search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6515754
การเปิดหน้าเว็บ:9358811
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  พบยาสเตียรอยด์ปนผลิตภัณฑ์สุขภาพ เภสัชกรห้ามร้านชำขายยาอันตราย
  21 สิงหาคม 2557
 
 


ที่มา: นสพ.โอเคอีสาน
ลิงค์: okay-esan.com/?p=1302
 


          นสพ.โอเคอีสาน : ตัวแทนจาก 5 จังหวัด เขตพื้นที่บริการสุขภาพที่ 10 ร่วมเวทีแลกเปลี่ยน โครงการ “เสริมสร้างศักยภาพชุมชนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพโดยชุมชนเพื่อชุมชน” ถอดบทเรียนจากการพบปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงและยาที่ห้ามขายตามร้านชำในชุมชน

SAMSUNG CSCนายแพทย์ทวีเกียรติ บุญยไพศาลเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตพื้นที่บริการสุขภาพที่ 10 เป็นประธานเปิดเวทีแลกเปลี่ยนและสื่อสารสาธารณะ โครงการ “เสริมสร้างศักยภาพชุมชนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพโดยชุมชนเพื่อชุมชน”โดย เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณะสุขที่ 10 การสนับสนุนของแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา(กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สสส. ในวันที่ 19 สิงหาคม 2557 ณ โรงแรมสุนีย์แกรนด์ จังหวัดอุบลราชธานี

ตามที่สถานการณ์การกระจายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสม และการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้อง มีการเผยแพร่ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในร้านชำ พบว่าในบางพื้นที่มีร้านชำจำหน่ายยาอันตรายที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน มากกว่าร้อยละ 75 การดำเนินงานด้านส่งแสริมสุขภาพและป้องกันโรค พบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคอื่นๆในชุมชน มีรายงานการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ผลการศึกษาด้านความไม่ปลอดภัยของยาสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ร่วมกับชมรมเภสัชกรจังหวัดยโสธรและเครือข่ายด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ และมุกดาหาร ได้ดำเนินโครงการด้านการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องในแต่ละพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการพัฒนา สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายและเป็นการเสริมศักยภาพชุมชน

จากการสอบถามเภสัชกร ยาที่ตรวจสอบจากร้านขายของชำพบว่าสีของตัวยาเปลี่ยนไป เนื่องจากตัวยาแต่ละตัวมีข้อบ่งชี้ในการเก็บรักษาแตกต่างกัน ถ้าเก็บไว้ในที่ไม่เหมาะสมจะทำให้สรรพคุณหรือคุณภาพของยาไม่เหมือนเดิม ก่อให้เกิดอันตรายได้ เพราะฉะนั้นจึงควรขายยาในร้านขายยาแผนปัจจุบันเท่านั้น

โครงการนี้เป็นความร่วมมือและประสานการเสนอโครงการโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร โดยใช้ศูนย์บริการจัดการโครงการที่โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร โครงการนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนทั้งหมดจากแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 981,600 บาท  ดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ 21 ตำบล 17 อำเภอ ใน 5 จังหวัด วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อพัฒนาตำบลต้นแบบที่มีศักยภาพในการจัดการปัญหาด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง โดยใช้โมเดลตำบลจัดการสุขภาพ เพื่อสร้างองค์ความรู้จากการถอดบทเรียนที่เกิดขึ้น และเพื่อผลักดันนโยบายด้านการจัดการสุขภาพในชุมชน มุ่งเน้นการจัดการปัญหาด้านยาที่ไม่เหมาะสมและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อวดอ้างสรรพคุณทางยาในชุมชน ร่วมกับภาคีเครือข่ายเภสัชกรด้านคุ้มครองผู้บริโภคและปฐมภูมิ