search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6512306
การเปิดหน้าเว็บ:9355267
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  แนะทำโมเดลสำรองยาฉุกเฉินดูความคุ้มค่า
  12 มีนาคม 2556
 
 


วันที่: 12 มีนาคม 2556
ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000030010    



       ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ชี้สำรองยาภาวะฉุกเฉิน ต้องพิจารณาระยะเวลาว่าจะเกิดยาวนานเพียงใด ย้ำหากสต๊อกมากเกินไปจะไม่คุ้มค่า เล็งทำโมเดลภาวะฉุกเฉินหลากรูปแบบ กะปริมาณสำรองยา
       
       ศ.นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาบัญชียาที่จำเป็นต้องสำรองในภาวะฉุกเฉิน กล่าวว่า ขณะนี้กำลังหารือว่าการสำรองยาในภาวะฉุกเฉิน จะจำกัดความอย่างไรบ้าง เนื่องจากโดยปกติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือภัยธรรมชาติ ทางโรงพยาบาลต่างๆ จะมีการสำรองยาล่วงหน้า 1 เดือน เนื่องจากรถขนส่งจะไม่สามารถเดินทางได้สะดวก ทำให้จะขนส่งยาได้เดือนละครั้ง ด้วยเหตุนี้ต้องพิจารณาว่า หากเกิดเหตุฉุกเฉินจะส่งผลให้โรงพยาบาลขาดยามากน้อยเพียงใด และใช้เวลายาวนานเท่าใด อย่างภาวะน้ำท่วมก็ต้องพิจารณาว่าจะเกิดซ้ำเหมือนปี 2554 หรือไม่ และหากเกิดจะยาวนานเท่าใด เพราะจะได้เก็บกักยาได้ถูก เนื่องจากหากสต๊อกยามากเกินไป แต่ไม่ได้ใช้ก็จะส่งผลในเรื่องความคุ้มค่าอีก

       “ปัญหาเหล่านี้จึงมีแนวคิดว่าควรมีการทำแบบจำลอง หรือโมเดลกรณีหากเกิดภัยพิบัติ หรือภาวะฉุกเฉินในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำท่วม หรือภัยธรรมชาติอื่น ซึ่งหากเกิดขึ้นในระยะเวลา 1 เดือน 2 เดือน หรือมากกว่านั้นจะส่งผลอย่างไรบ้าง และต้องสำรองยาในปริมาณเท่าใด รวมถึงกลุ่มยาชนิดใดบ้างที่ต้องสำรอง ซึ่งก็ต้องพิจารณาว่าในผู้ป่วยกลุ่มไหนจำเป็นที่สุด เรื่องนี้คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง” ศ.นพ.เกรียง กล่าว และว่า นอกจากนี้จะต้องพิจารณาด้วยว่า หากเกิดเหตุฉุกเฉิน และต้องสำรองยา จะใช้วิธีสั่งซื้อนำเข้าทางอากาศ หรือทางเรือ หรือสำรองภายในประเทศ สิ่งเหล่านี้อาจต้องใช้แบบจำลองในการคาดการณ์ความคุ้มค่าด้วย