search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6517364
การเปิดหน้าเว็บ:9360518
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แค่ชื่อก็ผิด ก.ม.
  28 กรกฎาคม 2556
 
 


วันที่: 28 กรกฎาคม 2556
ที่มา: เดลินิวส์ ออนไลน์
ลิงค์: www.dailynews.co.th/article/728/221991



โฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงของผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ เครื่องสำอางต่าง ๆ ที่อ้างว่าขาว ผอม ฟิต สวย ที่เกลื่อนกลาดอยู่ในสื่อวิทยุชุมชน เคเบิลทีวี และเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก เวลานี้เป็นประเด็นที่ประชาชนไต่ถามหน่วยงานรัฐว่าทำไมถึงควบคุมกันไม่ได้สักที ทั้ง ๆ ที่เป็นตัวบ่อนทำลายสุขภาพคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างร้ายกาจ

ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า จากการวิเคราะห์มิติด้านกฎหมาย พบว่า มีการใช้ข้อความต้องห้าม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยา พบความผิดตาม พ.ร.บ.ยา2510 หลายมาตรา ทั้งข้อ ความโอ้อวดว่าสามารถบำบัดบรรเทา เช่น รักษาหรือป้องกันโรค หายจากความเจ็บป่วยแบบหายขาด ศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีผลข้างเคียง ช่วยฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น แสดงสรรพคุณยาอันเป็นเท็จหรือเกินจริง เช่น มีพลังอย่างน่าตื่นตาตื่นใจในการขับไล่เลือด ช่วยกระชับมดลูก คืนความสาว เป็นต้น การแสดงสรรพคุณยาอันตรายหรือควบคุมพิเศษ เป็นต้น และเมื่อตรวจสอบพบว่าโฆษณาในกลุ่มดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตจาก อย.ในการโฆษณาอีกด้วย สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร พบว่าเกือบทั้งหมดนำเสนอข้อความโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ หรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร เช่น ดื่มแล้วได้ผลตั้งแต่ขวดแรก ช่วยทำลายเซลล์มะเร็ง เซลล์เนื้องอก ทำลายไขมัน เป็นต้น

สำหรับมิติด้านการใช้และผลิตซ้ำค่านิยมทางสุขภาพ ความงาม เพศ พบว่า มักมีการใช้ภาษาหรือถ้อยคำที่แสดงสรรพคุณที่เป็นสำนวน สร้างค่านิยมในแบบต่าง ๆ และใช้ภาษาที่อวดอ้างสรรพคุณ เช่น “มีน้ำมีนวล” “นกเขาไม่ขัน” “ฟิตกระชับหุ่นเฟิร์ม” “อกโตเต่งตึง” “มั่นใจไร้กลิ่น” “ทั้งใหญ่ ทั้งแข็งดี ทนนาน” เป็นต้น

โดยส่วนใหญ่ของโฆษณาที่ทำการศึกษา จะเน้นในเรื่องสุขภาพและสมรรถภาพทางเพศผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่าจากการทำงานร่วมกับมีเดียมอนิเตอร์ ทำการศึกษาโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย และสร้างค่านิยมที่ไม่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสิทธิและสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการโฆษณาเกินจริง หลอกลวง ที่ปัจจุบันพบว่ามีผู้เสียหายและร้องเรียนจำนวนมาก การศึกษาครั้งนี้ ทำการสุ่มเลือกสปอตวิทยุกระจายเสียง โดยการศึกษาได้ทำการสืบค้นโฆษณาที่เผยแพร่ซ้ำด้วยการใช้เว็บไซต์ google.co.th, youtube.com และ 4shared.com ระหว่างวันที่ 11-15 มี.ค.56 โดยพบไฟล์เสียงสปอตวิทยุที่เผยแพร่ในช่วงปี 2555-2556 จำนวน 67 ชิ้นสปอต จาก 48 ผลิตภัณฑ์ ได้ทำการถอดไฟล์เสียงเพื่อวิเคราะห์ สามารถแยกได้เป็น ผลิตภัณฑ์ยา และอาหาร ตามที่สามารถเปรียบเทียบจากพระราชบัญญัติต่าง ๆ อาทิ พ.ร.บ.ยา พ.ร.บ.อาหาร หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ เป็นต้น

“หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องหามาตรการตั้งแต่การตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ ที่ต้องขออนุญาต การควบคุมการเผยแพร่โฆษณา การปราบปรามยุติการเผยแพร่ สร้างหลักเกณฑ์ในทางจริยธรรมและการกำกับดูแลกันเองของสื่อในด้านการโฆษณาผลิตภัณฑ์รวมทั้งบริการด้าน อาหาร ยา สุขภาพ ความงาม และการปรับปรุงกฎหมายเพื่อเพิ่มบทลงโทษให้มากขึ้นและเกิดการบังคับใช้จริง” ผศ.ดร.ภญ.นิยดา กล่าว

จากปัญหาที่นำไปสู่การแก้ไขกฎหมายนั้นรัฐบาลเองไม่กระตือรือร้นนักถ้าเทียบกับพ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือก.ม.หลายตัวที่เป็นเรื่องคาใจมาตั้งแต่รัฐบาลหลายชุด ในการทำงานของหน่วยงานอย.ที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรงได้หันมาใช้

วิธีการทำงานเชิงให้ความรู้กับผู้ประกอบการมากขึ้นด้วยการให้มีโครงการส่งเสริมจริยธรรมสถานประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขึ้นโดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2552 มอบรางวัล อย.ควอลิตี้ อวอร์ด ให้แก่สถานประกอบการที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ได้มาตรฐานและปลอดภัย โดยมีหลักเกณฑ์สำคัญต้องเป็น ประกอบการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม มีกิจกรรมแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น การให้ความรู้กับผู้บริโภค การดูแลสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมกิจกรรมที่พัฒนาด้านสังคม คุณธรรม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สำหรับอย. ควอลิตี้ อวอร์ดปี 2556 มีผู้ประกอบการ 32 รายได้รับรางวัลนี้ อาทิ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา บริษัทธนากรผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช จำกัด ได้รางวัลสถานประกอบการด้านอาหาร บริษัท อ้วยอันโอสถ จำกัด บริษัท ไบโอแลป จำกัด ได้รางวัลสถานประกอบการด้านยา เป็นต้น

“เชื่อว่ารางวัลนี้ จะมีส่วนช่วยในการการันตีให้กับผู้บริโภคได้เห็นว่า หน่วยงานอย.จะช่วยเป็นหูเป็นตาในการควบคุมคุณภาพสินค้าทุกประเภทให้อยู่ในระดับมาตรฐาน” ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาระบุ

แม้การทำงานในเชิงรุกของอย.ยังไม่ ทันกับสินค้าที่พยายามหลบเลี่ยงก.ม.เวลานี้ แต่อย. ควอลิตี้ อวอร์ดก็จะเป็นข้อมูลเล็ก ๆ ให้กับผู้บริโภคได้ในการเลือกซื้อหาสินค้า.