|
|
|
|
สถิติ
|
ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6447118 การเปิดหน้าเว็บ:9254347 Online User Last 1 hour (0 users)
|
|
 |
|
|
|
|
ชะลอก่อสร้างรง.ผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ |
|
|
|
18 กุมภาพันธ์ 2556
|
|
|
|
วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2556 ที่มา: ไทยโพสต์ ออนไลน์ ลิงค์: www.thaipost.net/news/180213/69742
หมอวิทิต เผย ชะลอการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หลังผู้รับเหมาก่อสร้างของบเพิ่มเกือบ 100 ล้านบาท อ้างราคาอุปกรณ์เพิ่ม แถมยืดระยะเวลาทำงานอีก 18 เดือน ขณะที่ อภ.คำนวณแล้วให้ได้ 46 ล้านบาท ระบุรอข้อสรุป 22 ก.พ.นี้
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่ ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ว่าขณะนี้ต้องชะลอการก่อสร้างออกไปก่อน เนื่องจากทางบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างได้มีการเปลี่ยนตัวผู้บริหาร 2-3 คนแล้ว ซึ่งในการเปลี่ยนตัวผู้บริหารแต่ละครั้งก็ต้องเชิญมาชี้แจงเรื่องการก่อสร้างโรงงานดังกล่าว ล่าสุดทางบริษัทผู้รับเหมาได้ร้องขอให้ทาง อภ.เพิ่มงบประมาณการก่อสร้างอีกหลายสิบล้านบาท เพราะเห็นว่าราคาที่ตกลงกันอยู่นั้นไม่คุ้ม ขณะที่ที่ปรึกษาของ อภ.ทั้งในและต่างประเทศคำนวณแล้วเห็นว่า อัตราค่ารับเหมา 40 กว่าล้านบาทถือว่าเพียงพอแล้ว ดังนั้นจึงได้ให้เวลาทางบริษัทผู้รับเหมาตัดสินใจและให้คำตอบกลับมาอีกครั้งว่าเขาจะเดินหน้าโครงการต่อหรือไม่
นพ.วิทิตกล่าวต่อว่า ขณะนี้การก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่คืบหน้าไปได้ 53% แล้ว ยังเหลือการติดตั้งระบบภายในและการติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ ซึ่งสั่งนำเข้ามาประมาณ 98% แล้ว หากสามารถตกลงกับทางบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างได้ก็จะทำการติดตั้งไปพร้อมๆ กันทั้งหมด
ด้าน ภก.สมชาย ศรีชัยนาค รอง ผอ.อภ. กล่าวว่า เนื่องจากโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ต้องมีการทบทวนรูปแบบการก่อสร้าง เพื่อให้ได้มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก เพราะฉะนั้นทางบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง เอ็ม พลัส ดับเบิลยู (ไทยแลนด์) จำกัด จึงได้เสนอค่าใช้จ่ายในการทบทวนแบบก่อสร้างเพิ่มเติมมาประมาณ 99 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าอุปกรณ์ ค่าติดตั้ง ประมาณ 60 ล้านบาท และอีกส่วนเป็นค่าใช้จ่ายจากการก่อสร้างที่ต้องทำงานเพิ่มอีกประมาณ 18 เดือน
ทั้งนี้ จากการหารือกันแล้ว ค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้นจากระยะเวลาการทำงานที่เพิ่มเป็น 18 เดือนนั้นไม่ได้ระบุอยู่ในสัญญา ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของผู้รับเหมา ดังนั้น อภ.จึงไม่สามารถตัดสินใจได้เองว่าจะอนุมัติให้หรือไม่ ส่วนค่าอุปกรณ์ที่ได้กำหนดราคาเอาไว้ในสัญญานั้น ทางบริษัทระบุว่าราคาดังกล่าวหาซื้อไม่ได้แล้ว ต้องใช้ราคาตามตลาดจึงเสนอราคามาประมาณ 60 ล้านบาท แต่ทาง อภ.หารือกันแล้วคิดว่าราคาที่เหมาะสมอยู่ที่ 46 ล้านบาทเท่านั้น
ดังนั้นในโอกาสที่กรรมาธิการสาธารณสุขได้ลงพื้นที่ตรวจสอบการก่อสร้างโรงงานดังกล่าวเมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา พร้อมด้วยบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง จึงได้มีการหารือและทำการต่อรองราคาให้ตามที่คำนวณได้ โดยผู้จัดการของบริษัทรับเหมาดังกล่าวรับข้อเสนอไปหารือกับบริษัทแม่ที่เยอรมนี และนัดให้คำตอบเป็นลายลักษณ์อักษรในวันที่ 22 ก.พ.นี้
ค่าใช้จ่ายที่เขาขอเพิ่มอยู่นอกเหนือจากที่ระบุเอาไว้ในสัญญา อาจจะต้องหารือกับสำนักงบประมาณ หรือกรมบัญชีกลาง แต่เรื่องค่าอุปกรณ์ต้องว่าตามข้อเท็จจริง ว่าราคาในสัญญาเป็นอย่างไร ราคาตลาดเป็นอย่างไร ก็เสนอมาแล้วเราจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ภก.สมชายกล่าว และว่า อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้โครงการดังกล่าวสะดุด ขณะนี้มีการเตรียมหาบริษัทรับเหมาก่อสร้างสำรองไว้ แต่ถ้าตอบตกลงก็ใช้เวลาในการเตรียมคน เตรียมงานต่างๆ ประมาณ 1 เดือน ก็สามารถเดินหน้าก่อสร้างต่อได้.
|
|
|
|
|
|