search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6518111
การเปิดหน้าเว็บ:9361342
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  อย.คุมเข้มยาเสียสาว “จีเอชบี-อัลปราโซแลม”
  27 มกราคม 2556
 
 


วันที่: 27 มกราคม 2556
ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000010925


    
       อย.เตือนผู้หญิง ระวังยาเสียสาว “จีเอชบี-อัลปราโซแลม” ชี้ ไร้สีไร้กลิ่น ทำให้ระวังตัวยาก คุมเข้มยกระดับเป็นกลุ่มควบคุมพิเศษห้ามใช้ทุกกรณี และวัตถุออกฤทธิ์ฯประเภท 2 ตามลำดับ

       วันนี้ (27 ม.ค.) นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีข่าวการจับยาเสียสาว “จีเอชบี” ว่า จีเอชบี จัดเป็นกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ ประเภทที่ 1 ตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 คือ ห้ามจำหน่าย ห้ามใช้ และห้ามนำเข้าประเทศ หากใครละเมิดจะมีโทษจำคุก 5-20 ปี และปรับตั้งแต่ 1-4 แสนบาท ทั้งนี้ ในอดีตยาดังกล่าวมีฤทธิ์ในการกดประสาทให้หลับ จึงใช้เป็นยาสลบในทางการแพทย์ แต่มีผลข้างเคียง หากใช้ปริมาณมากจะทำให้บางคนชักและอาจเสียชีวิตได้ จึงได้ยกเลิกการใช้ และยกระดับเป็นกลุ่มควบคุมพิเศษที่ห้ามใช้ทุกกรณี รวมทั้งทางการแพทย์ แต่กลับนำมาใช้ในทางที่ผิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องระวังกันทุกฝ่าย
       
       นพ.บุญชัย กล่าวอีกว่า นอกจากจีเอชบีแล้ว ยังมียาที่น่าเป็นห่วง ว่า มีการใช้ในทางที่ผิดอีกตัว คือ ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam) ซึ่งจริงๆ เป็นยาที่ใช้เพื่อคลายกังวลในผู้ป่วย แต่กลับนำมาใช้ในทางที่ผิดมากขึ้น จึงได้มีการพิจารณาเพื่อยกระดับ จากวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 4 เป็นประเภท 2 ลงนามในประกาศตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 พฤศิจายน 2555 โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 17 มิถุนายน 2556 นี้ โดยระหว่างนี้ได้ทำหนังสือเวียนเพื่อให้ร้านขายยา และคลินิก ส่งยาคืนแก่ผู้ผลิตให้หมดก่อนวันที่ 16 มิถุนายนนี้ เนื่องจากเดิมทีอนุญาตให้ร้านขายยาที่มีใบอนุญาตจำหน่ายได้ โดยต้องมีใบสั่งแพทย์ ซึ่งกลุ่มนี้มีไม่มากร้อยละ 10 แต่นับจากนี้จะไม่อนุญาตอีกต่อไป โดยจะให้ใช้ยาดังกล่าวได้เฉพาะในสถานพยาบาลของรัฐ และของเอกชนที่มีใบอนุญาตเท่านั้น ซึ่งจะควบคุมคล้ายๆ กับยาแก้หวัดสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองตัวจัดเป็นกลุ่มออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด ที่สำคัญเป็นยาที่ไม่มีสีไม่มีกลิ่น จึงระวังตัวยากมาก เพราะไม่สามารถสังเกตหรือดมได้ ดังนั้น ขอเตือนให้ระมัดระวังมากเป็นพิเศษโดยเฉพาะผู้หญิง
       
       ด้าน ภก.ประพนธ์ อางตระกูล ผู้อำนวยการควบคุมวัตถุเสพติด อย.กล่าวว่า การยกระดับยาดังกล่าวเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 2 นั้น ได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 17 มิถุนายน นี้ ดังนั้น ในช่วงนี้ยาอัลปราโซแลมจะยังถือว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 4 อยู่ โดยจะมีเวลาให้ร้านขายยาทยอยคืนยานี้ไปยังบริษัทผู้ผลิต และบริษัทผู้นำเข้า หากพ้นการประกาศใช้ ยังพบว่าร้านขายยาใดครอบครองยาดังกล่าวจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายทันที โดยมีโทษจำคุก 5-20 ปี หรือปรับ 1-4 แสนบาท