search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6604605
การเปิดหน้าเว็บ:9454482
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  สธ.มอบ “ราชวิทยาลัย” ทำบัญชียา-เวชภัณฑ์ รับมือภาวะฉุกเฉิน
  06 มีนาคม 2556
 
 


วันที่: 6 มีนาคม 2556
ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000027901



       สธ.สั่งการบ้านราชวิทยาลัยต่างๆ จัดทำบัญชียาและเวชภัณฑ์จำเป็นในภาวะฉุกเฉิน เน้นกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและต้องได้รับยาต่อเนื่อง คาดแล้วเสร็จ พ.ค.56
       
       นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมหารือเรื่องการจัดระบบสำรองยาและเวชภัณฑ์ในภาวะฉุกเฉิน และจัดทำเป็นศูนย์การสำรองยาระดับประเทศครั้งแรก ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หน่วยงานวิชาการ และราชวิทยาลัยต่างๆ เมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา เบื้องต้นในการจัดระบบยาและเวชภัณฑ์ให้เพียงพอในภาวะฉุกเฉินนั้น จะต้องสำรองอย่างน้อย 1-2 เดือนขึ้นไป และหากมีการสำรองยาแล้วประมาณ 6 เดือน แต่ไม่เกิดเหตุวิกฤตหรือภัยธรรมชาติใดๆ ที่ส่งผลต่อระบบยา อภ.จะทำหน้าที่ในการลำเลียงยาดังกล่าวไปใช้ในสถานพยาบาล เพื่อไม่ให้เกิดการค้างสต๊อกยา
       
       นพ.วิทิต กล่าวอีกว่า ในส่วนของรายชื่อบัญชียาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็น ที่ประชุมมีข้อสรุปให้ราชวิทยาลัยต่างๆ กลับไปจัดทำบัญชียาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นและต้องใช้อย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ เช่น ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย จำเป็นต้องล้างไตผ่านช่องท้อง ต้องฟอกเลือด จึงต้องมีการสำรองน้ำเกลือ โดยการจัดทำบัญชีรายชื่อยาคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน พ.ค.2556 ส่วนงบประมาณในการจัดทำระบบยังไม่ได้หารือในรายละเอียด
       
       นพ.ประทีบ ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า เมื่อราชวิทยาลัยต่างๆ ได้จัดทำบัญชียาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นในภาวะฉุกเฉินแล้วเสร็จ จะเสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาและคัดกรองจัดทำเป็นบัญชียาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นในอันดับต้นๆ โดยมอบให้ นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เป็นประธานคณะทำงานในการคัดกรองบัญชีดังกล่าว เบื้องต้นยาที่จำเป็นจะเน้นยาในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และโรคที่ต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่อง อาทิ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ต้องใช้น้ำยาล้างช่องท้องและฟอกเลือด ผู้ป่วยเอดส์ที่ต้องใช้ยาต้านไวรัส ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องได้รับอินซูลีน รวมไปถึงผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิต เป็นต้น นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องสำรองยาและเวชภัณฑ์ที่ใช้ในห้องผ่าตัดด้วย เช่น การดมยา และเครื่องมือทดแทนการทำงานของหัวใจ ซึ่งในผู้ป่วยหัวใจบางกรณีต้องใช้เครื่องมือดังกล่าว หากเสียจำเป็นต้องมีเครื่องทดแทนทันที