search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6604640
การเปิดหน้าเว็บ:9454518
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  แค่ ม.ค.เดือนเดียวจับคนทำผิดด้านอาหาร ยา คสอ.ถึง 61 ราย
  27 มีนาคม 2556
 
 


วันที่: 27 มีนาคม 2556
ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000037211


    
       อย.เผย ม.ค.เดือนเดียวจับผู้กระทำผิดได้ถึง 61 ราย มูลค่ากว่า 6 แสนบาท พบทำผิดทั้งด้านอาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ ชี้การโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณยังครองแชมป์การทำผิด ขณะที่อาหารยังพบปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
       
       ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า อย.ได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติต่างๆ ในช่วง ม.ค.ที่ผ่านมา ดังนี้ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 จำนวน 28 ราย พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 จำนวน 29 ราย พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2531 จำนวน 2 ราย และพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 จำนวน 2 ราย รวมทั้งสิ้น 61 ราย คิดเป็นมูลค่า 604,200 บาท โดยกรณีอาหารมักพบการนำเข้าจากต่างประเทศ พบสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในบล็อกโคลี และผักกาดขาว นอกจากนี้ ยังพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง และเครื่องมือแพทย์ทางสื่อต่างๆ ในลักษณะโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงและไม่ได้ขออนุญาตโฆษณา เช่น ช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินที่ดำคล้ำ ทำให้ผิวขาว เปล่งปลั่ง ช่วยเพิ่มขนาดหน้าอก ยกกระชับ ลดอ้วนไขมัน กระชับสัดส่วน ลดคอเลสเตอรอลไม่เสี่ยงโรคหัวใจ เบาหวาน เป็นต้น
    
       ภญ.ศรีนวล กล่าวอีกว่า ขณะที่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมักแสดงฉลากไม่ถูกต้อง บางผลิตภัณฑ์เข้าข่ายการโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาตและหลอกลวงโอ้อวดเกินจริง ส่วนผลิตภัณฑ์ยามักโฆษณาในลักษณะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดสรรพคุณครอบจักรวาล มีการขายยาอันตรายในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ ด้านผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ มีการโฆษณาร้อยไหมโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โฆษณาโดยใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง
       
       “ขอเตือนประชาชนอย่าซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้ขออนุญาตจาก อย. ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ และอย่าหลงเชื่อการโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองแล้ว ยังไม่ได้ผลตามที่อวดอ้าง และอาจได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์หรือเสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม อย.ได้ดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ต่างๆ ในความรับผิดชอบสม่ำเสมอ โดยผู้สนใจสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้กระทำผิดพร้อมรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ www.fda.moph.go.th คลิกผลการดำเนินคดี เพื่อเป็นข้อมูลในการเฝ้าระวัง และหากพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องขออนุญาตจาก อย. แต่ไม่ขออนุญาต หรือโฆษณาหลอกลวง ขอให้ร้องเรียนมายังสายด่วน อย.โทร. 1556” รองเลขาธิการ อย.กล่าว