search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6517701
การเปิดหน้าเว็บ:9360886
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  สัตวแพทย์ จุฬาฯ หนุนยกยาสงบสัตว์ “ไซลาซีน” หลังพบใช้มอมคนรูดทรัพย์
  21 ตุลาคม 2556
 
 


วันที่: 21 ตุลาคม 2556
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000131933     



       จุฬาฯ ชี้ยกระดับ “ไซลาซีน” เป็นยาควบคุมพิเศษ ทำให้สัตวแพทย์ใช้งานยากขึ้น แต่ถือว่าเป็นเรื่องดีเพราะมีการควบคุมเข้มขึ้น เหตุเป็นยาที่มีอาการข้างเคียง อย.คาดไม่นำมาใช้กับคนเพราะอาจมีโทษ จึงพัฒนาใช้ในสัตว์เท่านั้น
       
       วันนี้ (21 ต.ค.) ที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.น.สพ.มาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางยาสลบในสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าว เรื่อง “Xylazine : ยารักษาสัตว์หรืออาชญากรรม” ว่า ไซลาซีนเป็นยาสงบประสาทในสัตว์ คณะสัตวแพทย์ จุฬาฯ เริ่มใช้มานานกว่า 40 ปี เพื่อบังคับสัตว์ใหญ่ สัตว์เล็กที่ดุร้าย และสัตว์ที่ต้องการรักษาแล้วไม่ยอม เพื่อให้สัตวแพทย์เข้าถึงตัว โดยใช้การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เข้ากล้ามเนื้อ และเข้าใต้ผิวหนัง ทั้งนี้ ยาดังกล่าวมีฤทธิ์ระงับปวด ทำให้สัตว์ซึมหรือหลับ มีผลต่อการทำงานหลายระบบของร่างกาย นรวมถึงยังมีฤทธิ์หย่อนกล้ามเนื้อ ทั้งนี้ การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำจะทำให้หัวใจเต้นช้าและความดันเลือดสูงในระยะ 5-10 นาทีแรกก่อนจะมีความดันเลือดต่ำ
       
       “ส่วนตัวไม่เคยพบรายงานทางวิชาการว่ามีการนำไซลาซีนมาใช้กับคน หากเป็นยากลุ่มนี้ที่ใช้ในคนจะเป็นยาโคลลิดีน ซึ่งใช้เป็นยาลดความดัน แต่ไม่แน่ใจว่ายังมีการใช้หรือไม่ เพราะเป็นยาที่เก่ามาก แต่เมื่อห้องปฏิบัติการ รพ.รามาธิบดียืนยันว่าเป็นไซลาซีน บวกกับการให้การของผู้ต้องหา จึงน่าจะเป็นไซลาซีนที่นำมาใช้ก่อเหตุปลดทรัพย์ญาติและผู้ป่วยในโรงพยาบาลจริง” ศ.น.สพ.มาริษศักร์ กล่าวและว่า การใช้ยานี้ในสัตว์ใช้ในรูปแบบฉีดเท่านั้น ไม่เคยใช้รูปแบบกิน แต่ยาที่ใช้ในสัตว์ส่วนใหญ่เป็นยาคน เพราะก่อนที่จะนำยามาใช้กับคนมีการทดลองในสัตว์มาก่อน
       
       ศ.น.สพ.มาริษศักร์ กล่าวอีกว่า ยาตัวนี้ไม่ใช่ยาสลบ แต่เป็นยาสงบประสาทที่มีฤทธิ์ค่อนข้างรุนแรงกว่าตัวอื่น ถ้าใช้ปริมาณมากอาจทำให้หลับได้ เพราะฉะนั้น ลักษณะการสงบประสาท จึงเป็นกึ่งสลบ ตามคลินิกใช้ยาตัวนี้ในการเย็บแผลและใส่เฝือกได้ แต่ไม่จัดเป็นการสลบแค่หลับลึกกว่าปกติ หาก อย.ยกระดับเป็นยาควบคุมพิเศษ อาจจะทำให้สัตวแพทย์มีการใช้ยานี้ลำบากขึ้น และต้องเสียเวลาในการทำรายงานการใช้ทุกเดือน แต่ถือเป็นการดีที่มีการควบคุมเข้มขึ้นสัตวแพทย์จะได้มีการะวังการใช้มากขึ้น เนื่องจากการใช้ในสัตว์เองก็มีผลข้างเคียงที่ต้องระมัดระวัง
       
       ภญ.พิสชา ลุศนันท์ หัวหน้ากลุ่มยาสัตว์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า จากการสืบค้นการขึ้นทะเบียนของ อย.ไม่มีการขึ้นทะเบียนการใช้ยานี้ในคน ใช้สำหรับสัตว์เท่านั้น มีการขึ้นทะเบียนกับ อย. 9 ตำรับ ในรูปแบบฉีด ซึ่งปัจจุบันจัดเป็นยาอันตรายสามารถซื้อได้ในร้านขายยาที่มีเภสัชกร แต่ในวันที่ 30 ต.ค.นี้ คณะกรรมการยาจะพิจารณาว่าจะยกระดับเป็นยาควบคุมพิเศษตามที่คณะอนุกรรมการควบคุมยาในสัตว์เห็นชอบก่อนหน้านี้หรือไม่ ทั้งนี้ จากการที่ไม่มีการขึ้นทะเบียนยานี้สำหรับใช้ในคน อาจเป็นไปได้ว่าไม่มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อใช้กับคน แสดงว่าน่าจะมีการทำให้เกิดโทษ จึงพัฒนาให้ใช้เฉพาะในสัตว์เท่านั้น โดยพบอาการข้างเคียง เช่น หัวใจเต้นช้า ผิดจังหวะ ปัสสาวะมาก และควาดดันโลหิตต่ำ เป็นต้น