|
|
|
|
สถิติ
|
ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6628333 การเปิดหน้าเว็บ:9479428 Online User Last 1 hour (0 users)
|
|
|
|
|
|
|
8 เดือนยอดร้องเรียน อย.พุ่ง เครื่องสำอางไม่จดแจ้งเพียบ! |
|
|
|
21 สิงหาคม 2557
|
|
|
|
ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ ลิงค์: www.thairath.co.th/content/444789
เลขาฯ อย.เผย 8 เดือน ยอดร้องเรียนร้องเรียน อย.เกือบ 1,000 เรื่อง พบฉลากไม่ถูกต้องมากสุด และฉลากเครื่องสำอางไม่มีเลขจดแจ้งพุ่งกว่าปีก่อนเพียบ...
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และในฐานะโฆษก อย. กล่าวว่า จากการที่กระทรวงสาธารณสุขได้รับทราบถึงผลการดำเนินงานเรื่องร้องเรียนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในช่วงระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 30 มิถุนายน 2557 ซึ่งมีจำนวนเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 935 เรื่อง พบเรื่องร้องเรียนที่มีการแจ้งเข้ามาสูงสุด 5 เรื่อง คือ 1. การแสดงฉลาก ไม่ถูกต้อง/ไม่ครบถ้วน เช่น ไม่ระบุ วันเดือนปีที่ผลิต/หมดอายุ ไม่ระบุเลขสารบบอาหาร และใช้เลขสารบบอาหารปลอม 2. การขายยาโดยไม่ได้ขออนุญาต และจำหน่ายโดยไม่มีเภสัชกร 3. การโฆษณาอาหารเกินจริง หรือการโฆษณาอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต 4. การร้องเรียนร้านค้า ห้างสรรพสินค้าที่มีการจำหน่ายสินค้าหมดอายุ/เสียก่อนหมดอายุ และมีการจำหน่ายสินค้าที่ใช้เลขสารบบอาหารปลอม และ 5. การแสดงฉลากเครื่องสำอางไม่มีเลขจดแจ้ง หรือใช้เลขจดแจ้งปลอม พุ่งสูงขึ้นกว่าปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย
ดังนั้น เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันระหว่างหน่วยงานมีการบูรณาการการทำงาน และภาคีเครือข่าย ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวทางขั้นตอนการดำเนินงานเรื่องร้องเรียนของแต่ละหน่วยงาน รวมถึงร่วมกันระดมสมองหาแนวทางการจัดการเรื่องร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการกำหนดตัวชี้วัดเรื่องร้องเรียนปี พ.ศ. 2558 ให้สามารถดำเนินงานในภาพรวมได้ตามเป้าหมาย จึงจัดให้มีการประชุมเรื่อง "ประชุมเครือข่ายการดำเนินงานเรื่องร้องเรียน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ที่ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ ในวันที่ 21 สิงหาคม 2557 โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมจากหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และแผนการพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.)
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า การประชุมในวันนี้มุ่งหวังที่จะส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อเหตุการณ์ อีกทั้ง ยังเป็นการดำเนินงานที่สร้างความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องอีกด้วย.
|
|
|
|
|
|