search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6628110
การเปิดหน้าเว็บ:9479204
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  เติมยาแก้ปวดแทนสเตียรอยด์ ระวัง! โรคกระเพาะ-ไตวาย
  28 กรกฎาคม 2557
 
 


ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000084910


    
       ระวัง! อันตรายรูปแบบใหม่ พบพ่อค้าแอบเติมยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID แทนสเตียรอยด์ หลังโดนเฝ้าระวังเข้ม พบแนวโน้มเติมลงในน้ำผลไม้ น้ำสมุนไพรเพิ่มขึ้น อันตรายไม่รู้เติมปริมาณมากเท่าไร ชี้รับดกินขนาดเกิดโรคกระเพาะ ไตวายได้

       ภก.เด่นชัย ดอกพอง โรงพยาบาลขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ขณะนี้การลักลอบเติมสารสเตียรอยด์เริ่มเปลี่ยนไป เนื่องจากมีการเฝ้าระวังในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถสังเกตความผิดปกติเกี่ยวกับการกินผลิตภัณฑ์ที่ผสมสเตียรอยด์ได้บ้างแล้ว เช่น หน้าบวม ตัวบวม หายปวดฉับพลัน เป็นต้น รวมถึงหน่วยงานรัฐยังมีมาตรการเฝ้าระวังและปราบปรามอย่างจริงจัง โดยพบว่า มีการหันไปเติมในผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำผลไม้ น้ำสมุนไพร ที่ขึ้นทะเบียนเป็นอาหารมากขึ้น ที่น่ากังวลคือมีการนำสารตัวอื่นมาเติมแทนสเตียรอยด์ คือ สารกลุ่ม NSAID หรือ กลุ่มยาแก้ปวดชนิดหนึ่งแทน ซึ่งยากลุ่มนี้หากกินในปริมาณมากหรือต่อเนื่องมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการไตวาย และโรคกระเพาะได้
       
       “แม้ว่ากลุ่ม NSAID จะมีอันตรายน้อยกว่า สเตียรอยด์ แต่ถือว่าน่าเป็นห่วงไม่แพ้กัน จากการเฝ้าระวังพบว่า มีการนำไปเติมในสมุนไพรชนิดน้ำ ซึ่งการเติมลงในผลิตภัณฑ์ลักษณะนี้ จะทำให้ไม่สามารถ​ควบคุมปริมาณที่ได้รับยาได้ ต่างจากการกินในรูปแบบเม็ดที่ทราบได้ว่าได้รับยาปริมาณเท่าไรแล้ว อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกินยากลุ่ม NSAID ขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละบุคคลด้วย หากเป็นผู้สูงอายุที่ไตไม่ดีอยู่แล้ว ก็อาจเห็นผลกระทบเร็ว ส่วนคนทั่วไปหากได้รับปริมาณมากก็อาจ 2 - 3 สัปดาห์ ก็สามารถเกิดอาการของโรคไตได้” ภก.เด่นชัย กล่าว
       
       ภก.เด่นชัย กล่าวอีกว่า การเติมยากลุ่ม NSAID ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตนั้น ถือเป็นการผลิตยาปลอม จะมีโทษเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวถือเป็นอันตรายที่ต้องเฝ้าระวังเพิ่ม โดยเฉพาะ NSAID ที่นำมาเติมอย่างไม่ถูกต้องแบบนี้ ถือเป็นเรื่องยากในการป้องกัน เพราะต้องนำตัวอย่างที่สุ่มตัวอย่างตรวจ ส่งที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และประชาชนยังไม่สามารถเฝ้าระวังได้เองด้วยการสังเกตจากอาการภายนอก เหมือนเรื่องสเตียรอยด์ได้ แต่ในเครือข่ายเฝ้าระวัง ยังคงสุ่มตัวอย่างอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ​จากแหล่งขาย เช่น รถเร่ พระ วิทยุชุมชน ยังเป็นช่องทางที่พบการขายผลิตภัณฑ์ที่มีการปลอมปนสารที่เป็นอันตรายมาก