|
|
|
|
สถิติ
|
ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6628130 การเปิดหน้าเว็บ:9479224 Online User Last 1 hour (0 users)
|
|
|
|
|
|
|
ขีดเส้น 1 ปี จี้ อภ.เปิดโรงงานยารังสิต ให้เวลา 2 สัปดาห์ เสนอแผนการผลิตยา |
|
|
|
01 สิงหาคม 2557
|
|
|
|
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000087479
สธ.ให้เวลา อภ. 2 สัปดาห์ จัดแผนการผลิตยาใหม่ ให้เพียงพอ สอดคล้องความต้องการ และความสำคัญของยา พร้อมทำแผนเดินหน้าโรงงานผลิตยารังสิต ขีดเส้นตายต้องเปิดได้ใน 1 ปี
วันนี้ (1 ส.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาะารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมหารือร่วมกับผู้บริกหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อภ. ว่า ได้ให้ อภ.กลับไปทบทวนเรื่องแผนการผลิตยาเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วกลับมาเสนอว่าจะมีแผนการผลิตต่อไปอย่างไร โดยแบ่งเป็นแผนระยะสั้นและแผนระยะ 2 ปี โดยหลักคือต้องปรับการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการและความสำคัญของยา อย่างยาบางตัวแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์หลักแต่ไม่ได้สำคัญเร่งด่วน ก็อาจปรับให้มีการผลิตยาตัวอื่นที่มีความสำคัญเร่งด่วนมากกว่าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ให้ไปทบทวนด้วยว่า จะทำอย่างไรให้สามารถเปิดโรงงานยาที่รังสิตได้ภายใน 1 ปี และเดินหน้าโรงงานผลิตยาแมสโปรดักชันให้ผลิตได้เต็มกำลัง เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตยาในภาพรวมให้มากขึ้นกว่าเดิม "การปรับแผนการผลิตนั้นเกี่ยวเนื่องจากการที่ต้องปรับปรุงโครงสร้างของโรงงานผลิตยาที่พระราม 6 ด้วย เนื่องจากเป็นอาคารเก่า และมีมานาน ซึ่งจากการตรวจโรงงานพบว่า บางจุดยังไม่สามารถทำปรับปรุงได้ บางจุดปรับได้ บางจุดไม่คุ้มในการที่จะปรับปรุง ก็ให้ อภ.เสนอแผนการผลิตเข้ามาจะดำเนินการอย่างไรต่อไป สำหรับการให้สหภาพฯเข้าประชุมด้วยว่า เนื่องจากต้องการให้รับทราบว่าด้านผู้บริหารมีความคิดอย่างไร ซึ่งสหภาพฯก็เห็นด้วยกับการแก้ปัญหา และเห็นว่าคนในองค์การเภสัชกรรมต้องร่วมใจแก้ปัญหา" ปลัด สธ. กล่าว ด้าน นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผอ.อภ. กล่าวว่า ปลัด สธ.ได้หารือกับผู้บริหาร อภ.ใน 3 ประเด็นคือ 1.แนวทางการแก้ปัญหายาขาดแคลน ซึ่งขณะนี้ อภ.ผลิตยาอยู่ 193 รายการ แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มยาต้านไวรัส กลุ่มยารักษาโรคสำคัญ โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ต้องใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน อาทิ ยาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง กลุ่มยาที่ผลิตตามนโยบาย ยาจิตเวช ยาวัณโรค และยาอื่นๆ เช่น ยากำพร้าหรือยาจำเป็นฉุกเฉินต่างๆ ซึ่ง อภ.ต้องคงการผลิตอยู่เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ยาของโรงพยาบาลต่างๆ "ในปี 2558 ปลัด สธ.