search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6646669
การเปิดหน้าเว็บ:9506990
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  อึ้ง! กินยารักษาสิวบ่อย เสี่ยงเชื้อดื้อยา
  24 มีนาคม 2557
 
 


วันที่: 24 มีนาคม 2557
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000032797
     

    
        อึ้ง! รักษาสิวจ่ายยาแก้อักเสบ “อะม็อกซิซิลลิน” บ่อยๆ กินนานเกินกว่าสัปดาห์ เสี่ยงเชื้อดื้อยาได้ ผู้จัดการ กพย.ชี้อันตรายหากเจ็บป่วยจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่มนี้ ต้องใช้ยาแรงขึ้น หากไม่มีก็ไม่มียารักษา ระบุระดับโลกเตรียมถกประชุม เม.ย.-พ.ค.

        ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า เมื่อไม่นานมานี้มีรายงานข่าวจากประเทศอังกฤษ ว่า โรงพยาบาลเซ็นทรัลแมนเชสเตอร์พบเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งจนทำให้มีคนเสียชีวิตไปแล้วราว 16 คน ซึ่งกรณีดังกล่าวมาจากการใช้ยาเกินความจำเป็นโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ ขนาดประเทศที่พัฒนาแล้วยังพบปัญหาดังกล่าว ประเทศไทยแทบไม่ต้องพูดถึง เพราะมีปัญหานี้มานาน และไม่มีหน่วยงานควบคุมดูแลที่ชัดเจน ไม่มีการติดตามตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ และไม่มีการติดตามว่าผู้เสียชีวิตที่เกิดจากการดื้อยามีมากน้อยแค่ไหน เพราะส่วนใหญ่จะระบุสาเหตุการเสียชีวิตว่าติดเชื้อจากปอดบวม ฯลฯ เป็นหลัก ทั้งที่ควรมีหน่วยงานของรัฐมาดูแลเรื่องนี้ เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานาน แต่ไม่มีคนสนใจ
       
        “ทุกวันนี้เรากินยาปฏิชีวนะ หรือยาแก้อักเสบ กันบ่อยมาก ทั้งที่ไม่จำเป็น ยิ่งตามคลินิกเสริมความงามที่รักษาสิวมักจะให้ยาปฏิชีวนะ เรียกว่า ยาอะม็อกซิซิลลิน (Amoxicillin) ซึ่งไม่แน่ชัดว่ายาชนิดนี้จะแก้ปัญหาสิวอย่างไร หรือสามารถแก้สิวอักเสบได้ ซึ่งจริงๆ แล้ว หากจะทำให้ทุเลาก็น่าจะเป็นสิวอักเสบที่เป็นหนอง แต่ที่แน่ๆ หากมีการจ่ายยาชนิดนี้และให้รับประทานเกิน 1 สัปดาห์ ติดต่อกันบ่อยๆ ย่อมมีโอกาสเกิดอาการดื้อยาในที่สุด ซึ่งเมื่อเกิดเจ็บป่วยและต้องใช้ยากลุ่มนี้ก็ต้องใช้ยาที่มีฤทธิ์แรงขึ้น หากไม่มีก็จะไม่มียารักษา” ผู้จัดการ กพย. กล่าว
       
        ผศ.ภญ.นิยดา กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทยาไม่นิยมผลิตยากลุ่มปฏิชีวนะแล้ว เนื่องจากไม่คุ้มทุน เพราะยากลุ่มนี้มักใช้ในประเทศกำลังพัฒนา ราคาจะสูงมากไม่ได้ จึงเป็นเรื่องยากที่จะผลิตหรือวิจัยยาใหม่ๆ อีก ทางเดียวที่จะทำให้มียาใช้ต่อไปคือ ต้องควบคุมการใช้ยาจุดนี้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาดื้อยาปฏิชีวนะ เกิดขึ้นทั่วโลก โดยแต่ละประเทศให้ความสำคัญกันหมด ล่าสุดระหว่าง เม.ย. - พ.ค.นี้ นักวิชาการด้านเชื้อดื้อยาจากนานาประเทศจะมีการประชุมหารือปัญหาเชื้อดื้อยาระดับโลก ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยตนได้รับเชิญไปหารือด้วยเช่นกัน ซึ่งคาดว่าจะทำให้ทราบถึงสถานการณ์เรื่องนี้ และแนวทางในการควบคุม เพื่อเสนอต่อภาครัฐของตนต่อไป