search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6646635
การเปิดหน้าเว็บ:9506956
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  แฉร่าง กม.ศุลกากร เปิดช่อง บ.ยาข้ามชาติร้องตรวจจับยาสามัญ หวั่นกระทบผู้ป่วย
  07 กันยายน 2557
 
 


ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000102605



       เอฟทีเอ ว็อทช์ ห่วงร่าง พ.ร.บ.ศุลกากร เปิดช่องเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจของนำเข้าแบบไร้ขอบเขต หวั่นอุตสาหกรรมยายักษ์ใหญ่ใช้เป็นเครื่องมือตรวจจับยาชื่อสามัญ กระทบผู้ป่วยรอคอยยารักษาโรค ชี้เคยเกิดขึ้นแล้วในยุโรป แฉหน่วยงานราชการบางส่วนร่วมกลุ่มทุนอุตสาหกรรมยาข้ามชาติ สอดไส้แก้กฎหมายหวังผลประโยชน์ เตือน สนช. รอบคอบ อย่าหลงกล

       วันนี้ (7 ก.ย.) น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) กล่าวว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. ... ได้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระแรกและหมดระยะเวลาแปรญัตติแล้ว ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวมีการเพิ่มมาตรา 58/1 โดยให้พนักงานศุลกากรมีอำนาจตรวจสอบ ตรวจค้นของที่นำเข้าเพื่อการผ่านแดน หรือการถ่ายลำที่อยู่ในยานพาหนะ คอนเทนเนอร์ หรือหีบห่ออย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนด โดยไม่ต้องมีหมายค้น หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ โดยมีวงเล็บ (3) กว้างๆ ไว้ว่า ของนั้นเป็นของที่ผิดกฎหมาย ซึ่งทางกลุ่มฯ กังวลอย่างมาก เพราะของผิดกฎหมายกินความกว้างจนไร้ขอบเขต และไม่มีหลักประกันความเสียหายต่อการใช้สิทธิโดยมิชอบ ที่สำคัญไม่มีข้อยกเว้นประเภทสินค้า ตรงนี้อาจเกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยาชื่อสามัญได้ จากการที่อุตสาหกรรมยายักษ์ใหญ่ใช้กลไกนี้กีดกันและรังแก เช่นในสหภาพยุโรปที่มีการยึดจับยารักษาโรคช่วยชีวิตที่ส่งจากอินเดียมากถึง 18 ครั้ง ทั้งที่ไม่ได้ละเมิดกฎหมาย โดยไม่สนใจว่าผู้ป่วยที่รอคอยยารักษาโรคที่ปลายทางจะเป็นเช่นไร
       
       “การออกกฎหมายเช่นนี้ตรงกับข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ มาตั้งแต่ต้น ที่ต้องการให้มาตรการผ่านแดนเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จของงานศุลกากร ทำให้ไม่มีการถ่วงดุลโดยศาล ซึ่งถือเป็นทริปส์พลัส (TRIPS+) ซึ่งเกินไปกว่าความตกลงในองค์การการค้าโลก (WTO) ที่ไทยเป็นสมาชิกอยู่ เรื่องนี้เป็นการที่หน่วยราชการบางส่วนร่วมกับกลุ่มทุนอุตสาหกรรมยาข้ามชาติใช้ช่วงเวลาที่ผิดปกติ สอดไส้แก้กฎหมายเพื่อผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม โดยอ้างกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าการแก้กฎหมายดังกล่าวมีความจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจไทย ขณะที่ คสช. เองก็ไม่มีความรู้ความเข้าใจที่กว้างขวางมากพอ แต่กลับไม่มีการรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ” น.ส.กรรณิการ์ กล่าว
       
       น.ส.กรรณิการ์ กล่าวว่า การตรวจค้นจับยึดในทางปฏิบัตินั้น จะต้องเป็นการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมทรัพย์สินทางปัญญา และจะต้องเป็นสินค้าที่สามารถแยกด้วยตาเปล่าได้ เช่น เครื่องหมายการค้า ไม่รวมถึงสินค้าที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิบัตร เพราะตรวจสอบได้ยาก ต้องใช้ขั้นตอนที่ซับซ้อนในการแยกแยะ อย่างยาก็ต้องตรวจสอบกันหลายปี เพราะต้องตรวจลึกถึงระดับโมเลกุล หากกรมศุลกากรต้องการแก้ไขกฎหมายเพื่ออํานวยความสะดวกในการตรวจสอบ ก็ไม่ควรเกี่ยวโยงกับประเด็นสิทธิบัตร แต่ควรยึดหลักการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยมิให้มีผลกระทบต่อสิทธิในการเข้าถึงยาของคนในประเทศ อย่างไรก็ตาม การนำเข้ายาในปัจจุบัน อย. มีอํานาจเต็มที่ในการควบคุม หรือกํากับ อาจจะมีการออกระเบียบและประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานศุลกากร เกี่ยวกับมาตรการ ณ จุดผ่านแดนที่เหมาะสม ซึ่งหน่วยงานด้านสาธารณสุขสามารถหารือกันมีอํานาจแก้ไขกฎระเบียบเมื่อใดก็ได้เพื่อประโยชน์สูงสุดของส่วนรวม
       
       “โดยในสัปดาห์นี้ กลุ่มฯจะขอเข้าพบ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. และ นายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณากฎหมายนี้ เพราะหากออกกฎหมายไปเช่นนี้ จะทำลายอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญ ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย แต่ทั่วโลก และทำร้ายผู้ป่วยในประเทศกำลังพัฒนาไปพร้อมๆ กัน” น.ส.กรรณิการ์ กล่าว