ได้ให้เวลา อภ. 2 สัปดาห์ ในการจัดทำแผนการผลิตยาให้ชัดเจนว่า ผลิตตัวไหน เมื่อไร ในหลักการยาเหล่านี้ต้องมีแผนการผลิตให้เพียงพอและชัดเจน หากจำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิต เช่น การบรรจุยา ที่ต้องใช้สถานที่เพิ่มเติม ก็ให้หาแนวทางอื่นเพิ่มเติมด้วย เช่นประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มช่องทางผลิตเพิ่มเติม" ผอ.อภ. กล่าว นพ.สุวัช กล่าวด้วยว่า 2.เรื่องโรงงานผลิตวัคซีนที่ จ.สระบุรี มีการแก้ไขแบบในงบประมาณ 59 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินเกินที่ ครม.เคยอนุมัติ จึงต้องเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณา ล่าสุด ทราบว่าขณะนี้เสนอเข้าสู่การพิจารณาของ คสช.แล้ว หากได้รับการอนุมัติจะใช้เวลาดำเนินการก่อสร้าง 513 วัน ส่วนการผลิตวัคซีน ต้องปรับจูนเครื่องมือให้ได้มาตรฐานและระยะเวลาในการผลิตวัคซีนต้องใช้เวลา 500 วัน คาดว่าอีก 1,000 วันจะได้วัคซีนที่ขึ้นทะเบียนเรียบร้อย และ 3.โรงงานผลิตยาที่รังสิต ในหลักการ ปลัด สธ.ให้แนวทางว่าให้ดำเนินการเปิดได้ภายใน 1 ปี ให้ปรับรายละเอียด ทั้งกระบวนการก่อสร้าง การปรับปรุงเครื่องจักรให้ทำงานได้ ปรับขบวนการตรวจสอบ และปรับการใช้เครื่องมือในการทำงาน ที่นำเสนอในวันนี้ ใช้เวลามากกว่า 1 ปี จึงมอบให้กลับไปทบทวน โดยสัปดาห์หน้าจะนำเสนออีกครั้ง "สำหรับยาที่เป็นประเด็นข่าว คือ 1.ยาต้านไวรัสเอดส์ ยืนยันว่ามีสต๊อกอยู่ กำลังเร่งดำเนินการผลิตส่งตามงวดของ สปสช. สัปดาห์หน้าจะมีแนวทางที่ชัดเจนว่าจะผลิตให้ทันได้เมื่อไรอย่างไร 2.ยาเบาหวาน ปลัด สธ.ให้ไปทบทวนว่าจะเพิ่มการผลิตได้หรือไม่ หรือต้องประสานหน่วยงานอื่นเพื่อเพิ่มช่องทางการบรรจุ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่ากำลังการผลิตเพียงพอต่อโรงพยาบาลชุนชนสังกัด สธ. 700 กว่าแห่ง ที่ใช้ยาประมาณ 1.2 ล้านกล่อง แต่จะเพิ่มการผลิตได้อีกหรือไม่กำลังหาแนวทาง 3.ยาจิตเวชและยาวัณโรค ได้พยายามคงการผลิตไว้ ไม่ให้ขาดแคลน ประเด็นคือมียาหลายรายการที่โรงพยาบาลสั่งเข้ามา อภ.จะนำความต้องการของแต่ละโรงพยาบาลมาจัดทำแผนการผลิตให้ทันความต้องการ ขณะนี้แก้ปัญหาได้มากแล้ว และจะพยายามเพิ่มกำลังการผลิตได้มากที่สุด" ผอ.อภ. กล่าว ด้าน นายสมชาย ขำน้อย ประธานสหภาพฯ อภ. กล่าวว่า ขอบคุณปลัด สธ.ที่ได้ให้สหภาพฯเข้าไปร่วมเป็นตัวแทนในการตรวจสอบการทำงาน ถือเป็นแนวทางที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของสหภาพฯมากที่สุด เพื่อรักษาผลประโยชน์ของ อภ. ซึ่งขณะนี้เห็นว่าการจัดการภายในบางเรื่อง อภ.อาจทำไม่ได้ เช่น การก่อสร้างโรงงานยา และโรงงานวัคซีน เห็นว่าขบวนการจัดการภายในถึงทางตัน กระทบต่อผลผลิต และสังคมก็มองว่า อภ.ผลิตยาไม่ทัน จึงได้ยื่นหนังสือต่อ คสช. เมื่อวันที่ 28 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อให้เร่งรัดหรือหาแนวทางแก้ไขให้โรงงาน 2 แห่งเดินหน้าไปได้เร็ว
|
|
|
|
|
|