search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6515466
การเปิดหน้าเว็บ:9358488
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  เจาะปัญหา "เภสัชฯ แขวนป้าย" เผยทางออกอยู่ที่ "ประชาชน"
  05 มิถุนายน 2557
 
 


วันที่: 5 มิถุนายน 2557
ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์
ลิงค์: www.thairath.co.th/content/427313



ยังคงเป็นปัญหาในเชิงวิชาชีพ สำหรับ "เภสัชกรแขวนป้าย" หรือการรับจ้างเป็นเภสัชกรร้านขายยา แต่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่จ่ายยาจริงในร้านดังกล่าว ตามเวลาที่กำหนดเอาไว้ เพียงแค่มีชื่อเป็นเภสัชกรประจำร้านเท่านั้น ซึ่งจนถึงวันนี้ก็ยังมีให้พบเห็นกันอยู่...

"ไทยรัฐออนไลน์" ลงพื้นที่สำรวจร้านขายยา ย่านบางนา จำนวนทั้งสิ้น 10 ร้าน พบร้านที่มีเภสัชกรประจำ 7 ร้าน อีก 3 ร้าน เป็นบุคคลอื่น หรือ เจ้าของร้านเอง (สังเกตเบื้องต้นจากเสื้อกาวน์สั้นที่สวม และมีป้ายชื่อตรงกับป้ายติดในร้าน แจ้งชื่อเภสัชกรประจำร้าน)

ถึงแม้จะมีพระราชบัญญัติเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 รวมทั้งบันทึกข้อตกลง เรื่องการส่งเสริมการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมของเภสัชกรในร้านยาของภาคีที่เกี่ยวข้อง หรือล่าสุด กฎกระทรวงว่าด้วย การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 โดยหากพบว่า เภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติในร้านยาท่านใด ละเลยการไปปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ที่กำหนดให้เภสัชกรอยู่ประจำตลอดเวลาที่เปิดทำการ จะพิจารณาลงโทษพักใช้ใบอนุญาต ขั้นต่ำ 1 ปี แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังพบปัญหาดังกล่าวอยู่

ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) เปิดเผยกับ "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า ขณะนี้ในประเทศไทย กรณี "เภสัชกรแขวนป้าย" ตัวอย่างที่พบ อาทิ 1. แขวนป้าย แจ้งรายละเอียดว่าไม่อยู่ บอกว่าเวลาใด เบอร์ติดต่อ 2.ปล่อยให้คนอื่นมาจ่ายเงินแทน คือ เภสัชกรไม่อยู่ร้านและยินยอมให้เจ้าของร้าน หรือคนอื่นมาขายยาอันตรายแทนได้ 3. บางคนแขวนป้ายเฝ้าร้านขายยา 2 ที่พร้อมกัน

จากปัญหาสู่ต้นแบบโครงการ "ร้านยาสีขาว" เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค...

ดร.นิยดา กล่าวว่า จากเภสัชกรที่ทำงานอยู่ที่ร้านในต่างจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมีความเป็นห่วงและกังวลกับปัญหาที่เกิดขึ้น ประสานงานกับทาง กพย. จึงเกิดการรวบรวม 10 จังหวัด จัดกิจกรรมรณรงค์มุ่งเน้นให้เภสัชกรในจังหวัดต่างๆ ทำงานประจำร้านยาตลอดเวลาทำการ ชื่อโครงการ "ร้านยาสีขาว" และได้รับเสียงตอบรับที่ดี โดยเฉพาะเครือข่ายผู้ป่วย เครือข่ายประชาชนว่า ทำเช่นนี้ทำให้ประชาชนได้รับการคุ้มครอง ผู้บริโภคที่ได้รับความปลอดภัย และเสียงเห็นค้านก็มีออกมาเช่นกัน โดยล่าสุดยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะมีความต่อเนื่องอย่างไร ต้องหารือกันต่อไป

"ธรรมาภิบาล" ข้อเสนอสำคัญแก้ตรงจุดปัญหา... นอกจากนี้ ดร.นิยดา ยังได้เพิ่มขอเสนอ เรื่อง ธรรมาภิบาลของผู้ควบคุมบังคับใช้กฎหมายว่า อยากจะให้มี Code of conduct (จรรยาบรรณวิชาชีพ) เช่น เภสัชกรที่อยู่ สสจ. ไม่ควรจะไปแขวนป้ายโดยเด็ดขาด หรือไม่ควรจะไปทำหน้าที่หาคนไปแขวนป้าย เป็นการกระตุ้นจิตสำนึก มากกว่าเพียงจริยธรรมการประกอบวิชาชีพ โดยจรรยาบรรณส่วนนี้ มีผู้เกี่ยวข้องทั้งตัวเภสัชกร ร้านยา สภาพวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ภาคการศึกษา ที่สำคัญประชาชนควรจะต้องมีบทบาทอย่างยิ่งในการติดตามเฝ้าระวัง

