดูพันธกิจและยุทธศาสตร์ของ กพย. ในอดีต (ระยะที่ 1)