เพราะ "ประชาชนคือคำตอบ" ของการเฝ้าระวังติดตามประเด็นปัญหา "เภสัชกรแขวนป้าย" ไม่อยู่ที่ความเข้มข้นของกฎหมาย แต่กลับเป็นประเด็นเรื่องของการหลบเลี่ยงกฎหมาย เพราะฉะนั้น หน่วยงานที่จะเฝ้าระวัง ติดตามเป็นเรื่องสำคัญ อยากให้มีมาตรการอื่นๆ ที่เข้มข้นขึ้น แนะนำว่า อยากให้ประชาชนเข้าไปตรวจสอบโดยตรงด้วย สนับสนุนให้ประชาชนติดตามตรวจสอบ หากมีไม่พบเภสัชกรประจำร้าน ให้ทำเรื่องร้องเรียน จับปรับ ส่วนสินบนนำจับ อาจพิจารณามอบเป็นแรงจูงใจเพิ่มแก่ประชาชน แต่ระบบบังคับใช้กฎหมาย (enforcment) ตรวจจับและปรับอย่างจริงจัง ระบบเฝ้าระวังประเทศไทยยังเป็นจุดอ่อนอยู่ เนื่องจากร้านยาขึ้นอยู่ที่ สสจ. แต่ละจังหวัด ต่างคนต่างทำของจังหวัดตัวเอง ควรจะต้องมีหน่วยงานกลางที่จะตรวจสอบดูแลทั้งประเทศให้ครอบคลุมทั่วถึงด้วย


พร้อมกันนี้ ดร.นิยดา ฝากตอนท้ายว่า การจำหน่ายยา (กลุ่มเสริมความงาม ลดความอ้วน) ที่พบกันเกลื่อนมากขึ้น และประชาชนเข้าถึงยาง่ายมาก ซึ่งบางชนิดอันตรายมากนั้น มองว่า กฎหมายนั้นมีข้อบังคับไว้ชัดเจน แต่มีช่องโหว่ตรงที่อินเทอร์เน็ตและโซเซียลเน็ตเวิร์ก จำเป็นต้องแก้ดำเนินการอย่างจริงจัง ทั้งการปิดเว็บไซต์ หรือจับปรับเคร่งครัด แต่ยังพบข้ออ้างจากหน่วยงาน เรื่องที่ไม่มีบุคลากรเพียงพอ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นรูปธรรมได้

พร้อมกันนี้ "ไทยรัฐออนไลน์" ขอพาไปรู้จักกับ "มิตรยาเภสัช" ตัวอย่างร้านยาที่มีเภสัชกรอยู่ประจำ ไม่ได้ "แขวนป้าย" อีกมุมมองของเภสัชกรรุ่นใหม่ มาพร้อมความรับผิดชอบวิชาชีพ น.ส.กาญจนา เกิดสุข เภสัชกรและเจ้าของร้านขายยา มิตรยาเภสัช จ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า ตนเปิดร้านขายยาอยู่ที่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา มาประมาณ 10 เดือน มุมมองแขวนป้าย ประเด็นนี้อยู่ระหว่างจรรยาบรรณกับเงิน ซึ่งแท้ที่จริง วิชาชีพเภสัชกรเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องช่วยเหลือชีวิตคน

ที่เลือกมาเปิดร้านและอยู่ประจำเอง เพราะอยากจะยึดในส่วนของจรรยาบรรณส่วนตัว ซึ่งเป็นร้านขายยาในต่างจังหวัด ที่ประชาชนยังไม่เข้าใจทั้งหมดว่า ควรจะเข้าร้านยาที่มีเภสัชกรประจำอยู่ ขอเริ่มเป็นจุดเล็กๆ ที่จะเห็นข้อแตกต่าง ปลูกฝังว่าการมาซื้อยาจากเภสัชกรจะได้มากกว่า แค่ยาไปกินเอง แต่ได้รับคำแนะนำประกอบไปด้วย มีการแนะนำปฏิบัติตัว ให้ทราบว่าถ้าไม่ได้เป็นโรครุนแรงก็ไม่จำเป็น เพราะบางกรณีเข้ามาขอซื้อยา ไม่ได้จำหน่ายให้ไปก็มี เพราะว่าบางครั้งมองเห็นว่า อาการที่เป็นไม่จำเป็นต้องกินก็ได้

การเข้าถึงยาประเภทเสริมความงามของประชาชนที่ง่ายขึ้น
น.ส.กาญจนา เปิดเผยว่า ตรงนี้จะมียาบางตัว ที่ดีได้รับมาตรฐาน อย.แล้ว แต่ก็มีร้านบิวตี้ต่างๆ ที่ไม่ใช่ร้านยานำมาจำหน่ายด้วย อาจมีแอบอ้างจำหน่วยยาปลอม หรือยาจริงที่มีเลข อย. ปลอม แล้วประชาชนก็ไม่ทราบรายละเอียดตรงนี้ในวงกว้าง

ฝากเพื่อนเภสัชกรว่า สิ่งที่เราเรียนมามีความเป็นวิชาชีพ ดังนั้น เราควรมีจรรยาบรรณ ซึ่งมีค่ามากกว่าเงินทอง ควรจะมีคุณธรรมในการรักษาคนไข้มากกว่าเงินเพียงไม่มาก

แม้จะยังกล่าวได้ว่า แขวนป้ายยังมีให้พบเห็นได้ทั่วไป ประชาชนก็ย่อมได้รับผลกระทบ แต่ควรจะมองมุมกลับกันในส่วนของประชาชน ต้องแสดงสิทธิตัวเองและทำหน้าที่เฝ้าระวัง ปัญหาการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่เฉพาะที่ร้านยาเท่านั้น การกระตือรือร้นที่จะออกมาเรียกร้อง ส่งสัญญาณเตือนภัย ถือเป็นหน้าที่ร่วมกันของทุกคนทั้งสิ้น.